Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76091
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุกัญญา สมไพบูลย์-
dc.contributor.authorณัฐญ์นิษฐา ไชยรัตน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-09-21T06:12:08Z-
dc.date.available2021-09-21T06:12:08Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76091-
dc.descriptionสารนิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะสัมพันธบทในนวนิยายเรื่องจุฬาตรีคูณ 2) เพื่อศึกษาลักษณะเนื้อหาและวิธีการดัดแปลงบทเพลงที่มาจากนวนิยายเรื่องจุฬาตรีคูณ ผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์ตัวบท และศึกษาจากแหล่งข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องจุฬาตรีคูณ กามนิต-วาสิฏฐี และนาร์ซิสซัส รวมถึงเพลงชุดจุฬาตรีคูณ จำนวน 5 บทเพลง ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะสัมพันธบทในนวนิยายเรื่องจุฬาตรีคูณที่พบมากที่สุดคือ การคงเดิม และการดัดแปลง โดยเรื่องกามนิต-วาสิฏฐี ได้มีอิทธิพลต่อเรื่องจุฬาตรีคูณมากกว่าเรื่องนาร์ซิสซัส ซึ่งเรื่องจุฬาตรีคูณรับเอาลักษณะเด่นหลายส่วนจากเรื่องกามนิต-วาสิฏฐี มาใช้ทั้งโครงเรื่องหลัก แก่นเรื่องความรัก ความลุ่มหลง จนไปสู่ความทุกข์และความหายนะ ความขัดแย้งในจิตใจและความขัดแย้งระหว่างคนกับคน ด้านตัวละครก็มีลักษณะเด่นของนิสัย อารมณ์ความรู้สึกนึกคิด พฤติกรรมของตัวละครเอก ส่วนฉากและบรรยากาศ ก็มีการกล่าวถึงดินแดนชมพูทวีป รวมไปถึงมุมมองการเล่าเรื่อง สำหรับเรื่องนาร์ซิสซัส ในจุฬาตรีคูณได้คงเดิมแก่นเรื่องความงาม ความลุ่มหลง จนไปสู่ความทุกข์และความหายนะ รวมถึงสถานที่ที่เป็นแหล่งน้ำโดยเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาและเป็นจุดจบของตัวละครเอก เมื่อจุฬาตรีคูณเก็บส่วนสำคัญต่างๆจากทั้งสองเรื่องไว้แล้ว ก็ได้นำองค์ประกอบเหล่านั้นมาดัดแปลงจนเกิดเป็นชิ้นงานที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดัดแปลงตัวละครเอก “นาร์ซิสซัส” ให้กลายเป็น “ดารารายพิลาส” และการทำให้ “แม่น้ำจุฬาตรีคูณ” กลายเป็นฉากสำคัญของเรื่อง ในส่วนของลักษณะเนื้อหาและวิธีการดัดแปลงบทเพลงพบว่า ทุกบทเพลงมีเนื้อหาเรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆของเรื่องทั้งหมด โดยสามารถเรียงร้อยต่อเนื่องกันตามลำดับเหตุการณ์ในนวนิยายตั้งแต่ต้นจนจบ สำหรับการใช้ภาษาพบว่ามีการใช้ภาพพจน์บุคคลวัต มากที่สุด และรสในวรรณคดีที่ปรากฏมากที่สุดคือ กรุณารส ด้านวิธีการดัดแปลงบทเพลงพบว่า มีลักษณะของการคงเดิมอยู่ในทุกบทเพลง โดยองค์ประกอบที่เปลี่ยนแปลงมากที่สุดคือ บทสนทนา ซึ่งมีครบทั้งการคงเดิม การตัดทิ้งหรือการลดทอน การเพิ่มเติมหรือการขยาย และการสลับหรือการปรับเปลี่ยน บทสนทนาถือเป็นส่วนสำคัญที่สุดในการนำมาใช้สร้างสรรค์เป็นเนื้อเพลง โดยเฉพาะการเป็นบทเพลงเพื่อประกอบการแสดงละครวิทยุที่ผู้ประพันธ์บทเพลงได้เน้นให้เห็นความสำคัญของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้ผู้ฟังเกิดจินตภาพ รับรู้ได้ถึงนาฏการต่างๆ รวมทั้งอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดของตัวละคร ลักษณะสัมพันธบทและการดัดแปลงในงานวิจัยที่เกิดขึ้นนี้ ได้ย้ำเตือนให้เข้าใจเสมอว่าในการผลิตหรือสร้างสรรค์ผลงานจากสิ่งที่เคยมีมาแล้วนั้นไม่ใช่เป็นการเลียนแบบหรือคัดลอก แต่ถือเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นปกติในแวดวงของศิลปะแขนงต่างๆซึ่งสามารถหลอมรวมให้เป็นหนึ่งเดียวกันได้ ด้วยวิธีการสร้างสรรค์จากแรงบันดาลใจ รวมถึงประสบการณ์ต่างๆที่ผู้ผลิตผลงานนำมาปะติดปะต่อ รวบรวมเข้าไว้ด้วยกัน และประยุกต์จนเกิดเป็นผลงานในรูปแบบอื่นๆต่อไป-
