Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78375
Title: | ราเอนโดไฟต์จากใบพืชในป่าเต็งรัง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน |
Other Titles: | Endophytic fungi from plant leaves in dipterocarp forest, Viengsa District, Nan province |
Authors: | ธนวัช สุจริตวรกุล |
Advisors: | โสภณ เริงสำราญ ประกิตติ์สิน สีหนนทน์ |
Subjects: | เชื้อราเอนโดไฟต์ Endophytic fungi |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ในการตรวจสอบความหลากหลายทางชีวภาพของราเอนโดไฟต์ในป่าเต็งรัง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ประเทศไทย โดยเป็นการรายงานครั้งแรกที่เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพของราเอนโดไฟต์ในพื้นที่นี้ นอกจากนี้ยังศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของราเอนโดไฟต์ที่แยกได้ ได้แก่ การยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ทดสอบ คือ Staphylococcus aureus, Bacillus subtilis, Pseudomonas aerogenosa, Escherichia coli และ Candida albicans โดยวิธี paper disk susceptibility test และการยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง 5 ชนิด ได้แก่ เซลล์มะเร็งเต้านม (BT474), เซลล์มะเร็งตับ (HEP-G2), เซลล์มะเร็งกระเพาะอาหาร (KATO III), เซลล์มะเร็งปอด (CHAGO) และเซลล์มะเร็งลำไส้ (SW 620) โดยวิธี MTT assay ได้ราเอนโดไฟต์ 18 สกุล ที่มีลักษณะทางสัณฐานวิทยาที่แตกต่างกันจากเชื้อราทั้งหมด 302ไอโซเลต ซึ่งแยกได้จากชิ้นตัวอย่างใบพืช 400 ชิ้น ผลการทดลองพบว่าราเอนโดไฟต์ที่แยกจากพืชในฤดูฝนมีจำนวน colonization frequency สูงกว่าราเอนโดไฟต์ที่แยกจากพืชในฤดูแล้ง โดยราเอนโดไฟต์ที่พบมากที่สุด 3 ชนิดแรกคือ Phyllosticta sp.1 (60 ไอโซเลต), Phomopsis sp.1 (54 ไอโซเลต) และ Xylaria sp.1 (44 ไอโซเลต) เมื่อทำการจัดจำแนกเป็นกลุ่มพบว่ารา เอนโดไฟต์ในกลุ่ม celomycetes มีจำนวนมากที่สุด ตามด้วยกลุ่ม ascomycetes และพบกลุ่ม hyphomycetes น้อยที่สุดตามลำดับ และ ราเอนโดไฟต์ที่แยกได้สามารถสร้างสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในการยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ทดสอบได้ โดยพบว่าส่วนสกัดที่ได้มีฤทธิ์ทางชีวภาพในการยับยั้งแบคทีเรียแกรมบวกมากกว่าแบคทีเรียแกรมลบ และ ส่วนสกัดจากราเอนโดไฟต์สายพันธุ์ DTD 6 และ FID 15 ที่แยกได้จากต้นยางพลวง (Dipterocarpus tuberculatus Roxb.) และต้นตะขบป่า (Flacourtia indica Merr.) สามารถสร้างสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในการยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง กระเพะอาหาร (KATO III) ได้อย่างจำเพาะ นำอาหารเลี้ยงเชื้อเหลวของราทั้ง 2 สายพันธุ์มาสกัดด้วยเอทิลแอซิเตต จากนั้นแยกด้วยเทคนิคโครมาโทกราฟีและการตกผลึกได้สาร 2 ชนิดคือ 4-ethylmethoxybenzene และ cytochalasin D พบว่า cytochalasin D มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งได้แก่ SW620, KATO III และ Hep-G2 โดยมีค่า IC₅₀ เท่ากับ 4.66, 5.84 และ4.79 µg/ml ตามลำดับ |
Other Abstract: | The objective of this research is to examine the endophytic fungi biodiversity in Dipterocarp forest at Viengsa district Nan province, Thailand.This is the first report about biodiversity of endophytic fungi for this area. We also tested for antimicrobial activity against reference microorganisms such as Staphylococcus aureus, Bacillus subtilis, Pseudomonas aerogenosa, Escherichia coli and Candida albicans by paper disk susceptibility test, and anticancer activity against reference human cancer cell line including breast (BT 474), hepatoma (HEP-G2), gastric (KATO III), lung (CHAGO) and colon (SW620) by MTT assay. Eighteen fungi morphotaxa were selected and characterized from 302 cultures, which were isolated from 400 samples. The colonization frequency of endophytic fungi in wet season are higher than dry season. Species of Phyllosticta sp.1 (60 isolates), Phomopsis sp.1 (54 isolates) and Xylaria sp.1 (44 isolates) were the most frequently found. Endophytic fungi from different groups mainly belonged to coelomycetes, followed by ascomycetes and hyphomycetes respectively. The crude extract of endophytic fungi showed antimicrobial activity against tested microorganisms. They inhibited Gram positive bacteria more than Gram negative bacteria. The crude extract of endophytic fungi strain DTD 6 and FID 15 which were isolated from Dipetrocarpus tuberculatus Roxb. and Flacourtia indica Merr. inhibited specifically on gastric cancer cell line (KATO III). The ethyl acetate extract of 2 cultures broth were isolated by extraction, chromatographic technique and crystallization to give 2 compounds. On basic of physical properties and spectroscopic data, they were elucidated as 4-ethylmethoxybenzene and cytochalasin D. cytochalasin D showed activities against SW620, KATO III and Hep- G2 with IC₅₀ value of 4.66, 5.84 and 4.79 µg/ml, respectively. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม. )--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เทคโนโลยีชีวภาพ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78375 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
4972590723_2551.pdf | วิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม (Fulltext) | 2.43 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.