Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74965
Title: การศึกษาลักษณะการใช้ยาเซฟาโลสปอรินส์รุ่นที่ 2 และรุ่นที่ 3 ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
Other Titles: Drug use pattern of second and third generation ce[halosporins in Chulalongkorn Hospital
Authors: กฤตติกา ตัญญะแสนสุข
Advisors: มณฑิรา ตัณฑ์เกยูร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: เซฟาโลสปอรินส์
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงลักษณะการใช้ยาเศฟาโลสปอรินส์รุ่นที่ 2 และรุ่นที่ 3 ในผู้ป่วยในของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ระหว่างปี พ.ศ. 2525-2527 โดยแบ่งงานวิจัยออกเป็น 5 ขั้นตอน คือ 1. การศึกษาแนวโน้มการจ่ายยาจากบัตรคงคลังและประวัติการนำเสนอเข้าเภสัชตำรับของโรงพยาบาล 2. การตั้งเกณฑ์พิจารณาความเหมาะสมในการใช้ยาและการศึกษาลักษณะการใช้ยา 3. พิจารณาความเหมาะสมในการใช้ยา 4. การศึกษาเกี่ยวกับมูลค่ายาจากบันทึกการรักษา 5. สรุปผลการวิจัยโดยใช้สถิติเชิงพรรณาและการทดสอบไคร์สแควร์ ในขั้นตอนที่ 1 ได้ทำการศึกษาทั้งมูลค่ายาและจำนวนหน่วยการใช้ พบว่าปริมาณการใช้ยาเศฟาโลสปอรินส์เพิ่มขึ้นในระหว่างปีงบประมาณ 2524-2527 โดยมูลค่ายาจะเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดกว่าจำนวนหน่วยการใช้ ในปีงบประมาณ 2527 มูลค่าการใช้ยาเศฟาโลสปอรินส์เพิ่มขึ้น เป็นร้อยละ 50.74 ของมูลค่าการใช้ยาต้านจุลชีพชนิดฉีดทั้งหมดจนกลายเป็นกลุ่มยาที่มีมูลค่าการใช้สูงสุด อย่างไรก็ตามกลุ่มยาที่มีจำนวนหน่วยการใช้มากยังคงเป็นกลุ่มเพนนิซิลลินและกลุ่มอมิโนกลัยโคไซด์อยู่ จากผู้ที่ได้รับยาเศฟาโลสปอรินส์รุ่นที่ 2 และรุ่นที่ 3 จำนวน 513 ราย ได้ทำการศึกษาข้อมูลการใช้ยาจากบันทึกการรักษาจำนวน 326 รายซึ่งมีการใช้ยา 396 ช่วงการใช้ยา เป็นการใช้ในแผนกศัลยกรรมมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 66.16 เมื่อแบ่งตามวัตถุประสงค์การใช้พบว่ามีการใช้ยานี้เพื่อการรักษาการติดเชื้อมากกว่าเพื่อการป้องกันการติดเชื้อระหว่างผ่าตัด ในกรณีเพื่อป้องกันการติดเชื้อระหว่างผ่าตัดจะมีการใช้ยานี้มาก โดยแพทย์แผนกศัลยกรรมกระดูกและมีการใช้เศฟาแมนโดลในการผ่าตัดเกี่ยวกับกระดูกและข้อมากที่สุด ส่วนการใช้ยานี้ในวัตถุประสงค์เพื่อการรักษาจะเน้นหนักไปในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการหนัก Immunocompromised Host ในรายที่มีการตอบสนองต่อยาที่กำลังได้รับอยู่ไม่ดีพอ การติดเชื้อในโรงพยาบาลและการติดเชื้อจากเชื้อแกรมลบทรงแท่ง ในการวิเคราะห์ความเหมาะสมจะพิจารณาเปรียบเทียบเกณฑ์ซึ่งรวบรวมจากเอกสารทางวิชาการแพทย์และแบบสอบถามที่ได้รับคืนจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโรคติดเชื้อ จากการศึกษามีกลุ่มที่ใช้ยาอย่างเหมาะสมร้อยละ 55.47 เมื่อแยกตามวัตถุประสงค์การใช้ในกรณีเพื่อป้องกันการติดเชื้อจะมีกลุ่มที่ใช้ยาอย่างเหมาะสมน้อยกว่าในกรณีเพื่อการรักษา และพบว่าผู้ใช้ยาอย่างเหมาะสมมีจำนวนลดลงเมื่อเปรียบเทียบระหว่างปี ในการใช้เพื่อป้องกันพบว่ามีจำนวนกลุ่มที่ใช้ยาอย่างเหมาะสมแตกต่างกัน ระหว่างแผนกผู้สั่งจ่ายยาเหตุผลของการใช้อย่างไม่เหมาะสมเกิดจากใช้ยาในขอบ่งใช้ที่สามารถทดแทนได้ด้วยยาอื่นที่มีราคาต่ำกว่า และการใช้ยาเศฟาโลสปอรินส์รุ่นที่ 3 เพื่อป้องกันการติดเชื้อระหว่างผ่าตัด การศึกษาเกี่ยวกับมูลค่ายาพบว่ากลุ่มผู้ป่วยที่มีมูลค่ายาที่ใช้ต่อ 1 ช่วงการใช้ยาเกินกว่า 10,000 บาทส่วนมากจะเป็นผู้ที่ได้รับมอกซาแลคแหมเพื่อรักษาเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแกรมลบทรงแท่ง ส่วนการศึกษาด้านความประหยัดเศรษฐกิจเมื่อมีการใช้ยาอย่างเหมาะสมในกรณีเพื่อป้องกันการติดเชื้อพบว่ามูลค่ายาที่ใช้ทั้งหมดจะลดลงร้อยละ 43, 41 และ 76.25 เมื่อใช้ชนิดยาที่เหมาะสมกว่า และจำกัดเวลาให้ยาฉีดหลังผ่าตัดไม่เกิน 72 และ 24 ชั่วโมงตามลำดับ
