Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77447
Title: การดัดแปลงระบบรังสีเอกซ์เรืองแบบแยกส่วนเพื่อความเหมาะสมที่สุดในการวิเคราะห์ธาตุ
Other Titles: Modifications of modular x-ray fluorescence system for optimum elemental analysis
Authors: ธนพงษ์ ทองประพาฬ
Advisors: นเรศร์ จันทร์ขาว
เดโช ทองอร่าม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Decho.T@Chula.ac.th
Subjects: รังสีเอกซ์
ธาตุ -- การวิเคราะห์
X-rays
Chemical elements -- Analysis
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ไต้ออกแบบและสร้างอุปกรณ์เปลี่ยนตัวอย่างและอุปกรณ์เปลี่ยนต้นกำเนิดรังสีสำหรับใช้กับระบบวิเคราะห์รังสีเอกซ์เรืองแบบแยกส่วนที่ใช้ต้นกำเนิดแบบไอโซโทปรังสีเป็นตัวกระตุ้น อุปกรณ์เปลี่ยนตัวอย่างทำด้วยอาครีลิกหนา 0.6 ซม. โดยมีช่องขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5.0 ซม. 8 ช่อง อยู่บริเวณขอบนอกสำหรับใส่ตัวอย่าง อุปกรณ์เปลี่ยนต้นกำเนิดรังสีมีลักษณะคล้ายกันคือทำด้วยอาครีลิกหนา 1.1 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 40 ซม. โดยมีช่องขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4.0 ซม. 8 ช่อง อยู่บริเวณขอบนอกสำหรับใส่ต้นกำเนิดรังสี จานเปลี่ยนต้นกำเนิดรังสีถูกยึดไว้เหนือหัววัดรังสีชนิดเจอร์มาเนียมบริสุทธิ์สูง และมีจานเปลี่ยนตัวอย่างอยู่เหนือจานเปลี่ยนต้นกำเนิดรังสี จุดศูนย์กลางของหัววัดรังสี ต้นกำเนิดรังสีและตัวอย่างขณะทำการวิเคราะห์ถูกจัดอยู่ในแนวเดียวกันเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดในการกระตุ้นและวัดรังสีเอกซ์เรือง นอกจากนั้นระยะระหว่างต้นกำเนิดรังสีกับหัววัดรังสีและต้นกำเนิดรังสีกับตัวอย่างสามารถปรับเปลี่ยนได้เพื่อให้เหมาะสมกับต้นกำเนิดรังสีกับและตัวอย่างแต่ละตัว ระยะห่างระหว่างต้นกำเนิดรังสีกับหัววัดรังสี ต้นกำเนิดรังสีกับตัวอย่าง รวมทั้งการหมุนของจานเปลี่ยนต้นกำเนิดรังสีและจานเปลี่ยนตัวอย่างถูกควบคุมโดยไมโครคอมพิวเตอร์ การวิเคราะห์ปริมาณรวมทั้งการคำนวณแก้ผลของแมทริกซ์ทำโดยใช้โปรแกรม NBSGSC เวอร์ชัน 4.0 ซึ่งใช้แบบวิธี COLA ไต้ทดสอบระบบวิเคราะห์และโปรแกรมวิเคราะห์โดยใช้สารมาตรฐานและตัวอย่าง 2 ประเภทคือโลหะผสมตะกั่ว-ดีบุก และเหล็กกล้าไร้สนิมผลการทดสอบพบว่าค่าเบี่ยงเบนเฉลี่ยของปริมาณตะกั่วและดีบุกใน 5 ตัวอย่างจากการวิเคราะห์ 3 ครั้งมีค่าไม่เกิน 2.8% (ในช่วงปริมาณตะกั่ว 0-60 %) และ 3.0 % (ในช่วงปริมาณดีบุก 40-100 %) ตามลำดับ ค่าเบี่ยงเบนเฉลี่ยของปริมาณโครเมียม เหล็ก และนิเกิล ใน 3 ตัวอย่างจากการวิเคราะห์ 3 ครั้งมีค่าเกือบทั้งหมดไม่เกิน 0.7 % (ในช่วงปริมาณโครเมียม 16.3-18.5 %) 2.0% ในช่วงปริมาณเหล็ก 66.8-60.5 % และ 0.8 % (ในช่วงปริมาณนิเกิล 0.2-11.1 %) ตามลำดับ สำหรับตัวอย่างเหล็กกล้าไร้สนิม SC17 ค่าเบี่ยงเบนเฉลี่ยของเหล็กมีค่าประมาณ 6% สำหรับปริมาณเหล็ก 82.6 % ความแตกต่างนี้คาดว่าเกิดจากความผิดพลาดในการวัดความเข้มรังสีเอกซ์ของเหล็ก โครเมียม และนิเกิล เนื่องจากพีคของทั้งสามธาตุไม่ไต้แยกกันอย่างชัดเจน
Other Abstract: A sample changer and a radioisotope source changer were designed and constructed to be used in a modular type radioisotope excited x-ray fluorescence analysis system. The sample changer was mode of acrylic plastic of 0.6 cm thickness and 40 cm diameter with eight 5.0 diameter holes at its periphery to accommodate 8 samples. Similarly, the source changer was made of acrylic plastic of 1.1 cm thickness and 40 cm diameter with eight 4.0 cm diameter holes to accommodate 8 annular radioisotopic soyurce. The source changer was positioned above a HPGe detector and the sample changer. For optimum excitation and detection of fluorescent x-rays; the detector, the source and the sample at the analysis position were arranged in coaxial geometry. Moreover, the source-to-detector and source-to-sample distances could be adjusted to obtain optimum geometry for each source and sample. The source-to-detector and the source-to-sample distances as well as the rotation of the source and the sample changer were controlled by a microcomputer. Quantitative analysis, including correction of matrix effects, was performed by using the NBSGSC version 4.0 program which was based on the Comprehensive Lachance (COLA) algorithm. Two sets of standards and samples were used to test the system as well as the analysis program i.e. Pb/Sn alloys and stainless steels. The average deviations of Pb Sn contents in 5 samples for 3 measurements were found to be better than 2.8 % Pb (in 0-60 % range) and 3.0 % Sn (in 40-100 % range) respectively. The average deviations of Cr, Fe and Ni contents in 3 stainless steel samples for 3 measurements were found to be better than 0.7 % Cr (in 16.3-18.5 % range), 2.0 % Fe (in 66.8-70.5 % range) and 0.8 % Ni (in 0.2-11.1% range) respectively. For the SC17 sample, the average deviation of Fe was found to be 6 % for 82.6 % Fe. The discrepancy was most probably due to the crrors in measurements of Fe, Cr and Ni K x-rays intensities since the peaks were not very well resolved
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิวเคลียร์เทคโนโลยี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77447
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1997.443
ISBN: 9746391747
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1997.443
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thonnapong_th_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ926.71 kBAdobe PDFView/Open
Thonnapong_th_ch1_p.pdfบทที่ 1694.67 kBAdobe PDFView/Open
Thonnapong_th_ch2_p.pdfบทที่ 21.35 MBAdobe PDFView/Open
Thonnapong_th_ch3_p.pdfบทที่ 31.71 MBAdobe PDFView/Open
Thonnapong_th_ch4_p.pdfบทที่ 4786.04 kBAdobe PDFView/Open
Thonnapong_th_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.