Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77651
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisor์วิมพัทธ์ ราชประดิษฐ์-
dc.contributor.authorณัฐพงษ์ บุญรังษี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-10-28T08:16:06Z-
dc.date.available2021-10-28T08:16:06Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77651-
dc.descriptionเอกัตศึกษา (ศศ.ม)—จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563en_US
dc.description.abstractการรับรู้รายได้และรายจ่ายของธุรกิจประกันชีวิตต้องอาศัยการคำนวณโดยใช้การประมาณ การและสมมติฐานที่สำคัญ เช่น สมมติฐานทางคณิตศาสตร์ประกันภัย ความเสี่ยงทางด้านการเงิน ความเสี่ยงจากตัวสัญญาประกันภัย และการคิดลดมูลค่าเงินปัจจุบัน เป็นต้น เมื่อทำการศึกษาการรับรู้ รายได้และรายจ่ายเพื่อคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากรที่กำหนดให้ ใช้เกณฑ์สิทธิ์โดยให้รับรู้รายจ่ายสำรองประกันชีวิตและรายจ่ายสำรองเบี้ยของสัญญาที่ไม่ใช่สัญญา คุ้มครองชีวิตเฉพาะส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 65 และ 40 ของจำนวนเบี้ยประกันภัยที่ได้รับในรอบ ระยะเวลาบัญชีหลังจากหักเบี้ยประกันภัยซึ่งเอาประกันต่อออกแล้ว ตามลำดับ หลักเกณฑ์ดังกล่าวไม่สอดคล้องกับลักษณะการรับรู้รายได้และรายจ่ายตามรูปแบบการ ดำเนินธุรกิจของบริษัท รวมถึงการรับรู้รายได้และรายจ่ายทางบัญชีรูปแบบใหม่ตามมาตรฐานการ รายงานทางการเงินฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาประกันภัย ที่จะมีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2567 และ กำหนดให้บริษัทรับรู้รายได้และรายจ่ายจากการรับประกันภัยสำหรับความคุ้มครองที่เหลืออยู่โดย สะท้อนการให้การบริการตามสัญญาและสิ่งตอบแทนที่บริษัทคาดว่าจะมีสิทธิได้รับจากการให้บริการ ดังกล่าวโดยใช้หลักการปันตามการล่วงของเวลา ความแตกต่างดังกล่าวส่งผลให้เกิดผลต่างระหว่าง กำไร (ขาดทุน) สุทธิทางภาษีและกำไรที่ (ขาดทุน) ที่แท้จริงจากการดำเนินธุรกิจ ทำให้เกิดต้นทุนค่า เสียโอกาสในการนำเงินรายได้เบี้ยประกันภัยไปลงทุนเพื่อให้เกิดผลตอบแทนส่วนเพิ่มและเงินสำรอง ของบริษัทที่ควรกันไว้สำหรับผู้เอาประกันภัย เมื่อทำการศึกษาและวิเคราะห์เปรียบเทียบหลักเกณฑ์การรับรู้รายได้และรายจ่ายของบริษัท ประกันชีวิตของเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนและสาธารณรัฐเกาหลีพบว่ามี ความสอดคล้องกันระหว่างกับลักษณะการรับรู้รายได้และรายจ่ายตามรูปแบบการดำเนินธุรกิจของ บริษัทประกันชีวิต รวมถึงหลักการทางบัญชีและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง เช่น มาตรฐานการบัญชีและ มาตรฐานการรายงานทางการเงินและรายงานตามข้อบังคับที่บริษัทถือปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน ส่งผลให้ รายจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลที่เกิดขึ้นมีความสมเหตุสมผลและไม่เป็นภาระที่เกินความจำเป็น ดังนั้น การแก้ไขบทบัญญัติตามกฎหมายให้บริษัทประกันชีวิตในประเทศไทยสามารถรับรู้ รายได้และรายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลที่สอดคล้องกับลักษณะของธุรกิจ ตามที่ได้มีการ ปฏิบัติในต่างประเทศ นอกจากจะทำให้เกิดความเป็นธรรมแก่ภาคธุรกิจในเรื่องของภาระรายจ่ายภาษี เงินได้ ยังช่วยเพิ่มสภาพคล่อง เงินสำรองและเงินทุนสะสม เพื่อใช้ในการลงทุนและเกิดประโยชน์ต่อผู้ เอาประกันภัยen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.141-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการคำนวณภาษีอากรen_US
dc.subjectประกันชีวิต -- การบัญชีen_US
dc.titleปัญหาของการรับรู้รายได้และรายจ่ายในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทประกันชีวิตen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorwimpat.r@chula.ac.th-
dc.subject.keywordรายได้en_US
dc.subject.keywordบริษัทประกันชีวิตen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2020.141-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6280031434.pdf1.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.