Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76770
Title: การศึกษาพฤติกรรมเอื้อสังคมโดยใช้เกมบิงโกตามทฤษฎีสุขภาวะร่วมกับการสอนดนตรีแบบเดี่ยว 
Other Titles: A study of prosocial behaviors using wellbeing bingo game with private music instruction
Authors: วรจสมน ปานทองเสม
Advisors: ดนีญา อุทัยสุข
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบพัฒนาการพฤติกรรมเอื้อสังคมของนักเรียนก่อน และหลังการใช้เกมบิงโกตามทฤษฎีสุขภาวะร่วมกับการสอนดนตรีแบบเดี่ยว 2) ศึกษากระบวนการเกิดพฤติกรรมเอื้อสังคมของนักเรียนในการใช้เกมบิงโกตามทฤษฎีสุขภาวะร่วมกับการสอนดนตรีแบบเดี่ยว 3) ศึกษาลักษณะพฤติกรรมเอื้อสังคมของนักเรียนในการใช้เกมบิงโกตามทฤษฎีสุขภาวะร่วมกับการสอนดนตรีแบบเดี่ยว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เกมบิงโกตามทฤษฎีสุขภาวะ 2) แบบบันทึกคะแนนพฤติกรรมเอื้อสังคม และ 3) แบบบันทึกการแสดงพฤติกรรมเอื้อสังคม ผู้เข้าร่วมการวิจัยนี้ได้แก่ นักเรียนที่เรียนวิชาปฏิบัติทักษะดนตรีกับผู้วิจัยเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี จำนวน 3 คน การดำเนินงานวิจัยประกอบด้วยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพฤติกรรมเอื้อสังคมในห้องเรียนดนตรีโดยใช้ทฤษฎีสุขภาวะ เพื่อนำมาพัฒนาเป็นเกมบิงโกตามทฤษฎีสุขภาวะใช้ร่วมกับบทเรียนดนตรีแบบเดี่ยว จากนั้นนำเกมบิงโกตามทฤษฎีสุขภาวะไปใช้กับผู้เข้าร่วมการวิจัย โดยมีการสังเกตพฤติกรรมเอื้อสังคมของนักเรียนที่เกิดขึ้น แบ่งออกเป็น 1) การแสดงพฤติกรรมเอื้อสังคมของนักเรียนก่อนการใช้เกมบิงโกตามทฤษฎีสุขภาวะ 2) การแสดงพฤติกรรมเอื้อสังคมของนักเรียนระหว่างการใช้เกมบิงโกตามทฤษฎีสุขภาวะ และ 3) การแสดงพฤติกรรมเอื้อสังคมของนักเรียนหลังการใช้เกมบิงโกตามทฤษฎีสุขภาวะ จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยใช้สถิติบรรยาย เปรียบเทียบคะแนนพฤติกรรมเอื้อสังคมตามทฤษฎีสุขภาวะของนักเรียนก่อนและหลังการใช้เกมบิงโกตามทฤษฎีสุขภาวะโดยใช้กราฟ ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญทุกคนมีคะแนนการแสดงพฤติกรรมเอื้อสังคมที่สูงขึ้นหลังการใช้เกมบิงโกตามทฤษฎีสุขภาวะ จึงสามารถสรุปได้ว่า เกมบิงโกตามทฤษฎีสุขภาวะช่วยส่งเสริมให้นักเรียนเกิดพฤติกรรมเอื้อสังคมได้ 2) เกมบิงตามทฤษฎีสุขภาวะช่วยให้นักเรียนมีพัฒนาการการเรียนรู้ด้านจิตพิสัยอย่างเป็นลำดับขั้น ซึ่งนำไปสู่การแสดงพฤติกรรมเอื้อสังคมตามทฤษฎีสุขภาวะของนักเรียน 3) แม้ไม่มีบิงโกตามทฤษฎีสุขภาวะเป็นสิ่งเสริมแรงให้แสดงพฤติกรรมแล้ว แต่พฤติกรรมเอื้อสังคมของนักเรียนยังคงอยู่ นักเรียนสามารถนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ และประสบการณ์ที่ได้รับมาพัฒนาต่อยอดทางความคิด และประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับศักยภาพในการเรียนดนตรีของตนเองได้ รวมทั้งตระหนักถึงความหมายและคุณค่าของการเรียนดนตรี เมื่อนักเรียนเรียนรู้อย่างมีความสุขและเข้าใจคุณค่าของสิ่งที่เรียน ส่งผลให้นักเรียนสามารถเชื่อมโยง และนำความรู้ที่ได้รับจากการเรียนวิชาดนตรีไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
Other Abstract: The objectives of this research were to : 1) compare the development of prosocial behaviors of students before and after using well being bingo game with private music instruction; 2) study the process of prosocial behavior of students using the well being bingo game with private music instruction; 3) study prosocial behavioral characteristics of students using the well being bingo game with private music instruction. The tools used in this research consisted of 1) well being bingo game, 2) prosocial behavior score record form, and 3) prosocial behavior record form. Participants in this research were: three students who studied music with the researcher for a period of not less than one year. The research consisted of study of documents and research related to the prosocial behavior in the private music instruction using well being theory. Observations of prosocial behavior of the students were divided into 1) the prosocial behavior of the students before using the well being bingo game; 2) the prosocial behavior of the students during the use of the well being bingo game and 3) the prosocial behavior of students after using well being bingo game. The data were analyzed using descriptive statistics comparing the scores of prosocial behavior of students before and after using the well being bingo game using graphs. The research results are as follows : 1) All key informants had higher prosocial behavior after playing the game. therefore it can be concluded that well being bingo game encourage students to develop prosocial behavior; 2) well being bingo game help students to develop a gradual development of cognitive learning. which led to the behavior of contributing to society according to the theory of student health; 3) Although well being bingo game was omitted prosocial behaviors of the students still remained. Students can crystalize and develop their future ideas from what they have learned and experienced in order to apply the most suitable ways for their own musical learning potentials as well as realizing the meaning and value of learning music. When students learn happily and understand the value of music learning, they will be able to connect and apply the knowledge from music learning into their daily lives naturally.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ดนตรีศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76770
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.690
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2020.690
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6280132327.pdf5.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.