Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77244
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | โอฬาร กิตติธีรพรชัย | - |
dc.contributor.author | ณิชากร จงสวัสดิ์พัฒนา | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2021-09-22T23:38:58Z | - |
dc.date.available | 2021-09-22T23:38:58Z | - |
dc.date.issued | 2563 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77244 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 | - |
dc.description.abstract | ปัจจุบันผู้ผลิตจำนวนมากเลือกการใช้บริการผู้ให้บริการขนส่งภายนอกเพื่อบริหารต้นทุนและประหยัดค่าขนส่ง ผู้ผลิตมักต้องการการวางแผนที่เชื่อถือได้และการตรวจสอบที่ครอบคลุม มิฉะนั้นการใช้ผู้บริการขนส่งภายนอกอาจทำให้เกิดสถานการณ์คล้ายกับกรณีศึกษาโรงงานผลิตเหล็กรีไซเคิลที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทยซึ่งให้บริการจัดส่งสินค้าฟรีภายในพื้นที่จังหวัดเดียวกับโรงงานและพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑลโดยใช้ผู้ให้บริการขนส่งภายนอก จากการวิเคราะห์ข้อมูลในอดีตพบว่าบริษัทสามารถประหยัดค่าขนส่งได้ถึง 12.97% หากเลือกผู้ให้บริการขนส่งที่เหมาะสมและตรวจสอบปริมาณสินค้าที่จัดส่งในแต่ละเที่ยว จากการตรวจสอบเพิ่มเติมยังพบว่า ค่าใช้จ่ายขนส่งสูงอาจมีสาเหตุจากขาดการวางแผนและ ปราศจากแนวทางที่ชัดเจน ดังนั้นงานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางในการจัดการขนส่ง 2 ด้านคือ การดำเนินงานด้านขนส่ง และ การจัดการขนส่งเชิงกลยุทธ์โดยประยุกต์แบบจำลอง SCOR (Supply Chain Operations Reference Model) หรือ BP.118 เป็นต้นแบบในการปรับปรุง 4 ด้าน ได้แก่ 1.การจัดทำแผนการจองรถบรรทุกล่วงหน้า 2.การตรวจสอบความสามารถในการจัดส่งโดยการประเมินผู้ให้บริการโดยการให้น้ำหนักของปัจจัยตามลำดับความสำคัญจากการสัมภาษณ์ผู้บริการและผู้ที่เกี่ยวข้อง และประเมินโดยพิจารณาจากผลงานเก่าในปีที่ผ่านมา 3.กำหนดตัวชี้วัดในการบริหารงานขนส่ง 4.กำหนดผู้ให้บริการขนส่งหลักในแต่ละเส้นทางโดยประยุกต์ใช้กลยุทธ์ในการจัดซื้อจัดหาโดยการเจรจาต่อรอง จากผลการศึกษาพบว่าหลังจากการปรับปรุงบริษัทกรณีศึกษาสามารถลดอัตราค่าขนส่งลงได้ 54.21 บาท/ตัน คิดเป็นมูลค่า 1.02 ล้านบาทต่อเดือน และลดเวลานำในการจองรถลง 0.25 วัน | - |
dc.description.abstractalternative | Manufacturers have outsourced transportation to leverage capital. Nevertheless, these may not lead to a desirable outcome as the saving in transportation cost often requires reliable planning and comprehensive monitoring; otherwise, the transportation outsourcing could lead to a situation similar to a case study steel manufacturer. It provides free delivery of products within the areas of its factors and the greater Bangkok area using transportation providers. The analysis of the historical data shows that the manufacturer can save 12.97 % of its transportation expense by selecting suitable transportation providers and monitoring the shipping volume per truck. The further investigation reveal improvised planning and the unclear guideline as possible causes of high transportation expense. Therefore, this research aims to present guidelines for improvement in transport operations and Strategic transportation management by applying Supply Chain Operations Reference (SCOR) Model or BP.118 as a model to improve 4 areas: 1. Preparing future truck-reservation plans. 2.The delivery capability was assessed by evaluating transportation providers by weighting the priority factors based on interviews with stakeholders and assessed by considering the previous shipment 3. Set indicators for transportation management. 4. The main transportation providers in each route were determined by applying a negotiated procurement strategy. After the implementation, the manufacturer can reduce the transportation rate to 54.21 Baths/ton or 1.02 million Baths/month and reduce 0.25 day of truck-booking lead time. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1159 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject.classification | Engineering | - |
dc.title | การจัดการเชิงกลยุทธ์ของการขนส่งเหล็กเส้นก่อสร้างขาออกในประเทศ | - |
dc.title.alternative | Strategic management of construction-rebar domestic outbound transportation | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมอุตสาหการ | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2020.1159 | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6270093221.pdf | 6.04 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.