Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77801
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกัลยา เจริญยิ่ง-
dc.contributor.authorมาริสา สกุลชัย-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-11-16T02:13:08Z-
dc.date.available2021-11-16T02:13:08Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77801-
dc.descriptionสารนิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563-
dc.description.abstractไต้หวันเป็นหนึ่งในหลายประเทศที่พบปัญหาการค้าทาสกลางทะเล แรงงานจำนวนมากถูกกดขี่ และละเมิดสิทธิภายใต้ห่วงโซ่การผลิตของอุตสาหกรรมประมง ตั้งแต่กระบวนการจ้างงาน กลไกการผลิตจนได้สินค้าออกสู่ตลาด แม้ว่าภายหลังการปลดใบเหลืองจากสหภาพยุโรปปี 2016 เป็นต้นมา ไต้หวันจะมีการปฏิรูปกฎระเบียบเพื่อจัดการกับปัญหาการใช้แรงงานบังคับ แต่ผลปรากฏว่าในปัจจุบันยังคงพบปัญหาการละเมิดสิทธิและขูดรีดแรงงานประมง สารนิพนธ์ฉบับนี้จึงมุ่งศึกษารูปแบบการใช้แรงงานบังคับบนเรือประมงสัญชาติไต้หวัน และการดำเนินนโยบายรัฐที่ส่งผลต่อนายทุนและแรงงานประมงสมัยรัฐบาลไช่ อิงเหวินระหว่างปี ค.ศ.2016 – 2021 โดยใช้กรอบแนวคิดรัฐเสรีนิยมใหม่เพื่ออธิบายพฤติกรรมของรัฐในกระบวนการกดขี่แรงงานภายใต้ห่วงโซ่อุปทานโลกและใช้แนวคิดเรื่อง “ระยะทาง” มาอธิบายในมิติการเคลื่อนย้ายภายในห่วงโซ่การผลิต จากการศึกษาพบว่า รัฐมีบทบาทสำคัญต่อการเกิดปัญหาการขูดรีดแรงงานประมงต่างชาติบนเรือประมงสัญชาติไต้หวัน ซึ่งมีส่วนช่วยในการอำนวยความสะดวกแก่กลุ่มทุนภายในห่วงโซ่การผลิตของอุตสาหกรรมประมงซึ่งอยู่ในพื้นที่ยกเว้นจากรัฐในการตรวจสอบและปราศจากกฎหมายควบคุม โดยใช้ช่องว่างด้านระยะทางทั้งในด้านเชิงกายภาพ เชิงความรู้ และเชิงกฎหมาย ในการละเมิดและกดขี่แรงงานประมงข้ามชาติเพื่อตอบสนองต่อผลประโยชน์รัฐซึ่งเกี่ยวข้องกับกลุ่มทุน-
dc.description.abstractalternativeTaiwan is one of the countries encountering slavery at sea. Workers struggle against oppression and rights infringement throughout the seafood supply chain, from the hiring process, production mechanism to distribution. Although the European Union rescinded a yellow card in 2016 in response to the amended regulations on illegal fishing and forced labor, the results show that rights violations and exploitation of workers in the fisheries sector remain in Taiwan. Hence, this independent study aims to study the pattern of forced labor on Taiwanese fishing vessels and the policy implemented on capitalists and fishing workers in the Tsai Ing-wen era (2016 – 2021). This paper uses the neoliberal state framework to explain the behavior of states in the process of oppression of workers in the global supply chain and the concept of distancing to describe movements within the production chain. This study argues that the state plays a contributing role to the existing exploitation of foreign fishing workers on Taiwanese fishing vessels. The state also facilitates capitalists' supply chain activities in the so-called Zone of Exception, where there is a lack of monitoring and regulations. The state exploits physical, knowledge, and legal distancing gaps to abuse and oppress foreign fisheries workers to reap capitalists-related benefits.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.271-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationSocial Sciences-
dc.titleทาสกลางทะเล: บทบาทของรัฐและนายทุนกับการขูดรีดแรงงานบนเรือประมงสัญชาติไต้หวัน-
dc.title.alternativeSlavery at sea: the role of the state and capitalists in the exploitation of workers on Taiwanese fishing vessels-
dc.typeIndependent Study-
dc.degree.nameรัฐศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2020.271-
Appears in Collections:Pol - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6280109124.pdf1.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.