Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77744
Title: | การปรับปรุงสมรรถนะกระบวนการผลิต โดยอาศัยโครงสร้างรางวัลคุณภาพแห่งชาติ : กรณีศึกษาโรงงานอิเล็กทรอนิกส์ประเภทแผงวงจรรวมไฟฟ้า |
Other Titles: | Improvement of manufacturing process performance based on Thailand quality award framework : a case study of an electronics company of integrated circuit |
Authors: | สิริมา อินทวงศ์ |
Advisors: | ประเสริฐ อัครประถมพงศ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Subjects: | การจัดการโรงงาน การควบคุมกระบวนการผลิต โรงงาน -- การควบคุมคุณภาพ Factory management Process control Factories -- Quality control |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการปรับปรุงสมรรถนะกระบวนการผลิตในโรงงานอิเล็กทรอนิกส์ประเภทแผงวงจรรวมไฟฟ้า โดยอาศัยโครงสร้างรางวัลคุณภาพแห่งชาติในหมวด 6 (การจัดการกระบวนการ) และหมวด 7 (ผลลัพธ์ทางธุรกิจ) ผลจากการประเมินองค์กรประกอบกับการวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน พบว่ามีดัชนีวัดประสิทธิภาพกระบวนการผลิตที่ต้องทำการปรับปรุงมี 3 เรื่องดังต่อไปนี้ 1.ข้อร้องเรียนด้านคุณภาพจากลูกค้า (CQC) 2.ดัชนีชี้วัดกระบวนการผลิต (Cpk) 3.ข้อบกพร่องหนึ่งในล้านส่วน (DPPM) แนวทางการพัฒนาเริ่มจากการใช้แผนผังก้างปลา การวิเคราะห์ Why-Why ประกอบกับเครื่องมือด้านคุณภาพและเครื่องมือทางสถิติ เพื่อรวบรวมปัจจัยที่มีผลกระทบทั้งหมดแล้วจึงทำการปรับปรุงและเฝ้าระวังข้อมูลอย่างใกล้ชิด จากผลการวิจัยสรุปได้ว่า CQC ลดจาก 16 เรื่องเป็น 0 เรื่อง Cpk เฉลี่ยเพิ่มจาก 1.07 เป็น 1.42 DPPM ที่การตรวจสอบลักษณะทางกายภาพของตัวไอซี มีแนวโน้มลดลงคือ 35 30 และ 14 ในช่วงไตรมาสที่ 1 2 และ 3 ปี 2003 ตามลำดับ และ DPPM ที่การตรวจสอบคุณภาพภายนอกของตัวไอซี มีแนวโน้มลดลงเช่นกันคือ 14 11 และ 6 ในช่วงไตรมาสที่ 1 2 และ 3 ปี 2003 ตามลำดับ คะแนนประเมินหลังการปรับปรุง พบว่าหมวด 6.1 (กระบวนการที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการ) คะแนนเท่าเดิมคือ 61.1% หมวด 6.2 (กระบวนการทางธุรกิจ) เพิ่มจาก 60.0% เป็น 66.7% และหมวด 6.3 (กระบวนการสนับสนุน) เพิ่มจาก 58.6% เป็น 64.3% หมวด 7.4 (ผลลัพธ์ด้านประสิทธิผลขององค์กร) เพิ่มจาก 45.6% เป็น 58.9% โดยสรุปโรงงานกรณีศึกษาสามารถใช้วิธีดำเนินการของการบริหารจัดการสมรรถนะกระบวนการผลิตจากการวิจัยเป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานทั้งในด้านการลดต้นทุนการผลิต การสร้างความพึงพอใจต่อลูกค้า การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการ การปรับปรุงคุณภาพสินค้า รวมถึงการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง และการสร้างวัฒนธรรมด้านคุณภาพและการเพิ่มผลผลิตภายในองค์กร |
Other Abstract: | The purpose of this research is to improve and develop the process performance in an electronics company of integrated circuit which is base on Thailand Quality Award framework in module 6 (Process Management) and Module 7 (Business results). From self-assessment results and current situation analysis, we found 3 process performance indexes need improvement, as listed below :- 1.Customer Quality Complaints (CQC)2. Process Capability Index (Cpk) 3.Defect Parts Per Million (DPPM) The improvement started by applying cause and effect diagram, why-why analysis, quality tools, and statistical tools to collect the critical factors of each items. Then, define corrective actions and monitor the trend of data. The result demonstrates that the CQC was reduced from 16 issues to zero issue. Average Cpk increased from 1.07 to 1.42, DPPM trend at Final Visual Inspection was reduced from 35,30, and 14 in Quarter 1,2, and 3 Year 2003 and DPPM trend at Final Outgoing Inspection was reduced from 14,11, and 6 in Quarter 1,2, and 3 Year 2003, respectively. The score of self-assessment after improvement was increased from 60.0% to 66.7% in module 6.2 (Business Processes) and 58.6% to 64.3% in module 6.3 (Support Processes), but module 6.1 (Product and Service Processes) the score was maintained at 61.1%. For module 7.4 (Organizational Effectiveness), the score was increased from 45.6% to 58.9%. In conclusion, the factory can use this methodology of process management as guideline to reduce production cost, increase customer satisfaction, improve production efficiency, develop employee skills, and quality and productivity culture. |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมอุตสาหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77744 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.1260 |
ISSN: | 9741736789 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2003.1260 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sirima_in_front_p.pdf | หน้าปกและบทคัดย่อ | 1.11 MB | Adobe PDF | View/Open |
Sirima_in_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 1.4 MB | Adobe PDF | View/Open |
Sirima_in_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 1.55 MB | Adobe PDF | View/Open |
Sirima_in_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 3.62 MB | Adobe PDF | View/Open |
Sirima_in_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 2.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
Sirima_in_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 4.04 MB | Adobe PDF | View/Open |
Sirima_in_ch6_p.pdf | บทที่ 6 | 827.25 kB | Adobe PDF | View/Open |
Sirima_in_back_p.pdf | บรรณานุกรมและภาคผนวก | 1.61 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.