Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78097
Title: ผลของพารามิเตอร์ในการสปัตเตอร์ต่อการปลูกฟิล์มบางคอปเปอร์ออกไซด์
Other Titles: Effects of sputtering parameters on copper oxide thin film growth
Authors: ปฐมพงศ์ ชนะนิล
Advisors: ขจรยศ อยู่ดี
ชาญวิทย์ จิตยุทธการ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: ฟิล์มบาง
คอปเปอร์ออกไซด์
Thin films
Copper oxide
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การปลูกฟิล์มบางชนิดคิวไพรต์(Cu₂O)โดยเทคนิค รีแอคทีฟ ดีซีแมกนิตรอนสปัตเตอริงภายใต้บรรยากาศของแก๊ส อาร์กอนและออกซิเจน จากเป้าที่เป็นทองแดงบริสุทธิ์ลงบนแผ่นรองรับกระจกโซดา-ไลม์ที่ความดันแก๊สรวม 6x10-3 มิลลิบาร์ และเปลี่ยนความดันย่อยของแก๊สออกซิเจนจาก 0 ถึง 15% เพื่อศึกษาการวิวัฒน์ของฟิล์มบางคิวไพรต์ที่อุณหภูมิปกติ ที่มีอัตราการปลูกฟิล์มต่ำ โดยกำหนดกำลังไฟฟ้าในการสปัตเตอรริง 5 วัตต์ แล้ววิเคราะห์สมบัติการส่งผ่านแสง การเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์(XRD) วิเคราะห์พื้นผิวโดยใช้กล้องจุลทรรศน์แบบแรงระหว่างอะตอม (AFM) และวิเคราะห์สมบัติเชิงไฟฟ้าของฟิล์มบางนี้ โดยการวัดฮอลล์(Hall measurement) ผลจากการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์พบว่า ฟิล์มที่ได้จากการปลูกภายใต้แก๊สออกซิเจน 5% เป็นฟิล์มบางคิวไพรต์แบบพหุผลึก มีระนาบ(111)เป็นหลักตามโครงสร้างแบบลูกบาศก์ ฟิล์มบางคิวไพรต์นี้แสดงการเป็นสารกึ่งตัวนำชนิด พี เล็กน้อย โดยมีค่าการส่องผ่านแสงร้อยละ 85 ในช่วงความยาวคลื่นแสง 700 ถึง 2600 นา-โนเมตร และคำนวณค่าช่องว่างแถบพลังงานเชิงแสงของฟิล์มนี้ได้ 2.58 อิเลคตรอนโวลท์ ผลจากกล้องจุลทรรศน์แบบแรงระหว่างอะตอมแสดงการเพิ่มของค่าเฉลี่ยของความขรุขระ(Rrms)ตามการเพิ่มความหนาของฟิล์ม ฟิล์มบางคิวไพรต์นี้ขึ้นกับเงื่อนไขการปลูกซึ่งมีค่าใกล้เคียงตามสัดส่วนโมเลกุลและฟิล์มนี้ทนต่อการเผา แต่ค่าความดันแก๊สย่อยของออกซิเจน กำลังไฟฟ้าของการสปัตเตอรริง และอุณหภูมิของแผ่นรองรับมีผลต่อสมบัติของฟิล์มเป็นอย่างมาก เพื่อที่จะเพิ่มจำนวนพาหะชนิดบวก(Hole) เพิ่มอัตราการปลูกฟิล์ม และลดค่าความต้านทานไฟฟ้า จึงปลูกฟิล์มนี้โดยการปลูกแบบหลายชั้น พบว่าสามารถเพิ่มพาหะชนิดบวกได้ถึง 4.6x10¹⁸ ต่อลูกบาศก์เซนติเมตร อัตราการปลูกฟิล์มบางคิวไพรต์เพิ่มขึ้นสามเท่า ในขณะที่สภาพต้านทานไฟฟ้ามีค่า 0.87 โอร์มเซนติเมตร โดยมีค่าการส่องผ่านแสงมากกว่าร้อยละ70
Other Abstract: Reactive DC-magnetron sputtering technique under the mixture of O₂ and Ar gas is used to prepare Cu₂O thin films from pure metallic Cu target. The films coated on soda-lime glass substrates are grown at the total pressure of 6×10⁻³ mbar under various O₂ partial pressures from 0 to 15%. The evolution of Cu₂O thin films at ambient temperature is investigated under low deposition rate obtained at sputtering power of 5 Watt. All films are characterized by optical transmission spectroscopy, XRD, AFM and Hall measurement. The XRD results reveal that the as-grown film with O₂ partial pressure of 5% is Cu₂O polycrystalline thin film (cuprite phase) with (111) plane preferred orientation under a cubic system. The Cu₂O thin film exhibits slightly p-type conductivity and high optical transmittance of 85% between the wavelengths of 700 to 2600 nm with the calculated optical band-gap of 2.58 eV. The AFM results reveal an increase of root mean square roughness (Rrms) with increasing thickness. The Cu₂O films obtained by the typical growth condition were nearly stoichiometric and these films tolerate against annealing process. The Cu₂O films are strongly affected by O₂ partial pressure, sputtering power and substrate temperature. In order to increase the hole concentration, to increase deposition rate and to decrease resistivity, the multi-layer Cu₂O films are introduced. Thus, the hole concentration increases to 4.6×10¹⁸ cm⁻³, the deposition rate increased three times, and the resistivity decreases to 0.87 Ωcm. In addition, the optical transmittances of the films are above 70%.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ฟิสิกส์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78097
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
4972355623_2553.pdfวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม (Fulltext)5.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.