Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75183
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวุฒิพงษ์ ศิริจันทรานนท์-
dc.contributor.authorกัญญลักษณ์ นิธิกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-08-26T08:19:24Z-
dc.date.available2021-08-26T08:19:24Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75183-
dc.descriptionเอกัตศึกษา (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562en_US
dc.description.abstractปัจจุบันมีการจัดเก็บภาษีมรดกตามพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 ที่จัดเก็บจากบุคคลผู้ได้รับทรัพย์มรดกจากเจ้ามรดกแต่ละราย ไม่ว่าจะได้รับมาคราวเดียวหรือหลายคราวรวมกันมีมูลค่าเกิน 100 ล้านบาท ต้องเสียภาษีมรดกเฉพาะส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท ในอัตราร้อยละ 5 หากผู้ได้รับทรัพย์มรดกเป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดานของเจ้ามรดก และร้อยละ 10 สำหรับกรณีผู้รับมรดกเป็นบุคคลอื่น ทำให้ปัจจุบันผู้มีทรัพย์สินมูลค่าสูงมีการวางแผนบริหาร จัดการทรัพย์สิน โดยอาจใช้วิธีการหลีกเลี่ยงภาษีที่จะต้องชำระ โดยใช้วิธีการต่างๆ ให้ภาระภาษี มีจำนวนที่น้อยลง เพื่อส่งต่อทรัพย์สินมรดกไปยังลูก หลาน หรือทายาทให้ได้มากที่สุด ซึ่งการทำกรมธรรม์ประกันชีวิต Unit Linked ถือเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่อาจถูกนำมาใช้ เพื่อหลีกเลี่ยงภาษีได้ เนื่องจากเงินได้ที่ได้รับจากการทำกรมธรรม์ประกันชีวิต ถือเป็นเงินได้ ที่ผู้รับประโยชน์หรือทายาทมีได้รับตามสัญญาอันเนื่องมาจากความตาย ซึ่งไม่ใช่ทรัพย์สินของผู้ตายที่มีอยู่ก่อนหรือขณะถึงแก่ความตาย ดังนั้นจึงไม่ใช่ทรัพย์มรดก อย่างไรก็ตามกรมธรรม์ประกันชีวิต Unit Linked เป็นกรมธรรม์ชีวิตรูปแบบใหม่ ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยการผสมผสานกันระหว่างการประกันชีวิตและการลงทุนในหน่วยลงทุน ของกองทุนรวม โดยมีบริษัทผู้รับประกันภัยเป็นตัวกลางในการให้บริการซื้อ ขายหน่วยลงทุน ตามความต้องการของผู้เอาประกันภัย โดยผู้เอาประกันภัยจะเป็นผู้รับความเสี่ยงจากการลงทุนนั้นเอง (ผลตอบแทนจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับมูลค่าหน่วยลงุทนที่ผู้เอาประกันเป็นผู้ตัดสินใจลงทุน) และเมื่อพิจารณาถึงเงินสินไหมทดแทนหรือผลประโยชน์จากการมรณกรรมภายใต้กรมธรรม์ ประกันชีวิต Unit Linked เงินในส่วนนี้สามารถแบ่งได้อย่างชัดเจนเป็น 2 ส่วน ได้แก่ เงินได้จากการประกันชีวิต ซึ่งเป็นเงินซึ่งบริษัทผู้รับประกันภัยจะจ่ายแก่ผู้รับประโยชน์เมื่อผู้เอาประกันภัยถึงแก่ความตาย ซึ่งไม่ถือเป็นทรัพย์มรดกและเงินได้จากการขายหน่วยลงทุน ซึ่งเกิดจากหน่วยลงทุนที่ผู้เอาประกันภัยเลือกลงทุน ผ่านกองทุนรวมที่บริษัทผู้รับประกันภัยกำหนดไว้ ซึ่งบริษัทผู้รับประกันภัยมีหน้าที่ ต้องขายหน่วยลงทุนแล้วนำเงินที่ขายได้มาส่งมอบแก่ผู้รับประโยชน์เมื่อผู้เอาประกันภัยถึงแก่ความตาย ดังนั้นเงินได้ที่ได้รับจากการมรณกรรมในส่วนของการลงทุนนั้นผู้รับประโยชน์ควรที่จะนำไปเสียภาษีการรับมรดก รวมถึงเงินค่าเบี้ยประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยได้ชำระให้ผู้รับประกันภัยไปแล้ว เงินในส่วนนี้ถือเป็นทรัพย์มรดกที่ต้องนำไปเสียภาษีการรับมรดกเช่นกัน มิใช่การตีความว่าเงินสินไหมจากการมรณกรรมที่ได้รับจากการประกันชีวิต ไม่ใช่ทรัพย์มรดก ทั้งจำนวน แต่ควรต้องนำมาพิจารณาถึงข้อเท็จจริงของเงินสินไหมที่ได้รับด้วย เอกัตศึกษาฉบับนี้จึงได้ทำการศึกษาปัญหาดังกล่าวข้างต้น เพื่อวิเคราะห์แนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติสำหรับการเสียภาษีมรดก กรณีการทำประกันชีวิต Unit Linked โดยเฉพาะเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการตีความในการเสียภาษี และสอดคล้องกับหลักความเสมอภาค ทางภาษีอากร และการกำหนดฐานภาษีให้มีความชัดเจน เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการเสียภาษี ทั้งต่อผู้มีหน้าที่เสียภาษีและหน่วยงานรัฐ ผู้มีหน้าที่จัดเก็บภาษีได้ใช้เป็นแนวทางเดียวกัน โดยอาจนำบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือทางการเงินประเภทอื่นมาปรับใช้ เพื่อเป็นการสร้างกรอบที่ชัดเจนเป็นไปตามหลักความแน่นอนในการเสียภาษีen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2019.135-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectประกันชีวิต -- กรมธรรม์en_US
dc.subjectภาษีมรดกen_US
dc.titleปัญหาการหลบหลีกภาษีมรดก ศึกษากรณีกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit Linked)en_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.subject.keywordการจัดเก็บภาษีen_US
dc.subject.keywordประกันชีวิตen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2019.135-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6186152734.pdf741.07 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.