Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78441
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกนกวรรณ เสรีภาพ-
dc.contributor.authorวรรณภา ตันติเตชา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-04-21T06:26:48Z-
dc.date.available2022-04-21T06:26:48Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78441-
dc.descriptionโครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562en_US
dc.description.abstractการศึกษาผลของการเคลือบผิวด้วยไคโทซานต่อคุณภาพและอายุการเก็บรักษาของฝักถั่วแขก (Phaseolus vulgaris) หลังการเก็บเกี่ยว โดยใช้ไคโทซานที่ความเข้มข้น 0, 0.25, 0.5 และ 1% ใน สารละลายกรดแอซิติก 0.5% จากนั้นนำไปเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 25 และ 10 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 และ 20 วัน ตามลำดับ จากผลการศึกษา พบว่าการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส การใช้ไคโท ซาน 0.25% เคลือบฝักถั่วแขกทำให้ฝักถั่วแขกมีลักษณะภายนอกที่ปรากฏดีที่สุดและยังช่วยในการรักษา น้ำหนักสดของฝักไว้ได้มากที่สุด คือ มีการลดลงของน้ำหนักสดในวันที่ 5 และ 10 ของการเก็บรักษาเพียง ร้อยละ 12.28 และ 28.75 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ไม่พบความแตกต่างทางสถิติของปริมาณวิตามินซี ค่าการรั่วไหลของสารอิเล็กโทรไลต์ ปริมาณคลอโรฟิลล์ และฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน นอกจากนี้การเก็บรักษา ที่อุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียส พบว่าทั้งลักษณะภายนอก การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักสด การรั่วไหลของสาร อิเล็กโทรไลต์ ปริมาณคลอโรฟิลล์ ปริมาณวิตามินซี และฤทธิ์ต้านออกซิเดชันนั้นไม่มีความแตกต่างทาง สถิติระหว่างชุดทดลอง การใช้ไคโทซานในการเคลือบผิวฝักถั่วแขกที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 10 องศา เซลเซียสจึงไม่สามารถช่วยคงคุณภาพและยืดอายุหลังการเก็บเกี่ยวของฝักถั่วแขกได้ โดยการเคลือบผิว ด้วยไคโทซานความเข้มข้น 1% นั้นมีการลอกของไคโทซานที่เคลือบไว้และที่ความเข้มข้นนี้ยังมีการสูญเสีย น้ำหนักสดที่มากที่สุด ทั้งนี้ ความเข้มข้นของไคโทซานที่ใช้อาจเป็นความเข้มข้นที่สูงเกินไปสำหรับการ เคลือบผิวฝักถั่วแขกen_US
dc.description.abstractalternativeThe effects of chitosan coating on quality and storage life of snap beans were investigated. The snap beans were treated with 0, 0.25, 0.5 and 1% chitosan in 0.5% acetic acid and then stored at 25ºC and 10ºC for 10 and 20 days, respectively. It was found that during storage at 25ºC, 0.25% chitosan coating resulted in the best appearance of snap beans and the lowest weight loss which were 12.28 and 28.75% on day 5 and day 10, respectively. However, there were no significant differences in electrolyte leakage, chlorophyll content, vitamin C content and DPPH inhibition. Moreover, chitosan coating and storage at 10ºC showed no significant differences in appearance, percentage of weight loss, electrolyte leakage, chlorophyll content, vitamin C content and DPPH inhibition. Therefore, chitosan coating at 10ºC cannot prolong the quality and shelf life of snap beans. It was observed that 1% chitosan that coated on snap bean had peeled off while keeping at this temperature and resulted in the highest percentage of weight loss. The concentration of chitosan used in this experiment may be too high for snap bean coating.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectไคโตแซนen_US
dc.subjectสารเคลือบผิวเพื่อป้องกันen_US
dc.subjectการถนอมอาหารen_US
dc.subjectChitosanen_US
dc.subjectProtective coatingsen_US
dc.subjectFood -- Preservationen_US
dc.titleผลของการเคลือบผิวด้วยไคโทซานต่อคุณภาพและอายุการเก็บรักษาของฝักถั่วแขก (Phaseolus vulgaris)en_US
dc.title.alternativeEffects of chitosan coating on quality and storage life of snap bean (Phaseolus vulgaris)en_US
dc.typeSenior Projecten_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62-SP-BOT-020 - Wannapa Tantitecha.pdf987.5 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.