Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75407
Title: การยกเว้นหนี้ภาษีให้แก่ลูกหนี้ภาษีอากรซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา ภายหลังศาลได้มีคำสั่งปลดจากการล้มละลายแล้ว
Authors: อภิชา กิตติวรารัตน์
Advisors: ทัชชมัย ฤกษะสุต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Tashmai.R@Chula.ac.th
Subjects: กฎหมายล้มละลาย
ล้มละลาย -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การปลดจากการล้มละลายตามหลักกฎหมายล้มละลายนั้นมีวัตถุประสงค์หนึ่งที่สําคัญคือ เพื่อให้โอกาส ลูกหนี้ได้เริ่มต้นใหม่ทางการเงิน ซึ่งเมื่อพิจารณาในกฎหมายล้มละลายของไทยพบว่ากฎหมายได้กําหนดไว้ว่า บุคคลล้มละลายซึ่งถูกปลดจากล้มละลายแล้วจะต้องชําระหนี้เกี่ยวกับหนี้ภาษีอากรต่อไปจนครบถ้วน หนี้ภาษีที่คง ค้างนี้ขัดกับหลักการของกฎหมายล้มละลายที่ต้องการให้ลูกหนี้เริ่มต้นใหม่โดยแท้จริง นอกจากนี้เมื่อบุคคลธรรมดา ได้รับการปลดจากล้มละลาย หนี้ภาษีอากรไม่หลุดพ้นไปด้วย ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมของหน่วยภาษีระหว่าง บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล การที่ยังคงมีภาระหนี้ภาษีอากรอยู่นั้น ทําให้การเริ่มต้นใหม่ทางการเงินเป็นไปได้ยาก และลดแรงจูงใจในการประกอบอาชีพของลูกหนี้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหากับประเทศต่อไป รวมถึงการต้องรับผิดใน ภาษีอากรคงค้างภายหลังการปลดจากการล้มละลายของบุคคลธรรมดาที่สุจริตนั้น การให้ลูกหนี้รับภาษีอากรที่คง ค้างหนักเกินไปจึงอาจเป็นการลงโทษที่เกินสมควรอีกด้วย และอาจเพิ่มแรงจูงใจให้ลูกหนี้กระทําการหนีภาษี ดังนั้น จึงควรมีมาตรการที่จะช่วยยกเว้นภาระทางภาษีที่ไม่ขัดกับหลักการของกฎหมายล้มละลาย สร้าง ความเป็นธรรมระหว่างหน่วยภาษี และสร้างแรงจูงใจให้ผู้เสียภาษีเริ่มต้นธุรกิจใหม่ได้รวดเร็วขึ้น เพื่อให้รัฐมีโอกาส ได้จัดเก็บภาษีจากบุคคลที่ถูกปลดจากการล้มละลายได้ใหม่ ซึ่งจะสร้างรายได้ให้แก่รัฐมากขึ้น ผู้เขียนจึงได้นําเสนอ แนวทางในในการยกเว้นหนี้ภาษีอากรของต่างประเทศได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และแคน าดา มา ปรับใช้กับแนวทางของประเทศไทยที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยการปรับลดจํานวนหนี้ภาษีอากรที่ไม่หลุดพ้นภายหลัง การปลดจากการล้มละลายให้เฉพาะลูกหนี้ที่สุจริต คือเมื่อลูกหนี้ได้รับการปลดจากการล้มละลายจะยกเว้นหนี้ภาษี เงินได้ทั้งจํานวนในหนี้ภาษีอากรที่ค้างชําระนานเกินกว่าระยะเวลา 2 ปี หรือ 5 ปี โดยอ้างอิงตามแนวทางการ ประเมินภาษีย้อนหลังของประมวลรัษฎากรตามมาตรา 19 โดยจะยกเว้นให้เฉพาะหนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เท่านั้นโดยไม่ยกเว้นให้แก่ หนี้ภาษีทรัพย์สิน หนี้ภาษีสรรพสามิต หนี้ภาษีศุลกากร เนื่องจากหนี้ภาษีดังกล่าว สามารถบังคับชําระได้กับตัวทรัพย์ ส่วนหนี้ภาษีหัก ณ ที่จ่ายและภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ไม่ยกเว้นเนื่องจากไม่ใช่หนี้ที่ ลูกหนี้ภาษีอากรก่อขึ้นแต่เป็นเงินที่ลูกหนี้เก็บมาจากบุคคลอื่นเพื่อนําส่งกรมสรรพากร และควรกําหนดเงื่อนไขที่ ลูกหนี้ได้รับยกเว้นภาระทางภาษีที่เหมาะสม เช่น ต้องได้ยื่นแบบฟอร์มภาษีเงินได้ให้กรมสรรพากรด้วยตัวเอง มาแล้วเป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปีนับจากวันที่ถูกฟ้องล้มละลาย และในกรณีที่เป็นหนี้ภาษีที่ถูกประเมินเพิ่มนั้นลูกหนี้ ต้องได้ยื่นแบบให้สรรพากรประเมินโดยระยะเวลาผ่านมาเป็นเวลาอย่างน้อย 240 วัน รวมถึงกําหนดให้มีการจํากัด จํานวนครั้งของหนี้ภาษีที่ได้รับการปลดจากหนี้ภาษีอากร โดยไม่ให้รัฐเสียประโยชน์จนเกินควร นอกจากนั้นรัฐควร กําหนดมาตรการให้เจ้าหนี้กรมสรรพากรมีสิทธิในการระบุทรัพย์เหมือนเจ้าหนี้มีหลักประกันได้ โดยลูกหนี้จะได้รับ การปลดจากหนี้ภาษีเมื่อมีการบังคับชําระจากหลักประกันแล้ว ซึ่งเอกัตศึกษาฉบับนี้ได้ศึกษาเปรียบเทียบแล้ว พบว่า หากนํามาตรการเหล่านี้มาใช้ ก็จะทําให้บุคคลธรรมดาหลุดพ้นจากหนี้ภาษีอากรได้โดยที่รัฐสามารถเก็บภาษี อากรได้เพิ่มขึ้นด้วย
Description: เอกัตศึกษา (ศศ.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: กฎหมายเศรษฐกิจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75407
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2019.134
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2019.134
Type: Independent Study
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6186183134.pdf962.18 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.