Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77796
Title: การสมานลักษณ์ของชาวอินเดียพลัดถิ่นในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: The assimilation of Indian diaspora in Bangkok
Authors: ปิยมาส วงศ์พลาดิสัย
Advisors: ภาณุภัทร จิตเที่ยง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สารนิพนธ์ในหัวข้อ “การสมานลักษณ์ของชาวอินเดียพลัดถิ่นในกรุงเทพมหานคร” มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจพลวัตความหลากหลายของชาวอินเดียในสังคมไทย และเพื่อศึกษาการสมานลักษณ์ของชาวอินเดียที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร โดยแบ่งชาวอินเดียออกเป็นสองกลุ่มคือ หนึ่ง กลุ่มชาวอินเดียที่ครอบครัวย้ายถิ่นเข้ามายังกรุงเทพมหานครก่อนศตวรรษที่ 21 หรือกลุ่มชาวไทยเชื้อสายอินเดีย และสอง กลุ่มชาวอินเดียที่ย้ายถิ่นเข้ามายังกรุงเทพมหานครในศตวรรษที่ 21 โดยสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับวิถีชีวิต ความคิด ความเชื่อ และประสบการณ์ในการอาศัยในกรุงเทพมหานคร เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างและความความสอดคล้องของการพลัดถิ่นและการสมานลักษณ์ของทั้งสองกลุ่ม ว่ามีการปรับตัวเข้าสู่สังคมกรุงเทพมหานครอย่างไร  สารนิพนธ์ฉบับนี้ใช้กรอบทฤษฎีคนพลัดถิ่น (Diaspora theory) วิเคราะห์การรักษาอัตลักษณ์ของชาวอินเดียในกรุงเทพมหานคร และใช้กรอบทฤษฎีการสมานลักษณ์ (Assimilation theory) วิเคราะห์การเรียนรู้และปรับตัวของชาวอินเดียในกรุงเทพมหานคร รวมถึงการปรับตัวในฝั่งของสังคมไทยที่รับเอาชาวอินเดียเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในสังคมกรุงเทพมหานคร ผลการศึกษาพบว่า ชาวอินเดียที่ย้ายถิ่นเข้ามายังกรุงเทพมหานครในศตวรรษที่ 21 สามารถคงอัตตลักษณ์บ้านเกิดไว้ได้ดีกว่า เนื่องจากยังรักษาสัมพันธ์กับบ้านเกิดไว้ได้อย่างแนบแน่นและมองว่าอินเดียเป็นมาตุภูมิที่แท้จริง ขณะที่ชาวอินเดียที่ครอบครัวย้ายถิ่นเข้ามายังกรุงเทพมหานครก่อนศตวรรษที่ 21 แม้จะไม่ได้มีการรักษาสัมพันธ์กับประเทศอินเดียได้อย่างแนบแน่น แต่ก็สามารถคงอัตลักษณ์บางประการไว้ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะวิถีปฏิบัติทางศาสนา เนื่องจากมีการสร้างชุมชนชาวอินเดียที่มีศูนย์กลางทางศาสนาหลายแห่งในกรุงเทพมหานคร และมีการส่งต่อเรื่องราวและวิถีปฏิบัติภายในครอบครัวไว้  อย่างไรก็ตาม ชาวอินเดียที่ครอบครัวย้ายถิ่นเข้ามายังกรุงเทพมหานครก่อนศตวรรษที่ 21 มีการสมานลักษณ์กับสังคมกรุงเทพมหานครได้เป็นอย่างดีเช่นกัน เนื่องจากถือเป็นพลเมืองไทยที่เกิดและเติบโตในประเทศไทย หรือเรียกว่า “กลุ่มชาวไทยเชื้อสายอินเดีย” อีกทั้งคนส่วนใหญ่ในกรุงเทพมหานครและมุมมองของรัฐไทยมองว่าการเข้ามาของชาวอินเดียเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อกัน จึงถือเป็นการสมานลักษณ์จากทั้งสองฝั่งอย่างกลมกลืน ส่วนชาวอินเดียที่ย้ายถิ่นเข้ามายังกรุงเทพมหานครในศตวรรษที่ 21 มีการสมานลักษณ์ในระดับผิวเผิน เนื่องจากระยะเวลาที่เข้ามาในกรุงเทพมหานครเป็นเพียงระยะสั้น ๆ และมีจุดประสงค์เพื่อประกอบอาชีพในระยะหนึ่งเท่านั้น ซึ่งความแตกต่างของการรักษาอัตลักษณ์และสมานลักษณ์ของชาวอินเดียทั้งสองกลุ่ม ชี้ให้เห็นว่า สาเหตุในการย้ายถิ่นและระยะเวลาในการอยู่อาศัยในดินแดนใหม่ ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเข้มข้นในการคงอัตลักษณ์บ้านเกิดและการสมานลักษณ์ของชาวอินเดียกับสังคมไทย
Other Abstract: This independent study on “the assimilation of Indian diaspora in Bangkok” aims to understand the diversity of Indians in Thai society and to study their assimilation experiences. This study divides Indians into two groups: First group is  the Indian whose family migrated to Bangkok before the 21st century, or a group of Thai-Indian, Second is the Indian who migrated to Bangkok in the 21st century. In-depth interviews were conducted to learn about their way of living, thoughts, beliefs and lived experiences in Bangkok. I compared the differences and coherence of the homeland’s identity maintenance and the assimilation experiences between the two groups. Using the diaspora and assimilation theories, this study found that Indians migrating to Bangkok in the 21st century are better able to maintain their motherland’s identity than another group. They still maintain a close relationship with their place of origin and perceive India as their motherland. For the group of Indians whose families migrated to Bangkok before the 21st century, although they no longer maintain close ties with India, but they can retain some identity such as  religious practices through the engagement with the religious centers in Bangkok. This study found that this group assimilates with the society in Bangkok very well because they have become Thai citizens being born, raised, and lived in Thailand. They have become "Thai-Indian". Moreover, Thailand has positive perception towards Indians living in Thailand as both are beneficial to each other to assimilate harmoniously. The factors that differentiate the assimilation outcomes between the two groups of Indians are period living in new land and the reasons for migration, which affect the differences in maintaining the identity and the assimilation of the two groups.
Description: สารนิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77796
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.266
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2020.266
Type: Independent Study
Appears in Collections:Pol - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6280082824.pdf1.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.