Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76378
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorบุรณี กาญจนถวัลย์-
dc.contributor.authorวราภรณ์ เลิศวิลัย-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-09-21T06:31:01Z-
dc.date.available2021-09-21T06:31:01Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76378-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563-
dc.description.abstractวิธีการศึกษา : การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยดำเนินการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักเทคนิคการแพทย์ที่ทำงานในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 195 ราย โดยผู้เข้าร่วมการศึกษาตอบแบบสอบถามทั้งหมดด้วยตนเอง ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและลักษณะการทำงาน 2) แบบสอบถามด้านการปฏิบัติงานที่มีผลต่อความเครียดในงานของนักเทคนิคการแพทย์ จากแบบสอบถาม Occupational stress indicator ของคูเปอร์และคณะ 3) แบบสอบถามภาวะหมดไฟ (Burn out) Thai version of Maslach ทำการวิเคราะห์ปัจจัยระหว่างภาวะหมดไฟและปัจจัยที่เกี่ยวข้องโดยใช้สถิติทดสอบไคสแควร์ และอาศัยการวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติกเพื่อระบุปัจจัยทำนายของภาวะหมดไฟในการทำงานของนักเทคนิคการแพทย์ ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่น้อยกว่า 0.05 ผลการศึกษา : จากนักเทคนิคการแพทย์ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร 195 คน พบผู้ที่มีภาวะหมดไฟ 41 คน (ร้อยละ 21) เมื่อนำไปหาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับภาวะหมดไฟในการทำงานพบปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือรายได้เฉลี่ยต่อเดือนผู้ที่มีรายได้มากมีโอกาสในการเกิดภาวะหมดไฟน้อยกว่าผู้ที่มีรายได้น้อย ตำแหน่งทางราชการที่มีความมั่นคงของสวัสดิการมีโอกาสในการเกิดภาวะหมดไฟน้อยกว่า และจำนวนชั่วโมงในการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการที่มากมีโอกาสในการเกิดภาวะหมดไฟในการทำงานมากกว่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ปัจจัยในการทำงานที่มีผลต่อความเครียดในการปฏิบัติงาน ด้านภาระงานมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับภาวะหมดไฟในการทำงาน แม้ว่ามีปัจจัยด้านภาระงานที่ดีแต่ก็มีโอกาสในการเกิดภาวะหมดไฟในการทำงานได้สูง ด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคลและการบริหารงานในหน่วยงานมีความสัมพันธ์เชิงลบกับภาวะหมดไฟในการทำงาน มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) สรุปผลการศึกษา : นักเทคนิคการแพทย์ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร มีภาวะหมดไฟในการทำงานร้อยละ 21 ปัจจัยส่วนบุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องคือรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ตำแหน่งทางราชการ และจำนวนชั่วโมงในการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ และปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดในการปฏิบัติงานที่สำคัญที่เกี่ยวข้องคือด้านภาระงาน ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และด้านการบริหารงานในหน่วยงาน-
dc.description.abstractalternativeObjective: To explore the Burnout and associated factors of Medical Technologist in Bangkok. Methods: A cross-sectional descriptive study was performed is 195 Medical technologist in Bangkok. The questionnaires were composed of: 1) Personal information; 2) Occupational stress indicator questionnaire; 3) Maslach Burnout Inventory (MBI) questionnaire in Thai version was interpreted by Suwanwathin P. The association between Demographic data occupational stress factors and burnout syndrome who were analyzed by chi-square test. The logistic regression was used to identify the predictors of Medical technologist’burnout Results: There were 195 medical technologists in Bangkok participated in this study. Among them, 21% were diagnosed as burnout syndrome. By using Chi-square, the results showed that average income, government position, and overtime office hour were significantly associated with burnout syndrome (p<0.05). Workload, interpersonal, and company administration had an impact on occupational stress. These three factors, therefore, were significantly associated with burnout syndrome as well (p<0.05). Conclusion: Medical technologists were diagnosed as burnout syndrome; 21%. the characteristics factors; average income and overtime office hour also, the factors indicated occupational stress; job responsibilities and interpersonal relationship were significantly associated with burnout syndrome-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://www.doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1257-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationMedicine-
dc.titleภาวะหมดไฟในการทำงานและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของนักเทคนิคการแพทย์ ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร-
dc.title.alternativeJob burnout and related factors among medical techonogist, Bangkok-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineสุขภาพจิต-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2020.1257-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6270256630.pdf2.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.