Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7720
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ปารเมศ ชุติมา | - |
dc.contributor.author | ภัททิตา สุวรรณรุจิ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2008-08-04T08:51:02Z | - |
dc.date.available | 2008-08-04T08:51:02Z | - |
dc.date.issued | 2540 | - |
dc.identifier.isbn | 9746381032 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7720 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์(วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 | en |
dc.description.abstract | ความยืดหยุ่นของเส้นทางเดินของงาน เป็นคุณสมบัติสำคัญที่ทำให้ระบบผลิตแบบยืดหยุ่น มีความสามารถในการตอบสนองต่อความคับคั่งของระบบ อันเนื่องมาจากเครื่องจักรเสีย และภาระงานที่มากเกินไป ประโยชน์ของความยืดหยุ่นของเส้นทางเดินของงาน ในระบบผลิตแบบยืดหยุ่นจะถูกนำมาใช้อย่างเต็มที่ เมื่อระบบนั้นมีการจัดเส้นทางเดินของงานอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นในงานวิจัยฉบับนี้จึงได้สร้างกฎการจัดเส้นทางเดินของงาน โดยการประยุกต์ใช้การตัดสินใจแบบลำดับขั้นแบบฟัซซี่ (FuzzyAHP) โดยกฎการจัดเส้นทางเดินของงานแบบ FuzzyAHP ที่พัฒนาขึ้นมานั้น จะสร้างดัชนีการเลือกสำหรับทางเลือกแต่ละทาง จากคุณลักษณะของทางเลือกอันได้แก่ ปริมาณงานในแถวคอยของเครื่องจักร ความน่าจะเป็นที่ชิ้นงานจะได้เข้าผลิต ที่เครื่องจักรก่อนเครื่องจักรเสีย และเวลาที่เครื่องจักรใช้ในการผลิตชิ้นงาน ด้วยวิธีการของ FuzzyAHP ทำให้สามารถสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของทางเลือก กับดัชนีการเลือกได้โดยผ่านความรู้และประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญ ทำให้สามารถหลีกเลี่ยงการสร้างดัชนีทางเลือก จากวิธีการทางคณิศาสตร์ที่ซับซ้อนและยุ่งยากได้ นอกจากนั้นแล้ว เพื่อให้กฎการจัดเส้นทางเดินของงานมีลักษณะเป็นแบบพลวัต การวิจัยนี้จึงพัฒนาความสำคัญของคุณลักษณะของทางเลือก เป็นแบบไม่ตายตัว และสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเร่งด่วนของชิ้นงาน ในงานวิจัยฉบับนี้ได้เสนอกฎการจัดเส้นทางเดินของงาน ที่มีพื้นฐานมาจากวิธีวิเคราะห์แบบลำดับขั้นแบบฟัซซี่ 3 กฎ อันได้แก่ FuzzyAHP FuzzyAHP-NF และ FuzzyAHP-WINQ เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับกฎการจัดเส้นทางเดินของงานแบบดั้งเดิม อันได้แก่ WINQ NINQ SPT และ RAN กฎต่างๆ เหล่านี้ เป็นกฎที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมการผลิต เกณฑ์ในการวัดประสิทธิภาพของกฎการจัดเส้นทางเดินของงาน พิจารณาจากเวลาในการไหลของชิ้นงาน โดยเฉลี่ย (Mean flow time) เวลาที่ชิ้นงานล่าช้าเฉลี่ยต่อชิ้นงานทั้งหมด (Mean tardiness) ผลรวมของเวลาที่ชิ้นงานเสร็จก่อน หรือหลังกำหนดส่งต่อชิ้นงานทั้งหมด (Mean lateness) สัดส่วนของชิ้นงานล่าช้า (Proportion of tardy jobs) และการใช้สอยของระบบ (System utilization) ผลการทดลองพบว่า กฎการจัดเส้นทางเดินของงานแบบ FuzzyAHP-WINQ ให้ประสิทธิภาพของระบบทางด้าน Mean tardiness และ System Utilization ที่ดีกว่ากฎการจัดเส้นทางเดินของงานแบบอื่นอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อระดับนัยสำคัญเป็น 5% สำหรับ Mean flow time และ Mean lateness พบว่ากฎการจัดเส้นทางเดินของงานแบบ FuzzyAHP-WINQ ให้ค่าเฉลี่ยของเกณฑ์วัดประสิทธิภาพทั้งสองที่ดีที่สุด แต่ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับกฎการจัดเส้นทางเดินของงานแบบ WINQ และ NINQ สำหรับ Proportion of tardy jobs พบกฏการจัดเส้นทางเดินของงานแบบ FuzzyAHP-WINQและWINQ เมื่อพิจารณาผลจากการทดลองแล้ว สามารถสรุปได้ว่าปรากฎการณ์จัดเส้นทางเดินของงานแบบ FuzzyAHP-WINQ เป็นกฏที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับกฏการจัดเส้นทางเดินของงานแบบอื่น | en |
