Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76350
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | กำพล สุวรรณพิมลกุล | - |
dc.contributor.advisor | เลลานี ไพฑูรย์พงษ | - |
dc.contributor.author | นันทนา จำปา | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2021-09-21T06:30:46Z | - |
dc.date.available | 2021-09-21T06:30:46Z | - |
dc.date.issued | 2563 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76350 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 | - |
dc.description.abstract | ที่มา นิสิตแพทย์เป็นกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อวัณโรคจากผู้ป่วยในโรงพยาบาลและกลายเป็นวัณโรคชนิดมีอาการที่สามารถแพร่กระจายได้โดยเฉพาะในโรงพยาบาลของประเทศที่มีความชุกของผู้ติดเชื้อวัณโรคสูง วัตถุประสงค์ เพื่อที่จะหาความชุกของนิสิตแพทย์ที่ติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงเปรียบเทียบกันระหว่างนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 4 ที่เพิ่งผ่านการเรียนการสอนในชั้นปรีคลินิกและนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 6 ที่ผ่านการสัมผัสผู้ป่วยในโรงพยาบาลมาแล้วอย่างน้อย 2 ปี โดยการใช้วิธีการตรวจ QuantiFERON-TB Gold Plus (QFT-Plus) และการทดสอบวัณโรคทางผิวหนัง (Tuberculin Skin Test) วิธีการวิจัย เป็นการศึกษาแบบตัดขวางในอาสาสมัครนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 4 และนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 6 ที่กำลังศึกษาอยู่ในคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยนิสิตที่สมัครใจเข้าร่วมการศึกษาจะได้รับการตรวจ QFT-Plus จากการเก็บตัวอย่างเลือด และบางส่วนของนิสิตที่เขาร่วมการศึกษาจะได้รับการทดสอบ TST หลังจากการเจาะเลือด โดยก่อนหน้าเข้าเก็บตัวอย่างนิสิตแพทย์อาสาสมัครจะต้องทำแบบสอบถามเกี่ยวกับความเสี่ยงในการได้รับเชื้อวัณโรค ผลการศึกษา มีนิสิตสนใจเข้าการศึกษาทั้งหมด 158 คน โดยความชุกของผู้ติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงโดยวิธี QFT-Plus รวมทั้งหมดมี 10 คน คิดเป็นร้อยละ 6.3 โดยแบ่งเป็นความชุกในนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 6 คิดเป็นร้อยละ 9.4 และความชุกของนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 4 ร้อยละ 2.7 โดยไม่พบความสัมพันธ์กับเสี่ยงของการติดเชื้อวัณโรคกับปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติเมื่อทำการวิเคราะห์แบบพหุตัวแปร โดยในการศึกษานี้นิสิตส่วนมาก ร้อยละ 88 ให้ประวัติว่าเคยได้รับวัคซีน BCG ตั้งแต่เด็ก นอกจากนั้นในรายที่ให้ผลบวกจากการทดสอบ QFT-Plus และ TST ไมีมีนิสิตที่มีผลภาพรังสีปอดที่ผิดปกติ โดยจากนิสิตที่เข้าการศึกษาทั้งหมด 158 ราายมีนิสิตจำนวน 41 ราย คิดเป็นร้อยละ 25.9 สมัครใจรับการทดสอบ TST โดยพบว่าหากใช้จุดตัดของ TST ตามมาตรฐานที่ตั้งแต่ 10 มิลลิเมตรขึ้นไป พบว่ามี 6 รายให้ผลบวกสอดคล้องกับ QFT-Plus และมี 4 รายที่ TST ให้ผลลบ ไม่สอดคล้องกับ QFT-Plus เมื่อคิดค่าความสอดคล้องกันระหว่างการทดสอบทั้ง 2 พบว่ามีความสอดคล้องกันในระดับปานกลาง สรุป การตรวจคัดกรองผู้ป่วยที่ติดเชื้อวัณโรคในบุคลากรใหม่ที่เข้ามาทำงานในโรงพยาบาลโดยเฉพาะนิสิตแพทย์มีความสำคัญในการช่วยลดการแพร่กระจายอุบัติการของการเกิดวัณโรคติดต่อภายในโรงพยาบาล ในการศึกษานี้พบว่าในนิสิตแพทย์ปี 6 มีค่าความชุกของผู้ป่วยวัณโรคแฝง สูงกว่านิสิตแพทย์ชั้นปี 4 ดังนั้นประชากรกลุ่มนิสิตนี้จึงมีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับบเชื้อวัณโรคจากการฝึกปฏิบัติงานในโรงพยาบาล แม้ว่าจากการศึกษานี้มีจำนวนผนิสิตที่เข้าร่วมปริมาณไม่มากจนสามารถแสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงของชั้นปี ที่มีผลต่อการติดเชื้อวัณโรค แต่การที่นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 6 มีค่าความชุกที่สูงกว่าชั้นปีที่ 4 เป็นสัญญานที่บอกถึงการให้ความสำคัญของระบบควบคุมการติดเชื้อภายในโรงพยาบาลและ การให้ความรู้ในการป้องกันการติดเชื้อทางอากาศแก่บุคลากรแพทย์ใหม่ในโรงพยาบาลของประเทศที่มีความชุกของวัณโรคในประชากรทั่วไปที่สูง อย่างไรก็ตามหลังจากการคัดกรองหาผู้ติดเชื้อวัณโรคแฝงแล้วการติดตามระยะยาวในนิสิตคนเดียวกันเมื่อเวลาผ่านไปจะช่วยให้สามารถบอกอุบัติการณ์ของการติดเชื้อวัณโรคใหม่ในโรงพยาบาลได้ | - |