Other Abstract: The objectives of this research were to study the use pattern of the Second and the Third Generation Cephalosporins in In-patients of Chulalongkorn Hospital during 1982-1984. This research was divided into 5 parts. Part I was concerned with the trend of drug use and history of launching into the hospital formulary. Part 2 dealed with setting up the criteria for evaluating appropriateness in drug use and studying the use pattern. Part 3 concentrates on the evaluation of appropriateness. Part 4 was the study of drug cost from medical records. Part 5 was the conclusion with reference to descriptive statistics and chi-square test. In Part 1, drug cost and the amounts of drug use were calculated. It was revealed that Cephalosporins usage was increase during fiscal year 1981-1984, in which drug cost was dramatically increased than the amounts of use. In fiscal year 1984, the cost of the Cephalosporins was increased to 50.74% of total injectable antibiotic budget to become the highest cost group. However, the most of the amounts of drug use just were the Pennicillins and the Aminoglycosides. Among 513 In-patients whom were prescribed the Second and the Third Generation Cephalosporins, 326 medical records were reviewed for 396 courses, the most of usage, 66.16%, were from department of surgery. When classified by indications of use, it revealed that the drug use for surgical prophylaxis was less than in the case of treatment. In surgical prophylaxis, orthopedists had the highest rate of drug use, and Cephamandole was the most favorite drug which were used in bone and joint surgery. For treatment, usage was directed to critical patients. Immunocompromised Host, elderly patients, ones who had poorly response to the old regimens, hospital acquired infections, and Gram-negative Bacillary infections. The appropriateness was considered by the criteria derived from medical literatures and questionaires from infectious specialists. From this study 55.47% were used appropriately. When classified by the purpose of uses, appropriately use group in the case of surgical prophylaxis was less than for treatment. The number of appropriate use was decreased in the comparison by years. For surgical prophylaxis, the appropriate use showed departmental variation. The inappropriate use was due to the prescriptions which could be substituted by lower-cost drugs and the Third Generation Cephalosporins usage in surgical prophylaxis. From the study of cost, it was discovered that mostly of the patients who had cost per course more than 10,000 bahts were prescribed Moxalactam for Gram-negative Bacillary Meningitis. When economical saving was studied in the case of surgical prophylaxis, the total cost was reduced for 43.41% and 76.25% if appropriate drugs were used and the post-operative injections were limited within not more than 72 and 24 hours, respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74965
ISBN: 9745691593
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Krittika_ta_front_p.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open
Krittika_ta_ch1_p.pdf872.35 kBAdobe PDFView/Open
Krittika_ta_ch2_p.pdf1.38 MBAdobe PDFView/Open
Krittika_ta_ch3_p.pdf899.58 kBAdobe PDFView/Open
Krittika_ta_ch4_p.pdf3.58 MBAdobe PDFView/Open
Krittika_ta_ch5_p.pdf1.25 MBAdobe PDFView/Open
Krittika_ta_ch6_p.pdf756.5 kBAdobe PDFView/Open
Krittika_ta_back_p.pdf1.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.