Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78416
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุเมธ พันธุวงค์ราช | - |
dc.contributor.author | พรพิพัฒน์ สางาม | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2022-04-20T08:52:03Z | - |
dc.date.available | 2022-04-20T08:52:03Z | - |
dc.date.issued | 2562 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78416 | - |
dc.description | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562 | en_US |
dc.description.abstract | จังหวัดเพชรบุรี เป็นจังหวัดที่มีชื่อเสียงทางด้านแหล่งท่องเที่ยวทางทะเล ทำให้มีนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมากหลั่งไหลเข้ามาเล่นน้ำในจังหวัด แต่ถึงกระนั้นจังหวัดเพชรบุรีก็พบข่าวเหตุการณ์ที่นักท่องเที่ยวได้รับอุบัติเหตุจากการลงเล่นน้ำทะเลเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะที่หาดปึกเตียนและหาดเจ้าสำราญ โดยข่าว มักจะระบุสาเหตุของอุบัติเหตุนั้นว่าเกิดขึ้นจาก การเล่นน้ำของนักท่องเที่ยวในบริเวณที่มีกระแสคลื่นที่รุนแรงคาดว่าบริเวณนั้นอาจเกิดกระแสน้ำป่วน (Rip Current) งานวิจัยในครั้งนี้ จึงมุ่งเน้นการศึกษาไปที่การค้นหาสาเหตุของการเกิดกระแสน้ำป่วน บริเวณหาดเจ้าสำราญถึงหาดปึกเตียน จังหวัดเพชรบุรี อีกทั้งยังคาดการณ์ระดับความรุนแรงของกระแสน้ำป่วนในบริเวณดังกล่าวเพื่อให้ผู้ที่ลงเล่นน้ำได้ตระหนักถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ผลการศึกษา สามารถแบ่งพื้นที่ศึกษาออกเป็น 12 จุดศึกษา โดยแต่ละจุดศึกษาจะมีระยะห่างที่เท่ากัน พบว่าในช่วงฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้นั้น ระดับความรุนแรงของกระแสน้ำป่วนอยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัยทั้ง 12 จุดศึกษา ทว่าในช่วงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ กลับพบพื้นที่ระดับความรุนแรงอยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัยเพียง 5 จุดศึกษา พื้นที่ที่อยู่ในระดับปลอดภัยน้อย 5 จุดศึกษา และพื้นที่ที่อยู่ในเกณฑ์อันตราย 2 จุดศึกษา จาก 12 จุดศึกษา โดยปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดกระแสน้ำป่วนในพื้นที่ศึกษานั้นประกอบไปด้วย ความแตกต่างของลักษณะทางธรณีสัณฐาน, ฤดูมรสุม, ความสูงของคลื่น ณ ขณะนั้น, ระดับน้ำ ณ ขณะนั้น และสิ่งปลูกสร้างนอกชายฝั่ง โดยหาดที่มีความลาดชันสูง มีโอกาสทำให้ระดับความรุนแรงของกระแสน้ำป่วนเพิ่มมากขึ้น ในช่วงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือระดับความรุนแรงของกระแสน้ำป่วนนั้น รุนแรงกว่าช่วงฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มากกว่านั้นความสูงของคลื่น และ ระดับน้ำ หากอยู่ ณ ช่วงเวลาที่น้ำขึ้นสูงสุด ก็จะมีระดับความรุนแรงของกระแสน้ำป่วนที่มากตาม และสิ่งปลูกสร้างนอกชายฝั่งนั้น เป็นสาเหตุร่วมที่ทำให้ลักษณะทางธรณีสัณฐาน เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จนระดับความรุนแรงของกระแสน้ำป่วนในพื้นที่อยู่ในเกณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อผู้ลงเล่นน้ำ | en_US |
dc.description.abstractalternative | Phetchaburi is one of famous and popular tourist destination attracting many tourists especially to the beach.There were a lot of news that tourists have been drowned in the sea. Especially, at Puektian and Choasamran beaches, the news often indicates the cause of accident as rip current. This research is focused on finding the cause of rip currents from Chaosamran Beach to Puektian Beach and predicting the level of hazard. Furthermore, it can inform the tourist about the awareness of accident caused by rip currents. Twelve study sites were divided into one-kilometer equal interval across the shoreline of Puektian to Chaosamran beaches. The influence of southwest monsoon shows the level hazard of rip currents as safe in all 12 study sites. However, during the northeast monsoon, the study found that there were only 5 study sites reported to be safe, 5 study sites to be low safety and 2 study sites in the least safe. Factors affecting the rip current in this study are beach geomorphological variation, seasonal monsoon, wave height, sea level and breakwater. The high slope beach tends to increase the intensity of the rip current. Moreover during the northeast monsoon, the intensity of the rip current is higher than the southwest monsoon. Wave height and sea level during the highest tide can create more dangerous current. The beach geomorphological variation which may be influenced by the presence of breakwater can make the level of hazard higher in this area. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | กระแสน้ำ -- ทะเลอันดามัน | en_US |
dc.subject | หาดปึกเตียน (เพชรบุรี) | en_US |
dc.subject | หาดเจ้าสำราญ (เพชรบุรี) | en_US |
dc.subject | Ocean currents -- Andaman Sea | en_US |
dc.subject | Puektian beaches | en_US |
dc.subject | Choasamran beaches | en_US |
dc.title | การประเมินอันตรายจากกระแสน้ำป่วนจากหาดเจ้าสำราญถึงหาดปึกเตียน จังหวัดเพชรบุรี | en_US |
dc.title.alternative | Rip current hazard assessment from Chaosamran beach to Puek Tian beach, Phetchaburi province | en_US |
dc.type | Senior Project | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
62-SP-GEO-016 - Pornpipat Sa-ngam.pdf | 3.7 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.