Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76503
Title: นวัตกรรมระบบการบริการทางจิตวิทยา เพื่อส่งเสริมสุขภาวะนิสิตนักศึกษาไทย
Other Titles: Innovative psychological service system to promote wellness of university students in Thailand
Authors: ปนัดดา เจริญศักดิ์
Advisors: อรัญญา ตุ้ยคำภีร์
เนาวนิตย์ สงคราม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: สุขภาวะ -- แง่จิตวิทยา
สุขภาวะ -- โปรแกรมคอมพิวเตอร์
Well-being -- Psychological aspects
Well-being -- Computer programs
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ออกแบบและพัฒนาต้นแบบระบบให้บริการทางจิตวิทยา เพื่อการส่งเสริมสุขภาวะสำหรับนิสิตนักศึกษาไทย ทดสอบการยอมรับเทคโนโลยีและผลจากการใช้งานนวัตกรรมนวัตกรรมระบบการบริการทางจิตวิทยา เพื่อส่งเสริมสุขภาวะนิสิตนักศึกษาไทยที่ได้พัฒนาขึ้น และวางแผนความเป็นไปได้เชิงพาณิชย์ของนวัตกรรมระบบการบริการทางจิตวิทยาเพื่อส่งเสริมสุขภาวะนิสิตนักศึกษาไทย โดยวิธีการวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยมีกระบวนการมุ่งเน้นเพื่อส่งเสริมสุขภาวะของนิสิตนักศึกษาในระดับปริญญาตรี โดยนำแนวคิดการส่งเสริมสุขภาวะตัวตนที่เป็นองค์รวม (The Indivisible Self Model) ของ Myers และ Sweeney (2005) มาพัฒนาระบบร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านการปรึกษา ทั้งนี้ขั้นตอนการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะประกอบด้วย (1) ออกแบบและพัฒนาต้นแบบระบบให้บริการทางจิตวิทยา เพื่อการส่งเสริมสุขภาวะสำหรับนิสิตนักศึกษาไทย  (2) ทดสอบการยอมรับเทคโนโลยีและผลจากการใช้งานนวัตกรรมระบบการบริการทางจิตวิทยา เพื่อส่งเสริมสุขภาวะนิสิตนักศึกษาไทยที่ได้พัฒนาขึ้น และ (3) วางแผน และศึกษาความเป็นไปได้เชิงพาณิชย์ของนวัตกรรมระบบการบริการทางจิตวิทยา เพื่อส่งเสริมสุขภาวะนิสิตนักศึกษาไทย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 80 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 40 คน มีระยะเวลาในการดำเนินการทดลอง 4 สัปดาห์ ผลการวิจัยพบว่า ระบบให้บริการทางจิตวิทยา เพื่อการส่งเสริมสุขภาวะสำหรับนิสิตนักศึกษาไทย มีองค์ประกอบคือ (1) ขั้นตอนการใช้งานระบบซึ่งเป็นไปตามขั้นตอนการปรึกษาทางจิตวิทยา (2) เครื่องมือของระบบ (3) คุณลักษณะของเว็บแอปพลิเคชั่นเพื่อการส่งเสริมสุขภาวะสำหรับนิสิตนักศึกษาไทย ตามโมเดลสุขภาวะที่มาจากการพัฒนาตัวตนที่เป็นองค์รวม โดยใช้ชื่อว่า “Well-Come” ผลการทดลองใช้เว็บแอปพลิเคชั่นฯ พบว่าค่าเฉลี่ยสุขภาวะองค์รวมของกลุ่มทดลองมีค่าสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลนี้แสดงให้เห็นว่าระบบให้บริการทางจิตวิทยา เพื่อการส่งเสริมสุขภาวะสำหรับนิสิตนักศึกษาไทยที่ได้พัฒนาขึ้น มีอิทธิพลต่อการส่งเสริมสุขภาวะของผู้ใช้ระบบ ทั้งนี้การทดสอบการยอมรับนวัตกรรมพบว่า มีความสำเร็จของระบบสารสนเทศ (Information System Quality: IS Success) อยู่ในระดับมาก และการยอมรับเทคโนโลยี (Technology Acceptance Model: TAM) อยู่ในระดับมาก  นวัตกรรมนี้เป็นธุรกิจบริการที่ส่งเสริมสุขภาวะนิสิตนักศึกษาไทย ซึ่งได้วางรูปแบบการหารายได้ จากค่าบริการการใช้แพลทฟอร์ม และจัดทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาวะ โดยรายได้เกิดจากการนำเสนอนวักตรรมแก่สถาบันการศึกษาเพื่อบริการแก่นิสิตนักศึกษา ธุรกิจได้รับผลตอบแทนภายใน (IRR) ร้อยละ 19 ระยะเวลาคืนทุน ภายใน 5 ปี 3 เดือน และ มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) 335,114.40 บาท 
Other Abstract: This research aims to design and develop a prototype of a psychological service system to promote wellness for Thai students while testing their acceptance of technology, and analyzing the results derived from the use of innovative psychological service. The objective, thus, is to promote the development of the wellness of Thai students whilst planning the commercial feasibility of innovative psychological service systems. The research methodology was divided into three phases: (1) design and develop a prototype of a psychological service system to promote wellness for Thai students; (2) testing students’ acceptance of technology; and (3) planning on the commercial feasibility of innovative psychological service systems. In addition to data authenticity, the sample collected consisted of 80 undergraduate students, equally divided into experimental group and control group with 40 students each which will be experimented with within 4 weeks. The results illustrated that the psychological service system consisted of three main components includes (1) the process of using the system under the psychological counselling process; (2) system tools; and (3) the features of the web application to promote emotional wellness for Thai students. As a result, “Well-Come” was introduced as the name of the system derives from the holistic self-development manner of the system. Additionally, the results on the uses of web application discovered that the mean of holistic wellness of the experimental group was significantly higher than that of the control group at 0.05 level. The result, hence, indicated that the development of a psychological service system to promote wellness has influential effects on the wellness of users.Nevertheless, the innovation acceptance test discovered that the Information System Quality: IS Success and the Technology Acceptance Model: TAM are both at a high level. The innovation is a service-based business that promotes Thai undergraduate students’ wellness. Earnings will be received from service fees for using the platform while organizing activities to promote students’ wellness. The business model, thus, was presented to educational institutions to promote the service. As a result, the business has received an internal return (IRR) of 19%, a payback period within 5 years and 3 months, and a net present value (NPV) of 335,114.40 baht.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76503
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.743
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2020.743
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5787788320.pdf4.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.