Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76330
Title: | การระรานทางไซเบอร์และภาวะสุขภาพจิตของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 1 |
Other Titles: | Cyberbullying and mental health of freshmen student in Chulalongkorn University |
Authors: | ธัญจิรา จำนงค์ฤทธิ์ |
Advisors: | ชัยชนะ นิ่มนวล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การระรานทางไซเบอร์ เป็นปัญหาสำคัญในวัยเรียนที่เกิดขึ้นเมื่ออินเทอร์เน็ตกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน การเข้าถึงได้โดยไม่ต้องระบุตัวตนในสื่อสังคมออนไลน์ส่งผลให้การกลั่นแกล้งรังแกกันสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาบนโลกอินเทอร์เน็ต ซึ่งทั้งหมดนี้อาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิต และสุขภาพจิตของนิสิตได้ การวิจัยครั้งนี้มีรูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง เพื่อศึกษาความชุกของการระรานทางไซเบอร์ คุณภาพชีวิตด้านจิตสังคม และสุขภาวะทางจิตในนิสิตชั้นปีที่ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการระรานทางไซเบอร์ คุณภาพชีวิต กับสุขภาพจิตของนิสิตชั้นปีที่ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเก็บรวมรวมข้อมูลจากนิสิตในปีการศึกษา 2563 จำนวน 1433 คน โดยใช้เครื่องมือ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) Cyber-Aggression Perpetration and Victimization Scale ฉบับภาษาไทย 3) แบบวัดคุณภาพชีวิตด้านจิตสังคม (CU student psychological well-being revised 2020) และ 4) แบบวัดสุขภาพจิตในคนไทย ฉบับปรับปรุง โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (The Thai Mental Health Questionnaire : TMHQ : CU-modified short form) สถิติที่ใช้ได้แก่ วิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย มัธยฐาน ค่าสู่งสุด ค่าต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบนมตราฐาน การทดสอบ Chi-Square และ การวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก (Multiple Logistic Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่า นิสิตส่วนใหญ่เคยถูกระรานทางไซเบอร์ (52.7%) มีคุณภาพชีวิตด้านจิตสังคมในระดับกลาง (46.5%) มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 35.55 และ S.D. เท่ากับ 6.94 โดยส่วนมากไม่พบปัญหาสุขภาพจิต (55.8%) เมื่อวิเคราะห์การถอดถอยพหุคูณพบว่าปัจจัยทำนายที่สัมพันธ์กับสุขภาพจิตได้แก่ การเคยถูกระรานทางไซเบอร์ (p<0.01) คุณภาพชีวิตด้านจิตสังคมในระดับต่ำ (p<0.01) เพศหญิง (p<0.01) คณะ (p<0.05) ศาสนาอื่น ๆ นอกเหนือจากศาสนาพุทธ (p<0.05) ความไม่เพียงพอของค่าใช้จ่าย (p<0.05) ความชอบในสาขาวิชาน้อย (p<0.05) การเคยพบเพื่อนที่มีปัญหาสุขภาพจิต (p<0.01) จึงสรุปได้ว่า นิสิตที่เคยถูกระรานทางไซเบอร์จะมีโอกาสมีคุณภาพชีวิตด้านจิตสังคมในระดับต่ำ และมีโอกาพบปัญหาสุขภาพจิตได้มากกว่ากลุ่มที่ไม่เคยถูกระรานทางไซเบอร์ |
Other Abstract: | Since the Internet become a part of people’s life, cyberbullying become one of the largest problem for most people, especially for students. Unidentified accessing in online mass media always causes bullying whenever they are on the Internet which affects to their well-being as well as mental health. The aim of this descriptive study were to investigate the prevalence of cyberbullying, psychosocial well-being and mental health among first-year undergraduate students in Chulalongkorn university and to find the correlation between cyberbullying, well-being and mental health. The data were collected from 1,433 first-year undergraduate students and the questionnaires that were used in the study included: 1) personal information, 2) cyber-aggression victimization scale, 3) CU student psychological well-being test and, 4) the Thai mental health questionnaire (TMHQ : CU-modified short form). Then data are analyzed and presented by descriptive statistic were frequencies, percentages, mean, median, min, max, standard deviation, Chi-square test, and Multiple Logistic Regression Analysis. The results showed that most of students are cyberbullying victims (52.7%), moderate well-being (46.5%, mean = 35.55 and S.D. = 6.94), while mental health problem were not mostly found (55.8%). Multiple Logistic Regression Analysis showed that mental health problem was associated with cyberbullying (p<0.01), psychosocial well-being (p<0.01) female (p<0.01) faculty (p<0.05) other religions (p<0.05) insufficient cost of living (p<0.05), disliked subjects (p<0.05), and found friends with mental health problem (p<0.01). In conclustion; cyberbullying affects to low psychosocial well-being and affects to mental health problem. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สุขภาพจิต |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76330 |
URI: | http://www.doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1251 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2020.1251 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6270009030.pdf | 3.83 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.