Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77646
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิมพัทธ์ ราชประดิษฐ์-
dc.contributor.authorจิตติมา เกียรติจานนท์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-10-24T03:58:35Z-
dc.date.available2021-10-24T03:58:35Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77646-
dc.descriptionเอกัตศึกษา (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563en_US
dc.description.abstractค่าใช้จ่ายเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการคำนวณภาษี และค่าใช้จ่ายถือเป็นสิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างหนึ่งที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับหักเป็นต้นทุนในการทำงานของผู้มีเงินได้ เพื่อให้ได้เงินได้หรือรายได้สุทธิมาคิดภาษีตามอัตราภาษี โดยกฎหมายได้กำหนดอัตราการหักค่าใช้จ่ายมากหรือน้อยตามแต่ละประเภทของเงินได้ เนื่องจากเงินได้พึงประเมินแต่ละประเภทต่างมีค่าใช้จ่ายต่างกัน หากกำหนดค่าใช้จ่ายให้หักเป็นการเหมาตายตัวทุกประเภทแล้วย่อมไม่สมเหตุสมผลกับผู้มีเงินได้ ดังนั้น ผู้มีเงินได้จึงมีทางเลือกสำหรับการค่าใช้จ่ายได้ 2 วิธีด้วยกัน คือ การหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา การหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร ในทางทฤษฏี ผู้มีเงินได้ควรเลือกวิธีหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร เพราะสามารถหักค่าใช้จ่ายได้มากกว่า จะทำให้มีภาระภาษีที่ต้องเสียน้อยลง แต่อย่างไรก็ตาม การหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรนั้นจำเป็นต้องทำตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กฎหมายกำหนด กล่าวคือ ต้องมีเอกสารและหลักฐานที่ตรวจสอบได้ ค่าใช้จ่ายที่นำมาใช้ต้องเกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจหรือประเภทเงินได้ที่ได้มา มีจำนวนที่เหมาะสม และไม่เป็นค่าใช้จ่ายที่กฎหมายห้ามไม่ให้หักเป็นรายจ่าย เช่น รายจ่ายที่มีลักษณะเป็นการส่วนตัว เป็นต้น จากหลักเกณฑ์ที่กล่าวมานั้น หากพิจารณาในด้านต้นทุนของการจัดการเอกสาร ความรู้ของผู้มีเงินได้ และรูปแบบของการประกอบกิจการแล้วนั้น ในทางปฏิบัติ ผู้มีเงินได้ที่เป็นบุคคลธรรมดาส่วนใหญ่จึงเลือกวิธีหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา เพราะมีความสะดวกและประหยัดต้นทุนในด้านการจัดการเอกสารมากกว่า ผู้มีเงินได้จากการประกอบกิจการฟาร์มสุกรเป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากรประเภท 40(8) ที่มีสิทธิเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ทั้งวิธีการหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา และหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร โดยก่อนปี พ.ศ.2560 ผู้ประกอบกิจการฟาร์มสุกรมีสิทธิหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ถึงร้อยละ 85 ของเงินได้พึงประเมิน ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จึงเลือกหักค่าใช้จ่ายในอัตราเหมา ทั้งเหตุผลของความสะดวกและความคุ้มค่ากว่าการลงทุนจัดทำเอกสารแล้วนั้น ยังรวมถึงเหตุผลของสภาพธุรกิจที่ต้องติดต่อค้าขายกับผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดา และเกษตรกรรายย่อยที่ไม่สามารถจัดทำเอกสารหลักฐานตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งเป็นสาเหตุของการไม่สามารถใช้เป็นค่าใช้จ่ายในทางภาษีของกิจการได้ เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ.2560 กรมสรรพากรได้มีการประกาศพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 629) พ.ศ.2560 ให้มีการปรับปรุงอัตราค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากรประเภท 40 (8) เป็นอัตราเหมาร้อยละ 60 โดยให้เหตุผลว่า อัตราค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักได้จากเงินได้พึงประเมินในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ได้ใช้บังคับมาเป็นระยะเวลานานแล้ว ประกอบกับเพื่อเป็นการสนับสนุนให้บุคคลธรรมดาหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร หรือเปลี่ยนรูปแบบการประกอบกิจการจากบุคคลธรรมดาเป็นนิติบุคคล อันเป็นผลให้ผู้มีเงินได้ต้องจัดทำบัญชีประกอบการหักค่าใช้จ่ายดังกล่าวเพื่อแสดงผลประกอบการที่แท้จริง จากการประกาศลดอัตราค่าใช้จ่ายแบบเหมาร้อยละ 85 เหลือเพียงร้อยละ 60 ส่งผลกระทบอย่างมากต่อผู้ประกอบการฟาร์มสุกรที่มีส่วนต่างกำไรที่ต้องเสียเพิ่มขึ้นจากเดิมถึงร้อยละ 25 หรือเรียกได้ว่าผู้ประกอบการมีกำไรส่วนเกินที่ถูกประเมินโดยกรมสรรพากรสูงถึงร้อยละ 40 ที่จะนำไปหักค่าลดหย่อนแล้วนำไปคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามโครงสร้างอัตราภาษี ซึ่งหากพิจารณาจากสภาพธุรกิจแล้วนั้น กำไรส่วนเกินของสินค้าประเภทสุกรมีเพียง 5-15% โดยเฉลี่ย เนื่องจากผู้ประกอบการฟาร์มสุกรไม่สามารถเป็นผู้กำหนดรายได้ค่าสินค้าให้กับตนเองได้อย่างชัดเจน จากการที่สุกรเป็นสินค้าประเภทโภคภัณฑ์ ราคาของสินค้าขึ้นลงตามอุปสงค์อุปทาน อีกทั้งสุกรเป็นหนึ่งในสินค้าเกษตรกรรมที่ถูกกำกับควบคุมภายใต้กฎหมายว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ภาครัฐจะเข้าแทรกแซงราคาเพื่อดูแลค่าครองชีพของพลเมืองในช่วงที่ราคาสุกรขยับตัวสูง โดยการขอความร่วมมือในการตรึงราคาจำหน่ายสุกรมีชีวิต การประกาศลดอัตราค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 60 จึงไม่สะท้อนให้เห็นถึงผลประกอบการที่แท้จริงของผู้ประกอบการฟาร์มสุกรได้ และยังเป็นการสร้างภาระภาษีที่เพิ่มขึ้นให้กับผู้เสียภาษีเงินได้อีกด้วย ดังนั้น ด้วยเหตุผลและความจำเป็นตามที่กล่าวมาจึงต้องศึกษาถึงความเหมาะสมของการบังคับลดอัตราเหมาจ่ายแก่กลุ่มเกษตรกรรายย่อย และศึกษามาตรการและวิธีการในการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากผู้ประกอบธุรกิจฟาร์มสุกรที่มีประสิทธิภาพและสามารถสะท้อนให้เห็นถึงรายได้ที่แท้จริงของผู้ประกอบการ แทนการบังคับให้ผู้ประกอบการบุคคลธรรมดาเข้าสู่ระบบนิติบุคคลen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.139-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาen_US
dc.subjectสิทธิประโยชน์ทางภาษีen_US
dc.titleปัญหาการลดอัตราค่าใช้จ่ายแบบเหมาสำหรับการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากรณีฟาร์มสุกรรายย่อยen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorwimpat.r@chula.ac.th-
dc.subject.keywordการคำนวณภาษีen_US
dc.subject.keywordการจัดเก็บภาษีen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2020.139-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6280017734.pdf2.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.