dc.description.abstractalternative | Background: Medical students are considered to be a high-risk of acquiring tuberculosis (TB) infection than the general population. Most students who become infected do not experience clinical illness and become latent tuberculosis infection (LTBI). Some students with LTBI can progress to TB disease during clinical rotation in hospital. Objective: We aimed to determine prevalence of LTBI among first year clinical medical students and final year clinical medical students by using QuantiFERON-TB Gold Plus (QFT-Plus) and additional Tuberculin Skin Test (TST). Methods: A cross-sectional study of fourth year medical students (n=73) and sixth year medical student (n=85) was conducted in King Chulalongkorn University. The medical students (n=158) who meet the eligibility criteria were recruited for identify LTBI using QFT-Plus and some of them undergone tuberculin skin test (TST). TST was interpreted after 48-72 hours. Medical students who positive QFT-Plus were considered as LTBI. All participants were administered a questionnaire on demographics and occupational tuberculosis exposure. Multivariate logistic regression tested for associations between independent variable and results of QFT-Plus. Results: A total of 158 participants were included in this study. The overall prevalence of LTBI was 6.3% (n=10) by using QFT-Plus. The LTBI prevalence of final year medical students was higher in final-year medical students 9.4% compared with fourth year medical student 2.7%. Higher risk of LTBI during clinical year was associated with medical students in final-year (odds ratio, 3.69 [95%CI, 0.75-17.96]) but non-significant associations. The majority 139 (88%) of the students were BCG vaccinated following national vaccination requirements. No abnormal chest X-rays were found for any positive subjects. Of 158 subjects, 41 (25.9%) of them undergone TST. Of the 41 subjects, 6 (14.6%) tested positive at cut-of ≥10 mm for the TST which concordant with QFT-Plus results. The agreement between two tests was 0.57 using kappa coefficients. Conclusion: The screening of tuberculosis infection in newly health-care worker especially medical students is essential to reduce future nosocomial TB incident in hospital. This study shown higher prevalent of LTBI in sixth year medical students than the first year. Therefore, this population is at high risk for acquiring tuberculosis from their patients. Despite small number of participants, the higher prevalence of LTBI among final year medical students is alarming sign of infection control and educational program in tertiary care hospital for new students in TB endemic countries. However, after LTBI screening, long-term follow-up of the same students is warranted to determine the incident of newly TB infection during clinical practice. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://www.doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1310 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject.classification | Medicine | - |
dc.subject.classification | Medicine | - |
dc.title | การศึกษาตามขวางเปรียบเทียบความชุกของผู้ติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง ในนิสิตแพทย์ชั้นปรีคลินิก และนิสิตแพทย์ชั้นคลินิกโดยวิธี ควอนติเฟอรอนทีบีโกลพลัส และการทดสอบวัณโรคทางผิวหนัง | - |
dc.title.alternative | Comparison of latent tuberculosis infection between pre-clinical and clinical medical students by using the QuantiFERON-TB gold plus and the tuberculin skin test at a teaching hospital in Thailand: a cross-sectional study | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | อายุรศาสตร์ | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2020.1310 | - |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6270044930.pdf | 1.5 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.