Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74504
Title: ผลของสังกะสีที่มีต่อการกำจัดไนโตรเจนและคาร์บอนอินทรีย์จากน้ำเสียโดยกระบวนการแอกทิเวเต็ดสลัดจ์แบบแอน็อกซิก-ออกซิก
Other Titles: Effects of zinc on the nitrogen and organic carbon removal from wastewater by the anoxic-oxic activated sludge process
Authors: ปัญญรัตน์ ผลพฤกษา
Advisors: ธงชัย พรรณสวัสดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Thongchai.P@Chula.ac.th
Subjects: น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดไนโตรเจน
น้ำเสีย -- การบำบัด -- กระบวนการแบบตะกอนเร่ง
สังกะสี
Sewage -- Purification -- Nitrogen removal
Sewage -- Purification -- Activated sludge process
Zinc
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานทดลองวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลของสังกะสีที่มีก่อประสิทธิภาพการกำจัดไนโตรเจนและอินทรีย์คาร์บอน โดยกระบวนการแอกทิเวเต็ดสลัดจ์แบบแอน็อกซิก-ออกซิก การศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ชุดทดลอง โดยชุดทดลองที่ 1 ใช้น้ำเสีย สังเคราะห์ที่มีค่าชีโอดี 500 มก./ล.ไนโตรเจน 40 มก./ล. และฟอสฟอรัส 10 มก./ล. เดินระบบที่เอสอาร์ที 10 วัน และเอชอาร์ ที!3.2 ชม. และชุดทดลองที่ 2 ใช้น้ำเสียสังเคราะห์ที่มีค่าชีโอดี 3500 มก./ล.ไนโตรเจน 175 มก./ล. และฟอสฟอรัส 40 มก./ล. เดินระบบที่เอสอาร์ที 10 วัน และเอชอาร์ที 2.50 วัน ทั้ง 2 ชุดทดลองมีการแปรค่าสังกะสีเข้าสู่ระบบเท่ากับ 0 (ควบคุม), 10, 25, 35 และ 50 มก./ล. เมื่อระบบเข้าสู่สถานะคงตัวแล้วทำการช็อกระบบด้วยสังกะสี 300 มก./ล.เป็นเวลา 4 วัน จากนั้นกลับมาเติมสังกะสีด้วยความเข้มข้นเดิมเท่ากับก่อนที่จะทำการช็อก การทดลองแปรค่าสังกะสีตั้งแต่ 0 ถึง 50 มก./ล. พบว่าไม่มีผลก่อประสิทธิภาพการกำจัดชีโอดีกรองทั้งชุดทดลอง ที่ใช้น้ำเสียชีโอดี 500 มก./ล. และ น้ำเสียชีโอดี 3,500 มก./ล. ซึ่งมีประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีกรองอยู่ในช่วงร้อยละ 95 ถึง 96 และ ร้อยละ 99 ตามลำดับ แต่ในขณะเดียวกันกลับมีผลต่อประสิทธิภาพการกำจัดไนโตรเจนทั้งหมดของชุดทดลองที่ใช้น้ำเสียซีโอดี 500 มก./ล. โดยการทคลองที่สังกะสี 0, 10, 25, 35 และ 50 มก./ล. มีประสิทธิภาพการกำจัดไนโตรเจนทั้งหมดเป็น ร้อยละ 83.4, 80.7, 79.3, 77.7 และ 67.1 ตามลำดับ ส่วนชุดทดลองที่ใช้น้ำเสียชีโอดี 3,500 มก./ล. พบว่าประสิทธิภาพการ กำจัดไนโตรเจนทั้งหมดของแต่ละการทดลองมีค่าใกล้เคียงกัน โดยการทดลองที่สังกะสี 0, 10, 25, 35 และ 50 มก./ล. มีประสิทธิภาพการกำจัดไนโตรเจนทั้งหมดเป็นร้อยละ 85.1. 83.7, 83.6, 84.5 และ 82.3ตามลำดับ ที่เป็นเช่นนี้เพราะระบบชุดทดลองที่ 1 มีภาระมากกว่าชุดทดลองที่ 2 นั่นเอง เมื่อช็อกระบบด้วยสังกะสี 300 มก./ล. พบว่าไม่มีผลต่อประสิทธิภาพการ กำจัดซีโอดีกรองของชุดทดลองที่ใช้น้ำเสียซีโอดี 500 มก./ล. ยกเว้นชุดควบคุม (สังกะสี 0 มก./ล.) ที่ประสิทธิภาพได้ลดลงอย่างมาก ส่วนชุดทดลองที่ใช้น้ำเสียชีโอดี 3.500 มก./ล. เมื่อช็อกระบบมีผลทำให้ประสิทธิภาพการกำจัดชีโอดีกรองลดลง เพียงเล็กน้อยทุกการทดลอง ในขณะเดียวกันพบว่ามีผลก่อการลดประสิทธิภาพการกำจัดไนโตรเจนทังหมดของทัง 2 ชุด ทดลอง โดยชุดทดลองที่ใช้น้ำเสีย 500 มก./ล. และชุดทดลองที่ใช้น้ำเสีย 3500 มก./ล. ที่การทดลองที่สังกะสี 0, 10, 25, 35 และ 50 มก./ล. ประสิทธิภาพลดลงการกำจัดไนโตรเจนทั้งหมดเหลือร้อยละ 36.5, 50.6, 59.4, 54.0 และ 48.3 ตามลำดับ และร้อยละ 79.2, 81.8, 77.7, 79.4 และ 80.8 ตามลำดับ แสดงถึงการช็อกระบบมีผลก่อชุดทดลองที่ใช้น้ำเสีย 500 มก./ล. มากกว่า (เพราะรับภาระมากกว่า) และเมื่อเข้าสู่ภาวะการฟื้นตัวพบว่าชุดทดลองน้ำเสียซีโอดี 3500 มก./ล. สามารถฟื้นตัวได้เร็วและดีกว่าชุด ทดลองน้ำเสียชีโอดี 500 มก. /ล. ด้วยเหตุผลเดียวกัน สรุปได้ว่าระบบที่มีอัตราส่วนซีโอดีก่อสังกะสีที่มากกว่าจะมีประสิทธิภาพในการกำจัดสารอินทรีย์คาร์บอนและ ไนโตรเจนทั้งหมดได้ดีกว่า อีกทั้งสามารถทนต่อสภาพการช็อกระบบได้มากและฟื้นตัวได้เร็วกว่า
