Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75282
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทัชชมัย ฤกษะสุต-
dc.contributor.authorตรีรัช ปรีชาบริสุทธิ์กุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-08-28T03:36:10Z-
dc.date.available2021-08-28T03:36:10Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75282-
dc.descriptionเอกัตศึกษา (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562en_US
dc.description.abstractการศึกษานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการแก้ไขปัญหาของประมวลรัษฎากรไทยในปัจจุบันที่ไม่มี ความยืดหยุ่นในหลักเกณฑ์ของการตัดจําหน่ายและการคํานวณค่าเสื่อมของสินทรัพย์ที่มีมูลค่าน้อย โดยศึกษาหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวของกฎหมายของประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ ซึ่งมีการกําหนด ในกฎหมายอย่างชัดเจนและเป็นการช่วยลดภาระแก่ผู้ประกอบการในการปรับปรุงรายการเพื่อ คํานวณกําไรสุทธิในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล อันสอดคล้องกับหลักการภาษีอากรที่ดีในเรื่อง ความ ยืดหยุ่นและหลักการบริหารที่ดี จากการศึกษาพบว่า ประมวลรัษฎากรไทยยึดถือในหลักกรรมสิทธิ์และหลักประโยชน์ใช้สอย เท่านั้น โดยยังไม่มีบทบัญญัติใดอนุโลมให้ปฏิบัติตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปในหลักความมี นัยสําคัญ จึงทําให้ยังมีประเด็นปัญหาที่สําคัญในการตัดจําหน่ายและคํานวณค่าเสื่อมราคาของ สินทรัพย์ที่มีมูลค่าน้อยอยู่ 3 ประการ คือ (1) ประมวลรัษฎากรไม่มีหลักเกณฑ์ข้อผ่อนปรนสําหรับ สินทรัพย์ที่มีมูลค่าน้อยเฉกเช่นเดียวกับหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป (2) แนวปฏิบัติของกรมสรรพากร ไม่สะท้อนความเป็นจริงของการมีอยู่ของทรัพย์สิน และ (3) ต้นทุนในการปรับปรุงรายการในการ คํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีตามเงื่อนไขการคํานวณกําไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(รายจ่ายต้องห้าม) เกี่ยวกับรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน อาจจะสูงเกินกว่าประโยชน์ที่จะได้รับจากการปฏิบัติให้ ถูกต้องตามประมวลรัษฎากร ซึ่งปัญหาทั้ง 3 ประการนี้ ถือเป็นการสร้างภาระเกินจําเป็นแก่ ผู้ประกอบการและยังไม่สอดคล้องกับหลักการภาษีอากรที่ดีอีกด้วย เมื่อเปรียบเทียบกับหลักการเกณฑ์การตัดจําหน่ายและการคํานวณค่าเสื่อมราคาของ สินทรัพย์ที่มีมูลค่าน้อยของประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ พบว่ากฎหมายของทั้ง 2 ประเทศมีการ กําหนดหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวอย่างชัดเจน รวมทั้งมีตัวอย่างการคํานวณและใช้สิทธิอย่างละเอียด ซึ่งเป็นการช่วยอํานวยความสะดวกและเป็นทางเลือกให้แก่ผู้ประกอบการในการคํานวณและตัด จําหน่ายค่าเสื่อมราคาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษี ดังนั้น ประเทศไทยจึงควรนําแนวทางดังกล่าวมาปรับใช้ เพื่อเป็นการพัฒนาหลักเกณฑ์ในประมวลรัษฎากรไทยให้สอดคล้องกับหลักการภาษีอากรที่ดีและ อํานวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการ ผู้เขียนได้เสนอแนะแนวทางในการนําหลักเกณฑ์ของต่างประเทศมาปรับใช้ในประเทศไทย เพื่อแก้ปัญหาทั้ง 3 ประการที่กล่าวมาข้างต้น โดยผู้เขียนเห็นว่าวิธีการดังกล่าวมีความเหมาะสมและ ควรปรับปรุง สามารถประยุกต์ใช้กับประเทศไทยได้ ซึ่งจะทําให้เกิดความชัดเจนในประมวลรัษฎากร ไทย และเป็นการช่วยบรรเทาภาระภาษีแก่ผู้ประกอบการ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนใน สินทรัพย์ใหม่ของกิจการ และช่วยให้กระแสเงินสดมีความคล่องตัวมากขึ้นen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2019.117-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการคำนวณภาษีอากรen_US
dc.subjectค่าเสื่อมราคาen_US
dc.titleแนวทางการตัดจำหน่ายและคำนวณค่าเสื่อมราคาสำหรับสินทรัพย์ที่มีมูลค่าน้อย (Low-value assets) เป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล: ศึกษากฎหมายประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์en_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorTashmai.R@Chula.ac.th-
dc.subject.keywordการเสียภาษีen_US
dc.subject.keywordสินทรัพย์ที่มีมูลค่าน้อยen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2019.117-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6186161334.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.