Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7744
Title: | การศึกษาปัญหาการนำแผนปฏิบัติการประจำปีไปใช้ ในโรงเรียนโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดเพชรบูรณ์ |
Other Titles: | A study of problems of the implementation of an annual operation plan in schools under the Expansion of Basic Education Opportunity Project schools under the jurisdiction of the Office of Phetchabun Provincial Primary Education |
Authors: | ภูริวัฒน์ ทองยศ |
Advisors: | สนานจิตร สุคนธทรัพย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Snanchit.S@chula.ac.th |
Subjects: | โครงการขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน การวางแผน เพชรบูรณ์ |
Issue Date: | 2540 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาปัญหาการนำแผนปฏิบัติการประจำปีไปใช้ใน โรงเรียนโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งมีขั้นตอนการนำแผนไปใช้ 8 ขั้นตอน คือ (1) การเตรียมการเพื่อการนำแผนไปใช้ ประกอบด้วยขั้นตอนย่อย การจัดทำปฏิทินปฏิบัติงาน การนำปฏิทินไปใช้และการเตรียมบุคลากรเพื่อการนำแผนไปใช้ (2) การมอบหมายงาน (3) การจัดสรรทรัพยากร (4) การประสานงาน (5) การกำกับและนิเทศงาน (6) การสร้างขวัญและจูงใจ (7) การประเมินและรายงานผลระหว่างดำเนินการ (8) การปรับปรุงแผนระหว่างดำเนินการ ผลการวิจัยพบว่า การนำแผนปฏิบัติการประจำปีไปใช้มีปัญหาทุกขั้นตอน เมื่อพิจารณาเป็นรายขั้นตอน จากรายการที่มีผู้ระบุสูงสุด พบว่า 1. จากการสัมภาษณ์ ปัญหาในแต่ละขั้นตอน ได้แก่ (1) บุคลากรไม่เห็นความสำคัญของการจัดทำปฏิทินปฏิบัติงาน ไม่ใช้ปฏิทินในการควบคุมงาน และขาดการวางแผนการเตรียมบุคลากร (2) ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถตรงกับงาน (3) ขาดทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ความสามารถตรงตามงานที่รับผิดชอบ (4) บุคลากรที่ทำหน้าที่ประสานงานภายในโรงเรียนขาดคุณสมบัติที่เหมาะสม และขาดบุคลากรที่ทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานอื่นโดยเฉพาะ (5) ขาดการกำกับและนิเทศงานอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ (6) บุคลากรขาดความตระหนักในหน้าที่ที่รับผิดชอบ (7) ขาดการวางแผนการประเมินและรายงานผลระหว่างดำเนินการ (8) ขาดการกำหนดแนวทางในการปรับปรุงแผน 2. จากแบบสอบถาม มีปัญหา ได้แก่ (1) ไม่นำปฏิทินไปใช้อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ และบุคลากรไม่เห็นความสำคัญของการเตรียมบุคลากรและขาดความรับผิดชอบ (2) ผู้รับมอบหมายงานมีภาระอื่นมากอยู่แล้ว (3) งบประมาณที่ได้รับไม่เพียงพอ (4) การประสานงานภายในโรงเรียนไม่ต่อเนื่องและสม่ำเสมอ และขาดการประสานงานกับหน่วยงานอื่นอย่างเป็นระบบ (5) ขาดการนำผลการกำกับและนิเทศงานไปดำเนินการ (6) บุคลากรขาดขวัญและกำลังใจ (7) ขาดการประเมินและรายงานผลอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ (8) บุคลากรไม่ให้ความสำคัญในการปรับปรุงแผน |
Other Abstract: | To study the problems of the implementation of an annual operation plan in schools under the Expansion of Basic Education Opportunity Project under the jurisdiction of the Office of Phetchabun Provincial Primary Education. The implementation stage consisted of eitht key steps : (1) Preparing for the implementation, composed of preparing schedules, use of schedule for controlling the implementation and personnel preparation; (2) Delegation; (3) Resource allocation; (4) Coordination; (5) Monitoring and supervision; (6) Moral support and motivation; (7) Evaluation and report; and (8) Updating the plan. Findings revealed problems in every step of implementation. The problems with highest frequency in each step were: 1. Problems found from the interview. (1) Lack of concern for preparing implementation schedules; schedules were not used for operation control; and lack of planning for personnel preparation. (2) Lack of competent personnel to delegate the work. (3) Lack of human resources in particular areas. (4)Incompetent internal coordinators and lack of proper personnel to coordinate with other organizations. (5) Lack of ongoing monitoring and supervision. (6) Personnel lacked sense of responsibility. (7) Lack of planning for formative evaluation and report. (8) Lack of guidelines for updating the plan. 2. Problems from the questionnaires. (1) Lack of continuity in using implementation schedule; lack of staff concern for personnel preparation and staff sense of responsibility. (2) Overloaded staff. (3) Inadequate budget. (4) Lack of continuity in internal coordination and an external coordination system. (5) No use of feedback from monitoring and supervision. (6) Low morale. (7) Lack of ongoing evaluation and report. (8) No concern for updating the plan. |
Description: | วิทยานิพนธ์(ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | บริหารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7744 |
ISBN: | 9746388207 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Phooriwat_Th_front.pdf | 1.04 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Phooriwat_Th_ch1.pdf | 1.12 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Phooriwat_Th_ch2.pdf | 2.49 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Phooriwat_Th_ch3.pdf | 839.29 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Phooriwat_Th_ch4.pdf | 3.38 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Phooriwat_Th_ch5.pdf | 1.77 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Phooriwat_Th_back.pdf | 1.82 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.