Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74669
Title: การศึกษาการให้สุขภาพจิตศึกษาครอบครัว ต่อความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน โรงพยาบาลสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี
Other Titles: A study of using family psycho-education program on activities of daily living of schozophrenic patients in community, Suanphuang Hospital, Ratchaburi Province
Authors: เสาวนีย์ เมืองด้วง
Advisors: อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย
Advisor's Email: Oraphun.Lu@chula.ac.th
Subjects: ผู้ป่วยจิตเภท -- ไทย -- การดำเนินชีวิต
สุขภาพจิตศึกษา -- ไทย
Schizophrenics -- Thailand -- Conduct of life
Mental health education -- Thailand
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน ก่อนและหลังการให้สุขภาพจิตศึกษาครอบครัว กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน โรงพยาบาลสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี จำนวน 20 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ การให้สุขภาพจิตศึกษาครอครัว ซึ่งผู้ศึกษาปรับมาจากการให้สุขภาพจิตศึกษาครอบครัว ของ สุภาภรณ์ ทองดารา (2545)และผ่านการตรวจความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและกิจกรรมทางสังคมที่บ้านของผู้ป่วยจิตเภท โดยการสัมภาษณ์ผู้ป่วยจิตเภทและสมาชิกในครอบครัว มีค่าความเที่ยง Cronbach’s Alpha เท่ากับ .86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างของการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและกิจกรรมทางสังคมของผู้ป่วยจิตเภทหลังดำเนินโครงการ โดยใช้สถิติทดสอบที( paired t-test) ผลการศึกษาพบว่า ความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนหลังการให้สุขภาพจิตศึกษาครอบครัว สูงกว่าก่อนได้รับการให้สุขภาพจิตศึกษาครอบครัว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purposes of this study was to compare mean scores of activities of daily living of schizophrenic patients in community before and after family psycho-education program. Research sample were 20 schizophrenic patients in community Suangphuang Hospital, Ratchaburi Province. Who met the inclusion criteria. The study tool was family psychoeducation program which was modified from the tool by Supapron Tongdara (2002) and validated by 3 experts. Data was collected using activities of daily living measurement that had a Cronbach’s Alpha of .86 Frequency, mean, standard deviation and paired t-test were used for data analysis. Major findings were as follows. The activities of daily living of schizophrenic patients in community after using family psycho-education program, was significantly higher than that before the experiment, at the .05 level
Description: สารนิพนธ์ (พย.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74669
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.2122
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.2122
Type: Independent Study
Appears in Collections:Nurse - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saowanee_mu_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ741.99 kBAdobe PDFView/Open
Saowanee_mu_ch1_p.pdfบทที่ 11.05 MBAdobe PDFView/Open
Saowanee_mu_ch2_p.pdfบทที่ 22.98 MBAdobe PDFView/Open
Saowanee_mu_ch3_p.pdfบทที่ 31.12 MBAdobe PDFView/Open
Saowanee_mu_ch4_p.pdfบทที่ 4697.25 kBAdobe PDFView/Open
Saowanee_mu_ch5_p.pdfบทที่ 5908.85 kBAdobe PDFView/Open
Saowanee_mu_back_p.pdfรายการอ้างอิงและภาคผนวก3.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.