Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76959
Title: ผลของฤดูกาลต่อการเติบโตและประสิทธิภาพของการดูดซึมกลับของไนโตรเจนและฟอสฟอรัสของแสมขาว Avicennia alba Blume ในป่าชายเลน ปากแม่น้ำตราด
Other Titles: Seasonal effects on growth and efficiency of nitrogen and phosphorus resorption of avicennia alba blume in mangrove forest, estuary of Trat river
Authors: ปิยะพล แก่นคง
Advisors: ศศิธร พ่วงปาน
ฉัตรทิพย์ รอดทัศนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ป่าชายเลนมีบทบาทสำคัญในการเป็นแหล่งสะสมคาร์บอนเนื่องจากเป็นระบบนิเวศที่มีผลผลิตขั้นปฐมภูมิสุทธิ (net primary production; NPP) สูง แม้ว่าต้นไม้ในป่าชายเลนจะเจริญอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดินมีความเค็มสูง อีกทั้งยังมีปริมาณออกซิเจนในดินค่อนข้างจำกัด เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการขึ้นลงของน้ำทะเล ระดับน้ำทะเลทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ส่งผลทำให้ความเค็มและปริมาณสารอาหารในป่าชายเลนเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการเติบโตของต้นไม้ป่าชายเลน การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเติบโตด้านการขยายพื้นที่หน้าตัดลำต้น และการผลิและร่วงของใบ รวมถึงศึกษาการดูดซึมกลับของสารอาหารในใบของแสมขาว (Avicennia alba) ในช่วงฤดูฝนและฤดูแล้ง ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562 ถึงมิถุนายน พ.ศ. 2563 โดยมีพื้นที่ศึกษาอยู่ในป่าชายเลนรุ่นสองบริเวณปากแม่น้ำตราด ผลการศึกษาพบว่าการขยายพื้นที่หน้าตัดลำต้นและการผลิใบมีความผันแปรตามฤดูกาล โดยพบว่ามีอัตราที่สูงขึ้นในช่วงฤดูฝนจากนั้นจึงลดลงในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากปริมาณน้ำฝนที่มากในช่วงฤดูฝนส่งผลให้ความเค็มของน้ำลดลง อีกทั้งไนโตรเจนในน้ำยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จึงทำให้ A. alba ได้รับน้ำจืดและไนโตรเจนผ่านการดูดซึมของรากสำหรับการเติบโตมากขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าประสิทธิภาพการดูดซึมกลับของฟอสฟอรัส (phosphorus resorption efficiency; PRE) ในใบมีค่าสูงในช่วงฤดูฝน จึงทำให้มีสารอาหารสำหรับการเติบโตเพิ่มมากขึ้น และส่งผลให้มีการเติบโตทั้งในด้านการขยายพื้นที่หน้าตัดลำต้นและการผลิใบที่มากขึ้นในช่วงฤดูฝน แสดงให้เห็นว่า A. alba มีกลยุทธ์ในการปรับตัวเพื่อให้เติบโตอยู่ได้ภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีความผันแปรของความเค็มและสารอาหารตามฤดูกาล โดยมีอัตราการเติบโตสูงในช่วงที่ความเค็มลดลง อีกทั้งยังเพิ่มการหมุนเวียนสารอาหารจากใบกลับมาใช้ใหม่มากขึ้นเพื่อตอบสนองต่อการเติบโตที่สูงในช่วงฤดูฝน ซึ่งกลยุทธ์การเติบโตนี้เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ระบบนิเวศป่าชายเลนยังคงทำหน้าที่เป็นแหล่งสะสมคาร์บอนที่สำคัญของโลกต่อไป
Other Abstract: Mangrove forests play an important role in carbon storage because they are highly net primary production (NPP) ecosystems. Even most of the trees grow under high saline and anoxic environment due to the effects of tidal inundation. Globally the sea level tends to increase due to global climate change. As a result, salinity regimes and nutrient budgets in mangrove forests have been altered, which may affect the growth of mangrove trees. This study investigated the trunk basal-area increment, leaf emergence, and leaf loss and observed the leaf nutrient resorption of Avicennia alba under the changing of water and soil environments during the rainy and dry seasons, from July 2019 to June 2020. The study site is located in a secondary mangrove forest at the estuary of the Trat River. The results showed a seasonal pattern of the trunk basal-area increment and the leaf emergence that the growth rates were high in the rainy season and consequently decreased in the dry season. During the rainy season, a large amount of rainfall reduced water salinity. The contents of total nitrogen in water tended to increase during the rainy season. Therefore, A. alba absorbed a large amount of freshwater and nitrogen through the root absorption for further tree growth. Moreover, phosphorus resorption efficiency (PRE) increased during the rainy season resulting in high nutrient availability for tree growth. Both the high trunk basal-area increment and leaf emergence rates during the rainy season indicated that A. alba has a growth strategy under salinity and nutrient fluctuations by taking an advantage of the high growth rate under conditions of low water salinity. Moreover, the high efficiency of nutrient resorption during the rainy season also responded to the rapid growth. These findings explain how mangrove ecosystem can maintain their high global carbon stock.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พฤกษศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76959
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.918
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2020.918
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6172006423.pdf3.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.