Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76310
Title: | ความเข้ากันได้ของฐานข้อมูลชุดข้อมูลมาตรฐาน 52 แฟ้ม เพื่อใช้เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับตัวชี้วัดการดูแลสุขภาพแบบมุ่งเน้นคุณค่าที่อ้างอิงโดย ICHOM ในกลุ่มโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง |
Other Titles: | The compatibility of the database from the standard data set (52 files) for the value-based health care referenced by ICHOM in diabetes mellitus and hypertension |
Authors: | สุวภัทร วิชานุวัฒน์ |
Advisors: | จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ สุรีรัตน์ งามเกียรติไพศาล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Subjects: | ผู้ป่วยเบาหวาน -- ฐานข้อมูล ความดันเลือดสูง -- ฐานข้อมูล |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเข้ากันได้ของฐานข้อมูลผู้ป่วยกลุ่มโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงจากชุดข้อมูลมาตรฐาน 52 แฟ้ม นำมาใช้เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับตัวชี้วัด ICHOM มีรูปแบบการศึกษาแบบผสมผสาน (Mixed method research) คือการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยทำการศึกษาฐานข้อมูลตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ.2560 - กันยายน พ.ศ.2561 จากหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ 2 แห่ง และการการสัมภาษณ์ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า ความเข้ากันได้ของฐานข้อมูลผู้ป่วยและแหล่งข้อมูลสำหรับตัวชี้วัด ICHOM ในกลุ่มโรคเบาหวานหน่วยบริการ A และหน่วยบริการ B มีความเข้ากันได้ 21 ตัวชี้วัดและ 33 ตัวชี้วัด หรือคิดเป็นร้อยละ 31.34 และ 49.25 ตามลำดับ ส่วนกลุ่มโรคความดันโลหิตสูงหน่วยบริการ A และหน่วยบริการ B มีความเข้ากันได้ 14 ตัวชี้วัดและ 18 ตัวชี้วัด หรือคิดเป็นร้อยละ 31.11 และ 40.00 ตามลำดับ และผลการสัมภาษณ์โดยรวมความคิดเห็นตัวชี้วัดที่ใช้ปัจจุบันของผู้ป่วย ได้ข้อสรุปว่ามีประโยชน์และเพียงพอแล้ว โดยมองในมุมผู้รับบริการเป็นหลักว่าฐานข้อมูลที่เก็บเพียงพอต่อบริการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาพยาบาลเบื้องต้น และฟื้นฟูสภาพร่างกาย อีกทั้งในมุมของผู้ให้บริการเองมองเห็นว่าหากลดการบันทึกตัวชี้วัดที่ซ้ำซ้อนกับข้อมูลที่มีข้อมูลที่บันทึกประจำอยู่แล้ว จะลดภาระงาน และทำให้ตัวชี้วัดที่สำคัญมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ชุดข้อมูลมาตรฐาน 52 แฟ้มไม่สามารถใช้ข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ตัวชี้วัด ICHOM ที่เป็นข้อมูลระยะยาวได้ ซึ่งเป็นประเด็นที่พบความไม่เข้ากันกับชุดตัวชี้วัด ICHOM แต่ชุดตัวชี้วัด ICHOM เป็นเพียงเงื่อนไขเริ่มต้นและปัจจัยเพื่อให้สามารถปรับเลือกใช้ตามบริบทของประเทศ ภูมิภาค รวมถึงความแตกต่างของจำนวนผู้ป่วยและผู้ให้บริการ หากนำมาปรับใช้กับบริบทประเทศไทยอาจต้องปรับโครงสร้างข้อมูลมาตรฐาน 52 แฟ้มให้มีความครบถ้วนและถูกต้อง อีกทั้งควรมีเป้าหมายการนำไปใช้อย่างชัดเจน |
Other Abstract: | The purpose of this study was to study the compatibility of the diabetes mellitus and hypertension from the 52 standard data sets were used as data sources for the indicators ICHOM by mixed method research model which is quantitative and qualitative research. A database study was conducted from October 2017 to September 2018 from two primary care units and interviews with relevant practitioners. The results showed that compatibility of patient databases and data sources for the indicators ICHOM in diabetes mellitus in unit A and unit B groups were compatible with 21 indicators and 33 indicators, or accounted for 31.34% and 49.25%, respectively. In the hypertension group, unit A and unit B were compatible with 14 indicators and 18 indicators, or accounted for 31.11% and 40.00%, respectively. And the results of the interview by including the opinions of the patient's current indicator concluded that it is useful and sufficient By looking at the service recipient's perspective, it is mainly that the database is sufficient for health promotion services, disease prevention, primary medical treatment. and rejuvenate the body In addition, from the point of view of the service providers themselves, if reducing the recording of metrics that are redundant with the data that has already recorded data, it will reduce the workload and make the important indicators more quality. The standard 52-file dataset cannot be used for longitudinal data analysis of ICHOM indicators. This is where incompatibility with the ICHOM indicators is found, but the ICHOM indicators are only initial conditions and factors to enable them to be adapted based on the context of countries, regions, and differences in the number of patients and providences. If applied to the Thai context, it may be necessary to restructure the standard 52 files to be complete and accurate. There should also be a clear implementation goal. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76310 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.629 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2020.629 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6174032030.pdf | 2.46 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.