Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78320
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนวพร วินยเวคิน-
dc.contributor.authorภัทรนนท์ วงค์กาศ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-03-17T09:50:39Z-
dc.date.available2022-03-17T09:50:39Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78320-
dc.descriptionโครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562en_US
dc.description.abstractการเปลี่ยนรูปทางชีวภาพ (Biotransformation) เป็นกระบวนการแปลงเปลี่ยนสารเป็นสารใหม่ด้วยวิธีการทางชีวภาพ เช่น จุลินทรีย์ งานวิจัยนี้ต้องการนำวิธีการเปลี่ยนรูปทางชีวภาพมาเปลี่ยนโครงสร้างทางโมเลกุลของสารสำคัญหลักที่พบในกากขิงให้เป็นสารใหม่ ที่อาจมีฤทธิ์ดีกว่าหรือแตกต่างไปจากเดิม ซึ่งอาจช่วยเพิ่มมูลค่าให้กากขิงได้ ผู้วิจัยได้แยกรา 12 สายพันธุ์จากดินใต้ต้นขิง ได้แก่ ราสายพันธุ์ GS1, GS2, GS3, GS4, GS6, GS7, GS8, GS10, GS12, GS13, GS14 และ GS15 และศึกษาความสามารถของราเหล่านี้ในการเปลี่ยนรูปทางชีวภาพของสารสำคัญหลักในสารสกัดจากกากขิง เช่น 6-gingerol และ 6-shogaol ซึ่งพบว่า ราเหล่านี้สามารถเปลี่ยนสารสำคัญหลักในสารสกัดจากกากขิงเป็นผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกันทั้งหมด 8 ชนิด ในราเหล่านี้ มีรา 5 สายพันธุ์ ได้แก่ ราสายพันธุ์ GS1, GS3, GS6, GS7, และ GS14 ที่มีความสามารถเปลี่ยนสารตั้งต้นเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีพื้นที่ใต้พีคค่อนข้างสูงในโครมาโทแกรม HPLC อีกทั้งยังครอบคลุมกับพีคของผลิตภัณฑ์ใหม่ทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากราสายพันธุ์อื่น ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาหาภาวะที่เหมาะสมที่สุดต่อการเก็บและแยกผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เกิดขึ้นจากรา 5 สายพันธุ์นี้ โดยวิเคราะห์จากการเปลี่ยนแปลงของพี้นที่ใต้พีคของสารตั้งต้น คือ 6-gingerol และ 6-shogaol ในสารสกัดจากกากขิง และผลิตภัณฑ์ใหม่จากการเปลี่ยนรูปทางชีวภาพ ซึ่งมีเวลาบนโครมาโทแกรม HPLC ต่างออกไปจากชุดควบคุมที่ไม่มีราที่เวลาต่าง ๆ จากการทดลอง พบว่า ราสายพันธุ์ GS1, GS3, GS6 และ GS7 สามารถเปลี่ยนรูปทางชีวภาพได้ทั้ง 6-gingerol และ 6-shogaol โดย GS1 และ GS3 ให้ผลิตภัณฑ์ที่เวลา 12.9 นาที โดยภาวะที่เหมาะสมที่สุดต่อการเก็บและแยกผลิตภัณฑ์นี้คือที่เวลา 3 และ 2 วันหลังการบ่ม ตามลำดับ, GS6 ให้ผลิตภัณฑ์ที่เวลา 15.9 และ 19.5 นาที และภาวะที่เหมาะสมที่สุดคือที่ เวลา 2 วัน หลังการบ่ม และ GS7 ให้ผลิตภัณฑ์ที่เวลา 10.7, 15.4, 19.5 และ 23.1 นาที ภาวะที่เหมาะสมที่สุด คือ ที่เวลา 7,7,1 และ 3 วันหลังการบ่ม ตามลำดับ ในขณะที่ราสายพันธุ์ GS14 สามารถเปลี่ยนรูปทางชีวภาพของ 6-shogaol เท่านั้น และให้ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เวลา 19.5 นาที ซึ่งภาวะที่เหมาะสมที่สุดต่อการเก็บและแยกผลิตภัณฑ์นี้คือ ที่เวลา 2 วันหลังการบ่ม ผลการทดลองนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการพิสูจน์เอกลักษณ์ของสารผลิตภัณฑ์ และการแยกสารเพื่อทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพทั้งต่อสุขภาพและทางการเกษตรต่อไปen_US
dc.description.abstractalternativeBiotransformation is a process that changes a substance to a new compound by a biological method, such as by microorganisms. This research aims to use the process of biotransformation for changing the molecular structure of major substances founded in ginger bagasse extract into new substances. The quality of new substances may be better than or different from the former substances, and it may increase the value of ginger bagasse. Therefore, the researcher isolated 12 strains of fungi from soil underneath ginger tree, which were strains GS1, GS2, GS3, GS4, GS6, GS7, GS8, GS10, GS12, GS13, GS14 and GS15, and studied the abilities of these fungi for biotransformation of the major substances in ginger bagasse extract, e.g. 6-gingerol and 6-shogoal, which found that these fungi had the abilities to change the major substances in ginger bagasse extract into 8 new different products. Among these fungi, five of them, GS1, GS3, GS6, GS7 and GS14, were able to change the reactants into new products with relatively high peak areas on HPLC chromatograms. In addition, these product peaks covered all other product peaks produced by other fungal strains. Thus, the researcher examined the most appropriate conditions for storing and separating the new products occurring from these 5 fungal strains by analyzing the changes in peak areas of the reactants which are 6-gingerol and 6-shogaol, in ginger bagasse extract and of new products from biotransformation, which had different retention time (RT) on HPLC chromatograms from those of controls without fungus, at various time. From the experiment, it was found that the fungal strains GS1, GS3, GS6 and GS7 could biotransform both 6-gingerol and 6-shogaol. GS1 and GS3 gave the product with the RT of 12.9 minutes, and the most appropriate condition for storing and separating the product was at day 3 and 2 after incubation, respectively. GS6 gave the products with the RT of 15.9 and 19.5 minutes, and the most appropriate conditions were at days 2 after incubation. GS7 gave the products with the RT of 10.7, 15.4, 19.5, and 23.1 minutes, and the most appropriate conditions were at days 7, 7, 1 and 3 after incubation, respectively. On the other hand, GS14 could biotransform 6-shogaol only, and gave new product at the RT of 19.5 minutes, and its most appropriate condition for storing and separating product was at day 2 after incubation. The findings will be beneficial for the characterization and the separation of products to test for the biological activities both relating to health and agriculture in the future.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectเชื้อราen_US
dc.subjectขิง -- การสกัด (เคมี)en_US
dc.subjectการเปลี่ยนโครงสร้างทางเคมีen_US
dc.subjectFungien_US
dc.subjectBiotransformation (Metabolism)en_US
dc.subjectGinger -- Extraction (Chemistry)en_US
dc.titleการเปลี่ยนรูปทางชีวภาพของสารสกัดจากกากขิงด้วยราen_US
dc.title.alternativeFungal biotransformation of ginger bagasse extracten_US
dc.typeSenior Projecten_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62-SP-CHEM-038 - Pattaranon Wong.pdf3.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.