Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7634
Title: | การคำนวณภาระการทำความเย็น และการเลือกขนาดเครื่องทำความเย็นที่เหมาะสม |
Other Titles: | Cooling load calculation and suitable size selection of chiller |
Authors: | เทพฤทธิ์ ทองชุบ |
Advisors: | ฤชากร จิรกาลวสาน |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Richakorn.C@Chula.ac.th |
Subjects: | การทำความเย็นและเครื่องทำความเย็น -- การควบคุมอัตโนมัติ อาคาร -- การอนุรักษ์พลังงาน การปรับอากาศ -- การควบคุม |
Issue Date: | 2540 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การคำนวณภาระการทำความเย็นและการเลือกขนาดเครื่องทำความเย็นที่เหมาะสมนั้น จะทำให้ประหยัดค่าไฟฟ้าของอาคารได้มาก เพราะค่าไฟฟ้าส่วนใหญ่ของอาคารมาจากระบบปรับอากาศ วิธีการคำนวณภาระการทำความเย็นจะต้องคำนวณได้ในทุกชั่วโมงของทุกวันในรอบปี เพื่อที่จะสามารถรู้ลักษณะภาระการทำความเย็นที่แท้จริงของอาคาร ซึ่ง Transfer Function Method เป็นวิธีที่เหมาะสมในการใช้งาน และมีการนำข้อมูลค่าการแผ่รังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์ที่วัดได้จริง มาใช้ในการคำนวณเปรียบเทียบกับค่าที่คำนวณทางทฤษฎี เพื่อให้ได้ค่าที่ได้มีค่าใกล้เคียงความเป็นจริงมากขึ้น การเลือกขนาดและการปิด-เปิดเครื่องปรับอากาศที่เหมาะสม ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สามารถประหยัดค่าไฟฟ้าลงได้ จากเหตุผลที่กล่าวมาทำให้ต้องมีการศึกษาข้อมูล เขียนโปรแกรม และวิเคราะห์ผลของปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณภาระการทำความเย็น การเลือกขนาดและการควบคุมเครื่องปรับอากาศของอาคาร โปรแกรม TFM เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นจากภาษา C+ โดยมีหน้าที่คำนวณภาระการทำความเย็น โดยวิธี Transfer Function Method คำนวณอัตราการใช้ไฟฟ้าและค่าไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศ เพื่อเลือกขนาดและจำนวนเครื่องปรับอากาศ ที่สามารถทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายที่สุด จากการใช้โปรแกรมและการวิเคราะห์ผลพบว่า การนำข้อมูลค่าการแผ่รังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์ที่วัดได้จริง มาใช้ในการคำนวณนั้น จะทำให้ค่าที่ได้มีค่าต่ำกว่าค่าที่ได้จากการคำนวณทางทฤษฎี เพราะว่าในสภาพความเป็นจริงนั้นท้องฟ้ามิได้โปร่งใสตลอดเวลา ทำให้ค่าที่วัดได้ในบางครั้งมีค่าลดลง การคำนวณภาระการทำความเย็นของอาคารแต่ละอาคารนั้น พบว่า มีลักษณะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับส่วนประกอบของอาคาร การทราบเวลาที่ภาระการทำความเย็นของอาคารมีค่าสูงสุด และการลดค่าภาระการทำความเย็นที่เวลาดังกล่าวได้ จะทำให้เราสามารถลดขนาดเครื่องปรับอากาศลงได้ ในการควบคุมการทำงานและการเปลี่ยนแปลงขนาดของเครื่องปรับอากาศนั้น จะขึ้นอยู่กับลักษณะภาระการทำความเย็นของแต่ละอาคาร ซึ่งจะมีความแตกต่างกัน การคิดค่าใช้จ่ายทั้งหมดของระบบปรับอากาศ จะเป็นการศึกษาเฉพาะ ค่าเครื่องปรับอากาศและค่าไฟฟ้าเท่านั้น ส่วนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าอุปกรณ์ติดตั้ง ค่าบำรุงรักษาและซ่อมแซม จะไม่นำมาคิดเพราะว่าเป็นค่าที่แปรผันได้ ยากต่อการประมาณ ส่วนการคิดค่าไฟฟ้าในต้นทุนนั้นเราจะต้องแปลงค่าไฟฟ้า ให้อยู่ในรูปค่าเงินปัจจุบันเสียก่อน เนื่องจากค่าไฟฟ้าที่เกิดขึ้นนั้นเป็นค่าใช้จ่ายในอนาคต ซึงจะมีค่าเงินน้อยกว่าค่าเงินปัจจุบัน เนื่องจากมีค่าอัตราดอกเบี้ยเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ค่าเครื่องปรับอากาศให้อยู่ในรูปค่าเงินปัจจุบัน ดังนั้นจึงต้องมีการแปลงค่าเงินให้อยู่ในเวลาเดียวกัน เมื่อเราสามารถเลือกขนาดและการควบคุมเครื่องปรับอากาศที่เหมาะสมได้นั้น จะทำให้สามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าอันเป็นทรัพยากรอันมีค่าของชาติลงได้ |
Other Abstract: | Cooling load calculation and suitable size chiller selection can save electrical payment for building. Because the main electrical payment come from air-conditioning system. The accurate hourly cooling load calculation must be required. Because there will show the accurately cooling load characteristic. The transfer function method is suitable. The calculation have been based on both real solar irradiaence and theoretical irradiaence for calculate accurately output. The suitable on-off chiller can save the electrical payment too. For all reasons above, we will learn, programming and discuss for the factor that influence the cooling load calculation, sizing and controlling chiller for building. The TFM program is programming by C+ language. It can calculate cooling load by transfer function method, calculate energy and electrical payment for air-conditioning system for select size and number of chiller that can save payment. From the result of program we can see that the use of measure solar irradience make the output data little than the use of calculates solar irradience. Because sometimes the sky is not clearly. The cooling load calculation for each building make difference cooling load characteristic. It depend on the component of building. If we know the time for maximum cooling load and we can reduce cooling load for that time. We can reduce the size of chiller. For air-conditioning control and sizing, It depend on the cooling load charismatic of each building. For total payment, we calculate only first cost and electrical payment. Because other payment (equipment payment, maintenance ect.) are difficult to estimate. For electrical payment, we must change the payment into the present value. Because the electrical payment in each year is the future value but the the first cost is the present value. We must use the same time value. If we have suitable sizing and controlling chiller. We can save the electrical energy that be important resource of nation. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมเครื่องกล |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7634 |
ISBN: | 9746389106 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Taperit_To_front.pdf | 571.43 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Taperit_To_ch1.pdf | 363.49 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Taperit_To_ch2.pdf | 1.47 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Taperit_To_ch3.pdf | 732.26 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Taperit_To_ch4.pdf | 2.87 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Taperit_To_ch5.pdf | 255.8 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Taperit_To_back.pdf | 1.13 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.