Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7642
Title: การใช้ยูเอเอสบีบำบัดน้ำทิ้งจากบ่อกรดแบบไร้ออกซิเจน
Other Titles: Application of UASB for treatment of effluent from an anaerobic acid pond
Authors: ทวีชัย ธีระเศรษฐนันท์
Advisors: มั่นสิน ตัณฑุลเวศม์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: น้ำเสีย -- การบำบัด -- ระบบยูเอเอสบี
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสมรรถนะของระบบยูเอเอสบีในการบำบัดน้ำทิ้งจากบ่อกรดแบบไร้ออกซิเจน โดยการวิจัยแบ่งเป็น 2 ส่วน การทดลองส่วนที่ 1 (ไม่มีถังกรด) ใช้แต่ถังยูเอเอสบี 2 ถังที่เหมือนกัน ทดลองบำบัดน้ำเสียที่เตรียมจากน้ำทิ้งจากบ่อกรดแบบไร้ออกซิเจนผสมกับน้ำสับปะรดเข้มข้น โดยเตรียมน้ำเสียให้มีความเข้มข้นของซีโอดีประมาณ 5000 มก./ล. และทำการทดลองที่อัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์ 8 และ 10 กก. ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน การทดลองส่วนที่ 2 (มีถังกรด) ใช้ระบบยูเอเอสบีแบบมีถังกรดทดลองบำบัดน้ำเสียสังเคราะห์ที่เตรียมจากน้ำสับปะรดเข้มข้นเจือจางด้วยน้ำประปา โดยเตรียมน้ำเสียให้มีความเข้มข้นซีโอดีประมาณ 3300, 5000, 6700 และ 8300 มก./ล. และทำการทดลองที่อัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์ 10, 15, 20 และ 25 กก.ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน ใช้โซเดียมคาร์บอเนตเป็นสารบัฟเฟอร์ในทุกๆ การทดลอง ผลการทดลองส่วนที่ 1 เมื่อใช้ถังยูเอเอสบีชุดที่ 1 และ 2 ทดลองบำบัดน้ำเสียที่อัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์ 8 กก.ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน และมีเวลากักน้ำ 15 ชั่วโมง พบว่าประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีเท่ากับ 93 และ 92% และอัตราการผลิตก๊าซมีเทนเท่ากับ 0.37 และ 0.32 ลิตร/กรัมซีโอดีที่ถูกกำจัด ตามลำดับ เมื่อใช้ถังยูเอเอสบีชุดที่ 1 ทดลองบำบัดน้ำเสียที่อัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์ 10 กก. ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน และมีเวลากักน้ำ 12 ชั่วโมง พบว่าประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีเท่ากับ 94% และอัตราการผลิตก๊าซมีเทนเท่ากับ 0.37 ลิตร/กรัมซีโอดีที่ถูกกำจัด ส่วนถังยูเอเอสบีชุดที่ 2 ได้เสียสมดุลย์การทำงานก่อนถึงสภาวะคงที่ ส่วนผลการทดลองส่วนที่ 2 ซึ่งใช้ระบบยูเอเอสบีแบบมีถังกรดทดลองบำบัดน้ำเสียที่อัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์ 10, 15, 20 และ 25 กก.ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน และมีเวลากักน้ำของถังกรดและถังยูเอเอสบีนาน 12 และ 8 ชั่วโมงตามลำดับ พบว่าประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดี เท่ากับ 93, 91, 90 และ 85% และอัตราการผลิตก๊าซมีเทน เท่ากับ 0.31, 0.37, 0.33 และ 0.35 ลิตร/กรัมซีโอดีที่ถูกกำจัด ตามลำดับ เมื่อพิจารณาความเข้มข้นของโซดาแอชที่เติมให้แก่ระบบในการทดลองส่วนที่ 1 พบว่า มีค่าเท่ากับ 1.50 และ 3.0 ก./ล. ที่อัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์ 8 และ 10 กก.ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน ส่วนการทดลองส่วนที่ 2 มีการใช้โซเดียมคาร์บอเนตเข้มข้นเท่ากับ 1.98, 3.00, 4.02 และ 4.98 ก./ล. ที่อัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์ 10, 15, 20 และ 25 กก.ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน ตามลำดับ จากผลการทดลองสามารถสรุปได้ว่า ระบบยูเอเอสบีสามารถบำบัดน้ำทิ้งจากบ่อกรดแบบไร้ออกซิเจนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และปริมาณด่างที่เติมให้ระบบน่าจะมีค่าสูงเกินไป ทำให้ค่าบำบัดน้ำเสียมีค่าสูงมาก
Other Abstract: This purpose of this study was to investigate the efficiency of UASB in treating and effluent from an anaerobic acid pond. This research consisted of 2 parts. The first part (without acid tank), two identical UASB reactors were operated without acid tank at the organic loading rates of 8 and 10 kg. COD/cu.m.-day. The wastewater was made from the effluent from an anaerobic acid pond mixed with a concentrated prineapple juice to obtain the COD concentration of 5000 mg./l. The second part (with acid tank), two UASB reactors were operated with acid tanks at the organic loading rates of 10, 15, 20 and 25 kg.COD/cu.m.-day. The synthetic wastewater was made from the concentrated pineapple juice diluted in tap water to obtain the COD concentration of 3300, 5000, 6700 and 8300 mg./l. In all experiments, Sodium carbonate were used as a buffering chemical. In the first part, the UASB reactor #1 and #2 were operated at the organic loading rate of 8 kg.COD/cu.m.-day. The retention time of reactors were 15 hours. The COD removal efficiencies were 93 and 92%. The methane yield were 0.37 and 0.32 l./g.COD removed, respectively. At the organic loading rate of 10 kg.COD/cu.m.-day, the retention time of reactors were 12 hour. The COD removal efficiency of UASB was 91% and the methane yield was 0.37 l/g.COD removed. The second part, UASB reactors were operated with acid tank. The retention time of acid tank and UASB reactors were 12 and 8 hours, respectively. At the organic loading rates of 10, 15, 20 and 25 kg.COD/cu.m.-day, the COD removal efficiencies were 93, 91, 90 and 85%. The methane yield were 0.31, 0.37, 0.33 and 0.35 l./g.COD removed, respectively. During the first part of the experiments, the concentration of Sodium carbonate added in the influent were 1.5 and 3.0 g./l. at the organic loading rates of 8 and 10 kg.COD/cu.m.-day, respectively. While during the second part experiments, the concentration of Sodium carbonate at added were 1.98, 3.00, 4.02 and 4.98 g./l. at the organic loading rates 10, 15, 20 and 25 kg.COD/cu.m.-day, respectively. In conclusion, the UASB was able to treat the effluent from an anaerobic acid pond. The excess of soda-ash as the buffer agent can be reduced.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7642
ISBN: 9746390082
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thaweechai_Te_front.pdf804.54 kBAdobe PDFView/Open
Thaweechai_Te_ch1.pdf278.83 kBAdobe PDFView/Open
Thaweechai_Te_ch2.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open
Thaweechai_Te_ch3.pdf484.94 kBAdobe PDFView/Open
Thaweechai_Te_ch4.pdf5.31 MBAdobe PDFView/Open
Thaweechai_Te_ch5.pdf207.04 kBAdobe PDFView/Open
Thaweechai_Te_back.pdf1.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.