Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75730
Title: ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับความหวังในผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ที่ได้รับการวินิจฉัยครั้งแรก
Other Titles: Selected factors related to hope among persons with first diagnosis of acute myocardial infarction
Authors: อัมพิกา อินทร์อยู่
Advisors: ระพิณ ผลสุข
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Subjects: กล้ามเนื้อหัวใจตาย -- ผู้ป่วย
ความหวัง
Myocardial infarction -- Patients
Hope
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงบรรยายเพื่อศึกษาปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับความหวังในผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่ได้รับการวินิจฉัยครั้งแรก กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่ได้รับการวินิจฉัยครั้งแรก จำนวน 213 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จากผู้ที่มารับบริการ ณ แผนกผู้ป่วยนอกอายุกรรมโรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลตำรวจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และโรงพยาบาลศิริราช เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามทั้งหมด 8 ส่วน คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามความหวัง 3) แบบสอบถามการความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจ 4) แบบสอบถามความวิตกกังวลในผู้ป่วยโรคหัวใจ 5) แบบสอบถามการรับรู้ภาวะสุขภาพ 6) แบบสอบถามการมองโลกในแง่ดี 7) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม 8) แบบสอบถามความรู้สึกไม่แน่นอนต่อการเจ็บป่วย ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน มีค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1.00, 0.90, 1.00, 1.00 , 1.00, 1.00 และ 1.00 ตามลำดับ และผ่านการตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือ มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอบบาคเท่ากับ .75, .76, .83, .81, .76, .94 และ.91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. ผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่ได้รับการวินิจฉัยครั้งแรกมีคะแนนความหวัง ความรู้ ความวิตกกังวล การมองโลกในแง่ดี และความรู้สึกไม่แน่นอนต่อการเจ็บป่วยอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 23.76 SD = 2.68, Mean = 11.78 SD = 3.49, Mean = 1.63 SD = 0.66, Mean = 45.07 SD = 4.77 และ Mean = 56.71 SD = 12.14 ตามลำดับ) มีคะแนนการรับรู้ภาวะสุขภาพอยู่ในระดับดี (Mean = 63.54 SD = 19.26) และ มีคะแนน การสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับสูง (Mean = 62.67 SD = 11.28) 2. การรับรู้ภาวะสุขภาพ การมองโลกในแง่ดี และการสนับสนุนทางสังคม (r = .242, .208 และ .277 ตามลำดับ) มีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับต่ำกับความหวังในผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่ได้รับการวินิจฉัยครั้งแรก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ ความรู้ ความรู้สึกไม่แน่นอนต่อความเจ็บป่วย และ ความวิตกกังวล ไม่มีความสัมพันธ์กับความหวังในผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่ได้รับการวินิจฉัย ครั้งแรก 
Other Abstract: The objective of this descriptive correlation research was to identify selected factors related to hope among persons with first diagnosis of acute myocardial infarction. A multi-stage sampling of 213 persons with first diagnosis of acute myocardial infarction were recruited from Cardiovascular outpatient department in Police General Hospital, Chulalongkorn Memorial Hospital, and Siriraj Hospital. Data were collected using eight questionnaires for persons with first diagnosis of acute myocardial infarction: 1) Demographic data form 2) Hope 3) Knowledge of cardiac disease 4) Cardiac anxiety 5) Health perception 6) Optimism 7) Social support and 8) Uncertainty of illness. All questionnaires were tested for their content validity by five experts. The CVI were 1.00, 0.90, 1.00, 1.00, 1.00, 1.00 and 1.00, respectively. The Cronbach’s alpha coefficient were .75, .76, .83, .81, .76, .94 and .91, respectively. Data were analyzed using Pearson’s product correlation coefficient statistics. The findings were presented as follow: 1. Mean score of hope, knowledge, anxiety, optimism, and uncertainty of illness among persons with first diagnosis of acute myocardial infarction were at moderate level (Mean = 23.76 SD = 2.68, Mean = 11.78 SD = 3.49, Mean = 1.63 SD = 0.66, Mean = 45.07 SD = 4.77 and Mean = 56.71 SD = 12.14, respectively), mean score of health perception was at good level (Mean = 63.54 SD = 19.26) and mean score of social support was at high level (Mean = 62.67 SD = 11.28). 2. Health perception, optimism, and social support were significantly positively correlated at low level with hope among persons with first diagnosis of acute myocardial infarction at the .05 (r = .242, r = .208, and r = .277 respectively). Knowledge, uncertainty of illness and anxiety were not correlated with hope among persons with first diagnosis of acute myocardial infarction.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75730
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.899
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2020.899
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6077171036.pdf10.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.