Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76058
Title: | นวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายสตรีด้วยวัสดุเหลือใช้สำหรับกลุ่มที่ต้องการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมโดยใช้แนวคิดการนำกลับมาใช้ใหม่ |
Other Titles: | The branding innovation of womenswear from waste materials for reuse revolutionaries group by using upcycle concept |
Authors: | ศศิมา สุชินโรจน์ |
Advisors: | ศิวรี อรัญนารถ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
Subjects: | การออกแบบเครื่องแต่งกาย เสื้อผ้าสตรี ชื่อตราผลิตภัณฑ์ การนำกลับมาใช้ใหม่ Costume design Women's clothing Brand name products Recycling |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | นวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายสตรีด้วยวัสดุเหลือใช้ สำหรับกลุ่มที่ต้องการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม (Reuse Revolutionaries) โดยใช้แนวคิดการนำกลับมาใช้ใหม่ (Upcycle Concept) เป็นการวิจัยเพื่อหาแนวทางในการใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ ซึ่งได้จากการผลิตอุตสาหกรรมประเภทเครื่องหนัง และจะนำมาพัฒนาควบคู่ไปกับงานฝีมือเพื่อให้เกิดงานออกแบบที่สร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างตราสินค้าแฟชั่นโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณควบคู่กับกระบวนการออกแบบสร้างสรรค์ให้สอดคล้องเหมาะสมกับสตรีกลุ่มที่ต้องการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย เริ่มตั้งแต่การศึกษากลุ่มเป้าหมายถึงข้อมูลทั่วไปและพฤติกรรมการบริโภคสินค้าเพื่อให้เข้าใจถึงรูปแบบและหลักเกณฑ์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกบริโภคสินค้า รวมถึงหาช่องทางที่กลุ่มเป้าหมายจะตัดสินใจเลือกบริโภค ตลอดจนการศึกษาถึงลักษณะแบรนด์สินค้าในปัจจุบันที่สามารถตอบโจทย์กลุ่มคนเป้าหมายได้ ศึกษาแนวความคิดเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ด้วยการนำกลับมาใช้ใหม่ (Upcycle) ผ่านแนวทางเทคนิคงานฝีมือให้ชิ้นงานมีมูลค่าและสวยงามมากขึ้น ตลอดจนมีการศึกษารูปแบบผลงานการใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ที่มีในปัจจุบันของศิลปินต่าง ๆ ศึกษารูปแบบงานฝีมือ ที่หลากหลายและแบบ Surface Embroidery เพื่อนำมาหาข้อสรุปและความเหมาะสมในการสร้างสรรค์งาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามกลุ่มผู้บริโภคผู้หญิงที่อยู่กลุ่มเจเนอเรชั่นวาย มีอายุระหว่าง 25 - 35 ปี จำนวน 51 คน ผลจากการวิจัยพบว่าแฟชั่นเพื่อกลุ่มที่ต้องการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม (Reuse Revolutionaries) กับแนวความคิดการใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ด้วยการนำกลับมาใช้ใหม่ (Upcycle) สามารถมีแนวทางในการออกแบบร่วมกันได้ โดยใช้เทคนิคการผสมผสานงานฝีมือที่หลากหลายเพื่อให้เกิดการลดปริมาณเศษหนังให้มากที่สุดและ เกิดการใช้งานอย่างคุ้มค่า โดยมีโอกาสการใช้สอยในรูปแบบของชุดลำลองที่สร้างสรรค์ (Creative Casual) โดยสามารถประยุกต์ใช้เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้บริโภค ช่องว่างการตลาดสู่การสร้างสรรค์ตราสินค้าแฟชั่นที่มีการผสมผสานงานฝีมือและการใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ |
Other Abstract: | The branding innovation of womenswear from waste materials targeting Reuse Revolutionaries group by adopting Upcycle Concept is a research topic which aims to explore application of waste materials from a mass leather production while developing an upcycling method using craftmanship to achieve a creative and aesthetic final product. The main objective is to establish a fashion brand from a study of both qualitative and quantitative research, along with a unique design process which fits the target group of female who seeks to create a positive environmental impact. The study covers general demography, consumption behavior, and decision-making influence of the target group, as well as associated trending brands among the group in the present. Most importantly, a tribute to 'upcycle' will be strongly reflected in this thesis showing how such process can up-value a product from reusing scrap from a mass manufacture. Valuable works from various artists in the industry and different handcraft technique such as surface embroidery will also be included in the study that could eventually draw a conclusion to the final work. A consumer survey, which was conducted specifically for a group of 51 females in generation Y of age 25 - 35, shows a positive correlation between the Reuse Revolutionaries group and an upcycle concept. They solidly favor a design direction that aims to use variety of craftmanship technique as a way to reduce leather waste and maximize its value. 'Creative Casual' style can also be considerably introduced through this aforementioned process to the target consumers and open up a new market for creative, upcycle fashionable wear. |
Description: | สารนิพนธ์ (ศป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 |
Degree Name: | ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นฤมิตศิลป์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76058 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.319 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.IS.2020.319 |
Type: | Independent Study |
Appears in Collections: | Fine Arts - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6280037535.pdf | 21.75 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.