dc.description.abstractalternative | Routing flexibility provides the ability for the flexible manufacturing system (FMS) to efficiently encounter traffic problems caused by machine breakdown, excessive workload, etc. The advantages of imposing routing flexibility can be fully obtained by implementing competent part routing rules. In this study, Fuzzy Analytical Hierarchy Process (FuzzyAHP) is applied to form several part routing rules. The FuzzyAHP-based part routing rules select the machine with highest selection index assigned from the attributes of alternate machines: workload on machine buffer, processing time, and the probability that the part being routed to the alternate machine can be processed before the machine fails. By means of FuzzyAHP, the burdensome mathematical model can be avoided by extracting the relationship between the attributes from human experience and knowledge instead. To increase the robustness of FuzzyAHP-based part routing rules, the relationships between the attributes are dynamicallly changed according to urgency of the part being routed. Three FuzzyAHP-based part routing rules are proposed, i.e., FuzzyAHP, FuzzyAHP-NF, and FuzzyAHP-WINQ. These rules are compared with conventional part routing rules, i.e., WINQ, NINQ, SPT, and RAN. The measures of performance are mean flow time, mean tardiness, mean lateness, proportion of tardy jobs, and system utilization. For mean tardiness and system utilization, FuzzyAHP-WINQ performs significantly better than other rules (significance level = 5%). FuzzyAHP-WINQ has the best average values of mean flow time and mean lateness; however, they are not significantly different from those of NINQ and WINQ. Although NINQ has the best average proportion of tardy jobs, it is not significantly different from those of FuzzyAHP-WINQ and WINQ. From the experimental results, it can be concluded that FuzzyAHP-WINQ is the most efficient rule compared with the other rules being tested. | en |
dc.format.extent | 1447046 bytes | - |
dc.format.extent | 491600 bytes | - |
dc.format.extent | 747759 bytes | - |
dc.format.extent | 2290529 bytes | - |
dc.format.extent | 1175952 bytes | - |
dc.format.extent | 1532340 bytes | - |
dc.format.extent | 1253375 bytes | - |
dc.format.extent | 1412371 bytes | - |
dc.format.extent | 504675 bytes | - |
dc.format.extent | 5308262 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ระบบการผลิตแบบยืดหยุ่น | en |
dc.subject | ฟัสซีเซต | en |
dc.title | การประยุกต์ใช้ฟัซซี่ลอจิกกับการตัดสินใจแบบหลายปัจจัย สำหรับการจัดเส้นทางเดินของงานในระบบการผลิตแบบยืดหยุ่น | en |
dc.title.alternative | An application of fuzzy logic with multi-criteria decision making for job routing in a flexible manufacturing system | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมอุตสาหการ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Parames.C@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pattita_Su_front.pdf | 1.41 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pattita_Su_ch1.pdf | 480.08 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pattita_Su_ch2.pdf | 730.23 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pattita_Su_ch3.pdf | 2.24 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pattita_Su_ch4.pdf | 1.15 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pattita_Su_ch5.pdf | 1.5 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pattita_Su_ch6.pdf | 1.22 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pattita_Su_ch7.pdf | 1.38 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pattita_Su_ch8.pdf | 492.85 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pattita_Su_back.pdf | 5.18 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.