Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75246
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรรณี แกมเกตุ-
dc.contributor.authorเกวลิน แววสง่า-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-08-26T13:18:16Z-
dc.date.available2021-08-26T13:18:16Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75246-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจสภาพความรู้พื้นฐานในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครู 2) วิเคราะห์ระดับความรู้พื้นฐานในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูจำแนกตามองค์ประกอบความรู้ด้านการกำหนดประเด็นปัญหาวิจัย ด้านกระบวนการวิจัย และประโยชน์จากการวิจัย 3) เปรียบเทียบความรู้พื้นฐานในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนระหว่างครูระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา และครูระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ ครูระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน 405 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบทดสอบความรู้พื้นฐานในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการโดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นโดยใช้สถิติภาคบรรยาย ด้วยวิธีการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าความเบ้ และค่าความโด่ง และวิเคราะห์เปรียบเทียบความรู้พื้นฐานในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนระหว่างครูที่สอนในระดับชั้น และกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ต่างกันโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. ครูมีคะแนนความรู้พื้นฐานในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนโดยภาพรวมเฉลี่ย 28.44 จากคะแนนเต็ม 50 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 56.87 ซึ่งถือว่ามีความรู้พื้นฐานอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (ร้อยละ 70) โดยพบว่า ในด้านการกำหนดประเด็นปัญหาวิจัย และด้านกระบวนการวิจัยครูมีความรู้พื้นฐานอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ส่วนด้านประโยชน์จากการวิจัย ครูมีความรู้พื้นฐานอยู่ในระดับสูง(ผ่านเกณฑ์) 2. ความรู้พื้นฐานในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูจำแนกตามองค์ประกอบความรู้ด้านการกำหนดประเด็นปัญหาวิจัย ด้านกระบวนการวิจัย และด้านประโยชน์จากการวิจัย พบว่า ด้านการกำหนดประเด็นปัญหาวิจัย ครูมีความรู้ความเข้าใจไม่ถูกต้องในเรื่องหลักเกณฑ์ในการเลือกประเด็นปัญหาวิจัยมากที่สุด รองลงมาคือ กระบวนการวิเคราะห์ปัญหาวิจัย ตามลำดับ ส่วนในด้านกระบวนการวิจัย ครูมีความรู้ความเข้าใจไม่ถูกต้องในเรื่องการออกแบบการวิจัยมากที่สุด รองลงมาคือ การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ตัวแปรในการวิจัย การเขียนรายงานการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล และการเก็บรวบรวมข้อมูล ตามลำดับ ส่วนในด้านประโยชน์จากการวิจัยครูมีความรู้พื้นฐานในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนอยู่ในระดับสูง (ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70) 3. ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้พื้นฐานในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ระหว่างครูระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา และครูระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่า มีปฏิสัมพันธ์ร่วมระหว่างระดับชั้นที่สอนและกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่อคะแนนความรู้พื้นฐานในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครู ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กล่าวคือ ครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา สุขศึกษา การงานอาชีพ และภาษาต่างประเทศ ในระดับประถมศึกษามีคะแนนความรู้พื้นฐานในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนสูงกว่าครูในระดับมัธยมศึกษา ส่วนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และศิลปะ ครูในระดับมัธยมศึกษามีคะแนนความรู้พื้นฐานในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนสูงกว่าครูในระดับประถมศึกษาen_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research were (1) to survey the teachers’ basic knowledge in conducting classroom action research (2) to analysis basic knowledge level in conducting classroom action research divide by knowledge component in identifying problems, process of research and benefit of research (3) to compare basic knowledge in conducting classroom action research between elementary school teachers and secondary school teachers, and between the learning strands teachers. The sample consisted of 405 elementary school teachers and secondary school teachers under the jurisdiction of Bangkok Education Service Area Office. The research instruments were the basic knowledge in conducting classroom action research test. The research data collection methods were test sent and collected by myself. The data were analyzed by descriptive statistics consisting of frequency, percent, mean, standard deviation, minimum, maximum, skewness, kurtosis values and Two-way Analysis of Variance. The research findings were as follows : 1. The teachers had basic knowledge in conducting classroom action research average 28.44 from 50 (56.87 percent) is mean lower standard level, it was found that the identifying problems and the process of research teachers had basic knowledge in conducting classroom action research in lower standard level (70 percent). The benefit of research teachers had basic knowledge in conducting classroom action research in high standard level (pass) 2. For the identifying problems teachers had wrong highest understand about basic knowledge were assign problem and process of analysis research problem respectively. For the process of research teachers had highest wrong understand about research design, related literature, research variable, research report, analysis and data collection respectively. For the benefit of research teachers had basic knowledge in conducting classroom action research in high standard level (70 percent pass) 3. The results of basic knowledge in conducting classroom action research scores compare between elementary school teachers and secondary school teachers and between the learning strands teachers were as follows : basic knowledge in conducting classroom action research were significant effects for score with a significant interaction effect between teachers levels and learning strands (p<0.05) For the thai, science, social, health, career and technology, and foreign learning strands in the elementary school teachers had basic knowledge in conducting classroom action research scores higher than in the secondary school teachers. Mathematics and art learning substance in the secondary school had basic knowledge in conducting classroom action research scores higher than in the elementary.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleการศึกษาเปรียบเทียบความรู้พื้นฐานในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูที่มีภูมิหลังต่างกันen_US
dc.title.alternativeA comparative study of basic knowledge in conducting classroom action research of teachers with different backgroundsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิจัยการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kewalin_wa_front_p.pdf923.08 kBAdobe PDFView/Open
Kewalin_wa_ch1_p.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Kewalin_wa_ch2_p.pdf3.72 MBAdobe PDFView/Open
Kewalin_wa_ch3_p.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open
Kewalin_wa_ch4_p.pdf1.9 MBAdobe PDFView/Open
Kewalin_wa_ch5_p.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open
Kewalin_wa_back_p.pdf1.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.