Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76296
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ณัฐวุฒิ โตวนำชัย | - |
dc.contributor.author | สุดารัตน์ ปิยะศิริเดช | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2021-09-21T06:28:43Z | - |
dc.date.available | 2021-09-21T06:28:43Z | - |
dc.date.issued | 2561 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76296 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 | - |
dc.description.abstract | ความสำคัญและที่มา: ไมโคฟีโนลิกแอซิด(mycophenolic acid, MPA) และการทำพลาสมาเฟอเรซิส เป็นกระบวนการรักษาภาวะความผิดปกติจากภูมิคุ้มกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะผู้ป่วยปลูกถ่ายไต แต่ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนของการทำพลาสมาเฟอเรซิสที่มีผลต่อระดับไมโคฟีโนลิกแอซิด วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเภสัชจลนศาสตร์ (pharmacokinetic)ของยาMPA โดยการวัดค่า area under the time-concentration curve ที่ 0-12 ชั่วโมง (AUC0-12) ซึ่งเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการตรวจติดตามระดับยาMPA ในเลือดของผู้ป่วย โดยเทียบระหว่างวันที่ทำพลาสมาเฟอเรซิสและวันที่ไม่ได้ทำพลาสมาเฟอเรซิส ระเบียบวิธีวิจัย: ผู้ป่วยหลังปลูกถ่ายไต ที่รับประทานยาไมโคฟีโนเลทโมฟีติล(mycophenolate mofetil, MMF) 1,000 มก./วัน และเข้ารับการรักษาด้วยวิธีการทำพลาสมาเฟอเรซิสที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตั้งแต่พ.ศ.2561-2562 โดยผู้ป่วยจะได้รับการเก็บตัวอย่างเลือดที่ 0, 1/2, 1, 2, 3, 4, 6, 8 และ 12 ชั่วโมงหลังรับประทานยา MMFมื้อเช้า เพื่อนำไปวัดระดับ MPA และนำค่า MPAที่ได้ไปคำนวณหาค่า AUC0-12 ของยาMPA ผู้ป่วยจะได้รับการทำพลาสมาเฟอเรซิสภายใน 4 ชั่วโมงหลังจากที่ผู้ป่วยรับประทาน MMF มื้อเช้า โดยมีวัตถุประสงค์ของการศึกษาคือการติดตามระดับ AUC0-12 ของยาMPA ที่เปลี่ยนแปลงไประหว่างวันที่ทำและไม่ได้ทำพลาสมาเฟอเรซิส ผลการศึกษา: ผล AUC0-12 ของ MPA จำนวนทั้งสิ้น 40 AUC โดยเป็น AUC0-12 ในวันที่ไม่ได้ทำพลาสมาเฟอเรซิสจำนวน 20 AUC และในวันที่ทำพลาสมาเฟอเรซิสจำนวน 20 AUC ในผู้ป่วยหลังปลูกถ่ายไตทั้งสิ้น 6 ราย ค่าเฉลี่ยของอายุผู้ป่วยคือ 56.2 ±20.7 ปี ผู้ป่วยทุกรายรับประทาน MMF 1,000 มก./วัน ติดต่อกันนานอย่างน้อย 72 ชั่วโมงก่อนเข้าร่วมการศึกษา ค่าเฉลี่ยของระดับ AUC0-12 ของยาMPA ในวันที่ทำพลาสมาเฟอเรซิสต่ำกว่าวันที่ไม่ได้ทำพลาสมาเฟอเรซิสอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (28.22 ±8.21 และ 36.79 ±10.29 มก.ชั่วโมง/ลิตร, p=0.001) และร้อยละการลดลงของค่า AUC0-12 ของยาMPA คือร้อยละ 19.49 ±24.83 ซึ่งโดยส่วนใหญ่เป็นการลดลงของระดับ AUC ของยาMPA ในช่วง4 ชั่วโมงแรก (AUC0-4) โดยลดลงถึงร้อยละ 23.96 ±28.12 สรุป: การทำพลาสมาเฟอเรซิสมีผลต่อการลดระดับ AUC0-12 ของยาMPA ในเลือดของผู้ป่วย และการศึกษานี้เป็นการศึกษาแรกที่ใช้การตรวจติดตามค่า AUC0-12 ของยาMPA ในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยา MPA และทำพลาสมาเฟอเรซิส โดยการศึกษามีข้อสรุปที่แนะนำว่าควรปรับเพิ่มขนาดของยา MPA ในช่วงที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาด้วยการทำพลาสมาเฟอเรซิส หรือแนะนำให้ทำพลาสมาเฟอเรซิสหลังรับประทาน MPA อย่างน้อย 4 ชั่วโมง เพื่อให้ได้ระดับยา MPA ในเลือดที่เหมาะสม | - |
dc.description.abstractalternative | Background: Mycophenolic acid (MPA) and plasmapheresis (PP) are effective immune reduction method, simultaneously used in many immunological diseases. Although PP can remove many substances from blood, the effect of PP on MPA levels is still inconclusive. Objectives: Measuring AUC0-12 of MPA, which is the best indicator of MPA treatment monitoring after each PP compare with the day without PP sessions. Methods: An observational study was conducted in kidney transplantation recipients who were taking mycophenolate mofetil (MMF) 1000 mg/day and undergoing PP at King Chulalongkorn Memorial Hospital, Bangkok, Thailand, during 2018 and 2019. The MPA levels were measured for AUC0-12 calculation on the day with and without PP sessions. Our primary outcome is the difference of AUC0-12 between the day with and without PP sessions. Results: A total of 40 full AUC0-12. There were 20 AUC on the day without PP in total of 6 kidney transplant patients. The mean age was 56.2 ±20.7 years. All of patients received MMF 1,000 mg/day for at least 72 hours before undergoing PP. Mean AUC0-12 on the day with PP was lower than the day without PP (28.22 ±8.21 vs 36.79 ±10.29 mg x hour/L, p=0.001) and the percentage of AUC reduction was 19.49 ±24.83 %. This was mainly the result of a decrease in AUC0-4 of MPA (23.96 ±28.12% reduction). Conclusions: Plasmapheresis significantly reduce the level of full AUC0-12 of MPA. The present study is the first to measure the full AUC0-12 in MPA-treated patients undergoing plasmapheresis. Our study suggests that the supplementary dose of MPA in patients undergoing PP is necessary. On the other hand plasmapheresis should be undergone at 4 hours after taking MPA . | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1517 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | ไต -- การปลูกถ่าย-- ผู้ป่วย | - |
dc.subject | เภสัชจลนศาสตร์ | - |
dc.subject | ภูมิคุ้มกันบกพร่อง | - |
dc.subject | Kidneys -- Transplantation -- Patients | - |
dc.subject | Pharmacokinetics | - |
dc.subject | Immunodeficiency | - |
dc.subject | Mycophenolic acid | - |
dc.subject | Plasmapheresis | - |
dc.subject.classification | Medicine | - |
dc.title | ผลของการทำพลาสมาเฟอเรซิสที่มีต่อระดับยาไมโคฟีโนลิกแอซิดในพลาสมาของในผู้ป่วย | - |
dc.title.alternative | Effects of plasmapheresis on mycophenolic acid concentrations | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | อายุรศาสตร์ | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2018.1517 | - |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6074041630.pdf | 1.23 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.