Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77582
Title: การผลิตไฮโดรเจนพร้อมกับการสลายสารอินทรีย์จากน้ำเสียของการผลิตไบโอดีเซลโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงกึ่งตัวนำแบบคู่ควบ
Other Titles: Simultaneous hydrogen production and organic pollutant degradation from biodiesel wastewater using coupled semiconductor photocatalysts
Authors: ณภัทร ชื่นอังกูร
Advisors: เก็จวลี พฤกษาทร
มะลิ หุ่นสม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Kejvalee.P@Chula.ac.th,Kejvalee.P@Chula.ac.th
Mali.H@Chula.ac.th,mali.h@chula.ac.th
Subjects: ไฮโดรเจน
เชื้อเพลิงไบโอดีเซล
สารกึ่งตัวนำ
สารมลพิษอินทรีย์
Hydrogen
Biodiesel fuels
Semiconductors
Organic pollutants
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ศึกษากัมมันตภาพในการผลิตไฮโดรเจนพร้อมกับการสลายสารอินทรีย์จากน้ำเสียของการผลิตไบโอดีเซลโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงกึ่งตัวนำแบบคู่ควบ ตัวแปรที่ศึกษา คือ ชนิดและปริมาณของตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงกึ่งตัวนำแบบคู่ควบ (Bi₂O₃ Nb₂O₅ และ WO₃) และความเข้มข้นของ H₂O₂ (0.1 - 0.7 โมลต่อลิตร) พบว่าตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงกึ่งตัวนำแบบคู่ควบ Bi₂O₃/TiO₂ ที่ร้อยละ 5 โดยโมล สามารถผลิตไฮโดรเจนได้มากที่สุด (948 ไมโครโมลต่อชั่วโมง) ในขณะที่ตัวเร่งปฏิกิริยา WO₃/TiO₂ ที่ร้อยละ 5 โดยโมล สามารถลดค่าซีโอดีในน้ำเสียได้มากที่สุด (ร้อยละ 29.1) เมื่อใช้น้ำเสียที่ผ่านการเจือจาง 3.3 เท่า ปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสง 4 กรัมต่อลิตร ความเข้มแสง 5.93 มิลลิวัตต์ต่อตารางเซนติเมตร ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส (อุณหภูมิห้อง) เป็นเวลา 4 ชั่วโมง และพบว่าการใช้ H₂O₂ ร่วมกับตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงกึ่งตัวนำแบบคู่ควบทำให้สามารถผลิตไฮโดรเจนพร้อมกับการสลายสารอินทรีย์ได้มากขึ้น โดยการใช้ H₂O₂ เข้มข้น 0.3 โมลต่อลิตร ร่วมกับตัวเร่งปฏิริยา Bi₂O₃/TiO₂ ที่ร้อยละ 5 โดยโมล สามารถผลิตไฮโดรเจนได้ 6,316 ไมโครโมลต่อชั่วโมง ลดซีโอดีได้ร้อยละ 28.7 ลดน้ำมันและไขมันได้ร้อยละ 20.0 และสีของน้ำเสียที่ผ่านกระบวนการมีความเข้มเพียง 15 หน่วยแพลทินัม-โคบอลต์
Other Abstract: This research was carried out to produce hydrogen (H₂) simultaneously with the organic pollutant degradation from biodiesel wastewater using the coupled semiconductor photocatalysts. The investigated parameters were types and quantities of coupled semiconductors (Bi₂O₃, Nb₂O₅ and WO₃) and concentrations of H₂O₂ (0.1 - 0.7 M). The obtained results demonstrated that the Bi₂O₃/TiO₂ photocatalyst at the Bi₂O₃ content of 5% mole showed the highest H₂ production rate (948 µmol/h), while the WO₃/TiO₂ photocatalyst at the WO₃ content of 5% mole exhibited the highest COD removal (29.1%) using 3.3-fold dilution biodiesel wastewater, photocatalyst loading of 4 g/L and UV-Visible irradiation of 5.93 mW/cm² at temperature of 30 °C for 4 h. In addition, the addition of H₂O₂ can enhance the photocatalytic activity of the coupled semiconductor photocatalysts for simultaneous H₂ production and organic pollutant degradation. Addition of H₂O₂ at the concentration of 0.3 M in the presence of the Bi₂O₃/TiO₂ photocatalyst at the Bi₂O₃ content of 5% mole can enhance the H₂ production up to 6,316 µmol/h and can remove COD of 28.7%, oil and grease of 20.0%. The color of processed wastewater was around 15 Pt-Co unit.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคมีเทคนิค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77582
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.564
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2019.564
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6071929423.pdf4.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.