Other Abstract: This research was to study the effect of zinc on the nitrogen and organic carbon removal efficiency by an anoxic-oxic activated sludge process. There were two sets of experiment using different synthetic wastewaters, i.e., Case I: COD 500, nitrogen 40 and phosphorus 10 mg/l, with solids retention time (θc) = 10 days and hydraulic retention time (HRT) = 13.2 hrs; Case II: COD 3500, nitrogen 175 and phosphorus 40 mg/L, with θc = 10 days and HRT = 2.5 days. The zinc concentration in the influent varied from 0 (control) to 10, 25, 35 and 50 mg/l, respectively. After having reached the steady state, each system was shocked with 300 mg/1 of zinc and was allowed to recover by going back to the same feeding condition before the shock. The variation of zinc concentration had no effect on the filtrate COD removal for both cases. The removal efficiency was in the range of 95-96 and 99 percent, respectively. But it had an effect on the total nitrogen removal efficiency, it dropped in the first set from 83.4 to 80.7, 79.3, 77.7 and 67.1 percent, respectively, and from 85.1 to 83.7, 83.6, 84.5 and 82.3 percent in the second set, respectively. This was because there was high zinc load compared to the volume of reactor and the COD load to the system in Case I than that in Case II. When the systems were shocked with 300 mg/1 of zinc for 4 days, there was no effect on the COD removal efficiency of the first case except on the control (0 mg/l Zn) system in which the efficency dropped considerably whereas the COD removal efficency slightly decreased for the second case. But there were significant effects on the total nitrogen removal efficiency, which in the first set was 36.5, 50.6, 59.4, 54.0 and 48.3 percent and in the other set 79.2, 81.8, 77.7, 79.4 and 80.8 percent, respectively. More effect on the first set was then evident. In conclusion, the systems with the higher COD:Zinc ratio could get higher organic carbon and total nitrogen removal efficiencies. In addition, they had much more resistance to the shocked condition and could much faster recover.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74504
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1997.366
ISBN: 9746382675
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1997.366
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Panyarat_po_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ1.48 MBAdobe PDFView/Open
Panyarat_po_ch1_p.pdfบทที่ 1664.48 kBAdobe PDFView/Open
Panyarat_po_ch2_p.pdfบทที่ 23.34 MBAdobe PDFView/Open
Panyarat_po_ch3_p.pdfบทที่ 31.59 MBAdobe PDFView/Open
Panyarat_po_ch4_p.pdfบทที่ 411.2 MBAdobe PDFView/Open
Panyarat_po_ch5_p.pdfบทที่ 5726.2 kBAdobe PDFView/Open
Panyarat_po_ch6_p.pdfบทที่ 6636.31 kBAdobe PDFView/Open
Panyarat_po_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก5.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.