Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77452
Title: | ผลกระทบของขี้เถ้าลอยในปฏิกิริยาปอซโซลานิก ที่มีผลต่อกำลังอัดของคอนกรีตสมรรถนะสูง |
Other Titles: | Effects of fly ash in pozzolanic reaction on compressive strength of high performance concrete |
Authors: | วิศว จักรไพศาล |
Advisors: | เอกสิทธิ์ ลิ้มสุวรรณ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | เถ้าลอย คอนกรีตผสมเถ้าลอย Fly ash Fly ash concrete |
Issue Date: | 2539 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ปฏิกิริยาเคมีระหว่างซีเมนต์กับน้ำซึ่งเรียกกันว่าปฏิกิริยาไฮโดรชั่นจะให้ผลผลิตคือแคลเซี่ยมซิลิเกตไฮเดรด (CSH) และแคลเซี่ยมไฮดรอกไซด์ (Ca(OH2) และเมื่อมีขี้เถ้าลอยในส่วนผสมของซีเมนต์ สารเคมีในขี้เถ้าลอยจะทำปฏิกิริยากับแคลเซี่ยมไฮดรอกไซด์ที่เหลือจากปฏิกิริยาไฮเดรชั่น ได้แคลเซี่ยมซิลิเกตไฮเดรตมากขึ้นเรียกว่า ปฏิกิริยาปอช-โซลานิก ซึ่งแคลเซี่ยมซิลิเกตไฮเดรตที่เกิดขึ้นทั้งหมดจะทำหน้าที่เป็นตัวยึดประสานเนื้อคอนกรีต ส่งผลให้กำลังอัดของคอนกรีตสูงขึ้น ในงานวิจัยนี้ได้ทำการทดสอบหาปริมาณแคลเซี่ยมไฮดรอกไซด์ที่เกิดขึ้นตามอายุของปฏิกิริยาทางเคมีโดยใช้เครื่องวิเคราะห์ด้วยการวัดความร้อนภายใต้แรงศูนย์ถ่วง, Thermogravimetry Analysis (TGA) แล้วนำมาคำนวณหาปริมาณแคลเซี่ยมซิลิเกตไฮเดรต ซึ่งคำนวณจากมวลโมเลกุลของสมการคมี เพื่ออธิบายผลกระทบของขี้เถ้าลอยต่อกำลังและพฤติกรรมทางกายภาพ ทั้งนี้จะเปรียบเทียบกับปฏิกิริยาทางเคมีของซีเมนต์เพสธรรมดา ในการทดสอบหาแคลเซียมไฮดรอกไซด์โดยใช้วิธี TGA จะต้องเผาซีเมนต์เพสที่อุณหภูมิประมาณ 450-600°C ให้แคลเซี่ยมไฮดรอกไซด์สลายตัวจนน้ำหนักหายไปจึงสามารถตรวจวัดในส่วนนี้ได้ การวิจัยนี้จะศึกษาอัตราการเกิดแคลเซี่ยมไฮดรอกไซด์และนำไปคำนวณหาปริมาณแคลเซี่ยมซิลิเกตไฮเดรตโดยใช้การทดแทนซีเมนต์ด้วยขี้เถ้าลอยปริมาณ 15-35% ด้วยส่วนผสมของคอนกรีตที่มีปริมาณซีเมนต์ 500 กก./บล.ม. และศึกษาคุณสมบัติของคอนกรีตสดและคอนกรีตที่แข็งตัวแล้วตามอายุ ผลการทดสอบพบว่าในซีเมนต์เพส แคลเซี่ยมไฮดรอกไซด์จะเพิ่มขึ้นตามอายุจากปฏิกิริยาไฮเดรชั่นแต่เมื่อผสมขี้เถ้าลอย แคลเซี่ยมไฮดรอกไซด์จะลดลงเนื่องจากปฏิกิริยาปอซโซลานิกจากขี้เถ้าลอยโดยน้ำหนักจะลดลงประมาณ 0.6-0.8% ที่อายุ 28 วันและประมาณ 1.38-1.56% ที่อายุ 56 วัน ชี้ให้เห็นว่าปฏิกิริยาปอซโซลานิกจะเกิดเพิ่มขึ้นตามเวลาและปริมาณแคลเซี่ยมไฮดรอกไซด์ในซีเมนต์เพสผสมขี้เถ้าลอยจะลดลงต่ำกว่าในซีเมนต์เพสธรรมดาที่อายุประมาณ 2 สัปดาห์และเมื่อเพิ่มขี้เถ้าลอยปริมาณแคลเซี่ยมไฮดรอกไซด์จะลดลงเป็นสัดส่วนโดยตรงกับปริมาณขี้เถ้าลอยในส่วนผสมแคลเซี่ยมซิลิเกตไฮเดรตในซีเมนต์เพสผสมขี้เถ้าลอยจะมีปริมาณมากกว่าในซีเมนต์เพสธรรมดาประมาณ 5% ที่อายุ 28 วันและประมาณ 10% ที่อายุ 56 วันแสดงว่าปฏิกิริยาปอซโซลานิกเกิดขึ้นตามเวลาส่งผลให้คอนกรีตผสมขี้เถ้าลอยมีการพัฒนากำลังอัดในระยะยาวและกำลังอัดจะขึ้นอยู่กับปริมาณแคลเซี่ยมซิลิเกตไฮเดรตในส่วนผสมซึ่งกำลังอัดจะลดลงในอัตราเดียวกันกับแคลเซี่ยมซิลิเกตไฮเดรตจากผลการศึกษาพบว่ากำลังของคอนกรีตจะลดลงประมาณ 10% จากการแทนที่ด้วยขี้เถ้าลอยทุกๆ 10% การผสมขี้เถ้าลอยในซีเมนต์สามารถปรับปรุงความสามารถในการทำงานได้ของคอนกรีตสดโดยค่ายุบตัวจะแปรผันเป็นสัดส่วนโดยตรงกับปริมาณขี้เถ้าลอยในส่วนผสมนั่นคือค่ายุบตัวจะเพิ่มขึ้นประมาณ 10% ด้วยขี้เถ้าลอยปริมาณขี้เถ้าลอยที่เหมาะสมหากพิจารณาด้านความอยู่ตัวมีค่าเท่ากับ 25% และหากพิจารณาด้านกำลังอัดปริมาณขี้เถ้าลอยที่เหมาะสมมีค้าเท่ากับ 15% และหากพิจารณาด้านความสามารถทำงานได้ปริมาณขี้เถ้าลอยที่เหมาะสมมีค่าเท่ากับ 35% ค่าโมดุลัสความยืดหยุ่นของคอนกรีตผสมขี้เถ้าลอยจะมีค่าสูงกว่าคอนกรีตธรรมดาและจะมีค่ามากกว่า ACI Comittee 363 ประมาณ 35-40% และมอร์ต้าผสมขี้เถ้าลอยจะมีการหดตัวมากกว่ามอร์ต้าธรรมดาประมาณ 2-10% |
