Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77640
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวุฒิพงษ์ ศิริจันทรานนท์-
dc.contributor.authorกรรณิการ์ โสวรรณี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-10-24T02:03:44Z-
dc.date.available2021-10-24T02:03:44Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77640-
dc.descriptionเอกัตศึกษา (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560en_US
dc.description.abstractปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทต่อรูปแบบของการดําเนินชีวิตและการดําเนินธุรกิจ มากขึ้นจนเกิดเป็นช่องทางใหม่ในการดําเนินธุรกิจผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) หรือ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์E-Commerce การดําเนินธุรกิจในรูปแบบผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ สามารถดําเนินธุรกิจที่บ้านก็ได้โดยไม่จําเป็นที่จะต้องมีหน้าร้านเหมือนการค้าขายสมัยก่อนที่ต้องมี หน้าร้านให้เห็นชัดเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ การใช้ที่อยู่อาศัยดําเนินธุรกิจในรูปแบบพาณิชยกรรมแบบไม่มีหน้าร้านจะถูกจัดเป็นการใช้ ประโยชน์หลายประเภท โดยการคํานวณภาษีจะเก็บตามสัดส่วนการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ในแต่ละ ประเภทโดยที่ดินจะคํานวณเป็นตารางวาและสิ่งปลูกสร้างเป็นตารางเมตร ซึ่งตามพระราชบัญญัติ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 มีการกําหนดประเภทของการใช้ประโยชน์ไว้อย่างชัดเจน แต่ การสํารวจและประเมินเพื่อเรียกเก็บภาษีของแต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจจะมีข้อจํากัดใน ด้านบุคคลากรด้านการสํารวจ ซึ่งรูปแบบการขายสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์นั้น เจ้าของที่ดินหรือ สิ่งปลูกสร้างอาจจะไม่ได้ระบุว่า ใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัยและเพื่อการพาณิชยกรรม ทําให้อาจจะถูก ประเมินเป็นการใช้ประโยชน์เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยเพียงอย่างเดียว เพราะไม่มีลักษณะทางกายภาพของ หน้าร้าน โดยพื้นที่ภายในของที่อยู่อาศัยอาจมีการประกอบธุรกิจเพื่อการพาณิชยกรรม เช่น การขาย สินค้าผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ หรือมีสินค้าเก็บไว้ภายในที่อยู่อาศัย เป็นต้น ซึ่งจะแตกต่างจาก เจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ที่อยู่อาศัยเพื่อการพาณิชยกรรมแบบมีหน้าร้านที่มีลักษณะทาง กายภาพของร้านเห็นได้อย่างชัดเจน จากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น ผู้วิจัยเห็นว่า ภาครัฐควรเพิ่มมาตรการที่มีความเหมาะสมและ สอดคล้องกับความเป็นจริงเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถทราบข้อมูลอื่นเพิ่มเติม ในอันที่จะเป็นประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีตามสัดส่วนของการใช้ประโยชน์จากเจ้าของที่ดินและหรือ สิ่งปลูกสร้างที่ใช้ที่อยู่อาศัยเพื่อการพาณิชยกรรมแบบไม่มีหน้าร้าน เช่น การใช้ฐานข้อมูลเพื่อ เชื่อมโยงกันเป็นระบบของภาครัฐ ได้แก่ กรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมที่ดินและรวมถึง ผู้ให้บริการขายสินค้าออนไลน์ เช่น Facebook เป็นต้น ในอันที่จะเป็นประโยชน์ต่อองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นสําหรับเป็นฐานข้อมูลในการทราบถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่แท้จริงของเจ้าของที่ดินและ หรือสิ่งปลูกสร้างโดยจะส่งผลถึงประเภทของการใช้ประโยชน์จากสิ่งปลูกสร้างนั้นให้สามารถจัดเก็บ ภาษีได้อย่างถูกต้องสอดคล้องกับความจริงและเป็นธรรมต่อผู้เสียภาษีรายอื่นen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.134-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectภาษีที่ดินen_US
dc.subjectการจัดเก็บภาษีen_US
dc.titleปัญหาการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ไม่เป็นธรรม : ศึกษากรณีใช้ที่อยู่อาศัยเพื่อการพาณิชยกรรมแบบไม่มีหน้าร้านen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.subject.keywordภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างen_US
dc.subject.keywordพาณิชยกรรมen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2020.134-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6280005134.pdf3.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.