dc.description.abstractalternativeThis qualitative research has two objectives 1) to study intertextuality in the Chulatreekoon novel and 2) to study the content and the approaches to adapting songs in Chulatreekoon. I conducted a textual analysis on and obtained information related to the following texts: Chulatreekoon, Kamanita-Vasitthi, Narcissus and five songs featured in Chulatreekoon. The research has found that the types of intertextuality found in Chulatreekoon are convention and modification. Kamanita-Vasitthi has a stronger influence on Chulatreekoon than Narcissus. Chulatreekoon inherits many outstanding aspects from Kamanita-Vasitthi, especially the main plot and the themes of love and greed, which leads to misery, disasters, dilemma and interpersonal conflicts. The influence also extends to the way the main characters exhibit their traits, emotions and behaviors. The novel features jambudvipa as a geographical backdrop and point of view. In referencing Narcissus, Chulatreekoon maintains the themes of beauty and greed, which leads to misery and disasters. The novel also makes use of watery places where conflicts start and the protagonists meet their downfall. Chulatreekoon makes use of those key aspects from the two novels and adapt them into its own unique story. The protagonist of “Narcissus” is turned into “Dararaipilas” and the “Chulatreekoon river” functions as the primary backdrop of the story. When it comes to the content and the approaches to adapting the songs featured in Chulatreekoon, all five songs build on one another in accordance with the timeline of the incidents from the beginning to the end of the story. The type of figure of speech used the most in the songs is “personification” and the type of rasa in indian aesthetics used the most is “karuna rasa” In terms of adaptation, the content is maintained in all five songs. The aspect affected by the adaptation the most is the dialogue. Dialogues in the songs can be kept entirely, cut, reduced, added, expanded and rearranged. Dialogues are the most important part in creating the songs. When used for radio dramas, the song creation takes into account the dramatization of incidents to help listeners visualize them and feel the drama, emotions and characters’ thoughts. The types of intertextuality and the adaptation approaches found in this research underscore the need to understand reproduction of creative works that already exist as a common phenomenon in many artistic fields, not a form of plagiarism. Artist’s personal creation can be a result of an adaptation of different works that inspire them and an accumulation of personal experiences.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.334-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectจุฬาตรีคูณ-
dc.subjectการวิเคราะห์เนื้อหา-
dc.subjectการวิเคราะห์เพลง-
dc.subjectContent analysis (Communication)-
dc.subject.classificationSocial Sciences-
dc.titleสัมพันธบทและการดัดแปลงบทเพลงจากนวนิยายเรื่อง “จุฬาตรีคูณ”-
dc.title.alternativeIntertextuality and adaptation of songs from Thai novel “Chulatreekoon”-
dc.typeIndependent Study-
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineนิเทศศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2020.334-
Appears in Collections:Comm - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6280011328.pdf2.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.