Other Abstract: | A chemical reaction between cement and water known as “hydration reaction” produces calcium silicate hydrate and calcium hydroxide. Using fly ash substitution of cement in concrete, chemical components in fly ash will react with calcium hydroxide to produce calcium silicate hydrate by means of pozzolanic reaction. Matrix of the paste will condensed by calcium silicate hydrate from hydration reaction and pozzolanic reaction, so that compressive strength of concrete will be increased. This study, calcium hydroxide has been tested and determined by Thermogravimetry Analysis (TGA), and calcium silicate hydrate can be calculated and determined by molecular weight of chemical composition. Strength and physical properties have been tested to compare with thus chemical reactions. The thermogravimetry analysis can determine amount calcium hydroxide in cementitious phase by thermal heating up to 450-600°C for decomposition as that weight loss of calcium hydroxide. The study has considering fly ash substitution at 15-35% for concrete mixes at 500 kg/m3 cement content. Essential concrete property in fresh and harden states had been determined along with age respectively. The amount of calcium hydroxide in cement paste is tested to be increased by age of hydration reaction. Fly ash substitution in cement will reduce amount of calcium hydroxide by means of pozzolanic reaction by 0.6-0.8% at 28 days and 1.38-1.56% at 56 days. Reduction of calcium hydroxide in the paste has proved the pozzolanic reaction to be increased by age and the amount of calcium hydroxide in cement paste with fly ash tends to overcome the one of cement paste around 2 weeks of age. Total amount of calcium hydroxide in cement paste substituted by fly ash is proportioned to the amount of cement in the paste. The amount of calcium silicate hydrate in cement paste with fly ash has shown larger amount about 5% at 28 days and 10% at 56 days over the ordinary cement. It is proved that the pozzolanic reaction is increased with age. Then long term strength compression had indicated direct proportion to the amount of calcium silicate hydrate in concrete. The strength increase rate has shown at 10% of fly ash substitution. Workability of fresh concrete can also be improved by means of fly ash in term of slump at every 10% substitution. The appropriate replacement of fly ash should be around 25% for soundness, 15% for compressive strength and 35% for workability. Modulus of elasticity of concrete with fly ash is tested to greater values than that the prediction by ACE Comittee 363 in the range of 35-40%. Mortar with fly ash had indicated more shrinkage than mortar of ordinary mortar about 2-10%. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมโยธา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77452 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.1996.795 |
ISBN: | 9746350986 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.1996.795 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wissawa_ch_front_p.pdf | หน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ | 1.04 MB | Adobe PDF | View/Open |
Wissawa_ch_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 1 MB | Adobe PDF | View/Open |
Wissawa_ch_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 1.65 MB | Adobe PDF | View/Open |
Wissawa_ch_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 2.43 MB | Adobe PDF | View/Open |
Wissawa_ch_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 2.42 MB | Adobe PDF | View/Open |
Wissawa_ch_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 701.03 kB | Adobe PDF | View/Open |
Wissawa_ch_back_p.pdf | บรรณานุกรมและภาคผนวก | 2.77 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.