Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76409
Title: การป้องกันการตกเป็นเหยื่อคุกคามทางเพศของเด็กในโลกออนไลน์
Other Titles: The prevention of online child sexual crime victimization
Authors: พรรษาวดี คล้อยระยับ
Advisors: อุนิษา เลิศโตมรสกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาการป้องกันการตกเป็นเหยื่อคุกคามทางเพศของเด็กในโลกออนไลน์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการตกเป็นเหยื่อคุกคามทางเพศของเด็กในโลกออนไลน์  2) ปัญหาและอุปสรรคในการป้องกันการตกเป็นเหยื่อทางเพศของเด็กในโลกออนไลน์ และ 3) เสนอแนะแนวทางการป้องกันการตกเป็นเหยื่อทางเพศของเด็กในโลกออนไลน์ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview)  กับกลุ่มตัวอย่างที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อมูลเชิงลึกในการศึกษาวิจัยครั้งนี้คือองค์กรภาครัฐ องค์กรภาคเอกชน อัยการ จำนวน 10 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาการตกเป็นเหยื่อคุกคามทางเพศในสื่อสังคมออนไลน์ปัจจุบันมีจำนวนมากขึ้น สาเหตุการคุกคามทางเพศในโลกออนไลน์ เกิดจากหลายสาเหตุทั้งจากตัวของเด็กที่เข้าถึงโซเชียลมีเดียได้ง่าย  ครอบครัวของเด็กมีปัญหาในครอบครัวทำให้ต้องพึ่งพาสังคมออนไลน์ สภาพแวดล้อมที่เด็กอยู่ รวมไปถึงเพื่อนของเด็ก และตัวผู้กระทำความผิดมักจะเป็นผู้มีความชำนาญ รูปแบบการคุกคามทางเพศในโลกออนไลน์ มีดังนี้คือ การกลั่นแกล้งทางเพศ การข่มขู่ทางเพศ การลวนลามทางเทศ และ การอนาจารทางเพศ  2) ผลการศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการป้องกันการตกเป็นเหยื่อทางเพศของเด็กในโลกออนไลน์ พบว่า กฎหมาย บทลงโทษตลอดจนนโยบายของรัฐ เกี่ยวกับการป้องกันการถูกคุกคามทางเพศในโลกออนไลน์ มีความสอดคล้องเหมาะสม แต่การนำผู้ต้องหามาลงโทษมีความยากลำบาก เนื่องจากในโลกออนไลน์ไม่สามารถเก็บพยานหลักฐานได้ครบ  ขาดการประสานงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาครัฐกับภาคเอกชน และการได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชนยังไม่เพียงพอทั้งด้านงบประมาณ ด้านข้อมูล และบุคลากรยังไม่เพียงพอ    3) แนวทางการป้องกันการตกเป็นเหยื่อทางเพศของเด็กในโลกออนไลน์ ดังนี้ คือรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรมีการดำเนินการเชิงรุก โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจแก่เด็กและเยาวชน ประชาชน ในการป้องกันการตกเป็นเหยื่อคุกคามทางเพศในโลกออนไลน์ องค์กรเอกชน หรือภาคเอกชน ร่วมเสริมสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการป้องกันการตกเป็นเหยื่อคุกคามทางเพศของเด็กในโลกออนไลน์ เพื่อลดความเสี่ยง ควรให้การสนับสนุนทรัพยากรต่าง ๆ ทั้งทางด้านงบประมาณ บุคลากร และข้อมูล เนื่องจากภาครัฐมีทรัพยากรดังกล่าวไม่เพียงพอและ ผู้ปกครองสร้างความรู้ความเข้าใจ เอาใจใส่ดูแลบุตรหลาน ทุกหน่วยงานต้องมีส่วนร่วมป้องกัน แก้ไขปัญหากันอย่างจริงจัง เจ้าหน้าที่รัฐไม่เผยแพร่ข้อมูลเหยื่อสู่สาธารณะ
Other Abstract: This research aims to 1) study the problem of online child sexual victimization. 2) Study the problems and barriers to preventing child sexual victimization online. 3)  Suggest guidelines for the prevention of sexual victimization online. By employing qualitative method utilizing in-depth interview of 10 samples from government organizations, private organizations and multidisciplinary teams, the results show that the current problem of child sexual victimization on social media is increasing. This is caused by various reasons, including the child's easy access to social media, family problem, , the environment in which the child live in, peer influences  and the experienced perpetrators are also the the factors of children’s being victimized on line. For obstacles to preventing child sexual victimization online, the study found that even though sanction laws and government policies on the prevention of online sexual victimization are consistent and updating but taking the accused into justice for punishment is difficult. Due to the fact that collecting all necessary evidence from the cyber space is hard to achieve.  In addition, lack of coordination between government agencies, the public sector and the private sector make the problem even worse. Therefore, based on the results of this study, the author proposes the guidelines for preventing child sexual victimization online as following: 1) government and related agencies should act more proactively 2) using social media as a channel to educate children, 3) the relevant government officials pay more attention to the case and the victim by not giving their information to the public
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76409
URI: http://www.doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1301
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2020.1301
Type: Thesis
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6180979324.pdf2.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.