Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78470
Title: การดัดแปลงโครงสร้างของเจลาตินด้วยคอเลสเตอรอลเพื่อการนำส่งเคอร์คูมิน
Other Titles: Modification of gelatin structure with cholesterol for curcumin delivery
Authors: จุฑามาส รุจิสมนภา
Advisors: โศรดา กนกพานนท์
สุทธิลักษณ์ ปทุมราช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Subjects: เจลาติน
โคเลสเตอรอล
เคอคูมิน
Gelatin
Cholesterol
Curcumin
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เจลาตินเป็นโปรตีนที่ละลายน้ำได้ มีสมบัติในการย่อยสลายทางชีวภาพและเข้ากันได้ดีกับร่างกาย มีการใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและยาอย่างแพร่หลาย แต่มีข้อจำกัดที่ไม่สามารถสร้างพันธะกับสารประเภทไม่ละลายน้ำได้ งานวิจัยนี้ศึกษาผลของการดัดแปลงโครงสร้างของเจลาตินโดยการเชื่อมพันธะกับคอเลสเตอรอลผ่านปฏิกิริยาทางเคมีของหมู่ไฮดรอกซิลโดยใช้ N,N’-Disuccinimidyl carbonate เป็นสารเชื่อมพันธะ (conjugating agent) ปริมาณอะมิโนอิสระของเจลาตินดัดแปลงถูกใช้ในการประเมินความสำเร็จของการดัดแปลงโครงสร้างของเจลาติน ปริมาณอะมิโนอิสระของเจลาตินดัดแปลงมีค่าลดลงร้อยละ 4 - 31 เมื่อเพิ่มปริมาณคอเลสเตอรอลในการดัดแปลงจาก 25 – 125 เปอร์เซนต์ของปริมาณหมู่อะมิโนในเจลาติน ความชอบน้ำของเจลาตินที่ทดสอบจากค่ามุมสัมผัสน้ำมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่มปริมาณคอเลสเตอรอล เจลาตินดัดแปลงถูกนำมาขึ้นรูปเป็นแผ่น (hydrogel sheet) และเชื่อมโยงพันธะด้วย glutaraldehyde เพื่อนำไปทดสอบความสามารถในการกักเก็บและปลดปล่อยเคอร์คูมินซึ่งมีสมบัติไม่ชอบน้ำ ระดับการเชื่อมโยงพันธะของแผ่นเจลาตินดัดแปลงมีผลต่อปริมาณยาที่บรรจุ, การดูดซับน้ำ, อุณหภูมิในการย่อยสลาย, การย่อยสลายทางชีวภาพ และปริมาณยาที่บรรจุ การปลดปล่อยเคอร์คูมินเป็นไปตามการย่อยสลายของแผ่นเจลาตินดัดแปลง ซึ่งมีอัตราสัมพันธ์กับปริมาณคอเลสเตอรอลที่ใช้ในการดัดแปลง แผ่นเจลาตินที่ดัดแปลงนี้ไม่แสดงความเป็นพิษต่อเซลล์ L929 mouse fibroblast เมื่อนำไปบรรจุเคอร์คูมินปริมาณ 100 mg และ 400 mg แล้วนำไปฝังใต้ผิวหนังบนหลังของหนู BALB-c mice จากการวิเคราะห์ปริมาณเคอร์คูมินในพลาสมาของตัวอย่างที่ก็บวันที่ 3, 6, 10 และ 14 หลังการปลูกถ่ายพบลักษณะการปลดปล่อยของเคอร์คูมินแบบยั่งยืนเป็นเวลาอย่างน้อย 10 วัน โดยมีระดับเคอร์คูมินในเลือดของสัตว์ทดลองสูงสุดในวันที่ 6 หลังการปลูกถ่าย ผลการทดลองทั้งหมดแสดงถึงความเป็นไปได้ในการใช้เจลาตินดัดแปลงในการควบคุมการนำส่งยาชนิดไม่ละลายน้ำภายในร่างกาย
Other Abstract: Gelatin is a biocompatible and water soluble protein which has been wildly used as a carrier in drug delivery systems. However, hydrophilicity of gelatin may limit its interactions with hydrophobic active agents. In this study, gelatin structure was modified by conjugating with cholesterol through hydroxyl-reactive chemical reaction using N,N’-Disuccinimidyl carbonate as a conjugating agent. Contents of free amino groups of the modified gelatin (determined by 2,4,6-trinitrobenzene sulfonic acid (TNBS) method) was used to evaluate the success of conjugating reactions. Free amino groups of modified gelatin were decreased by 4 – 31 % with the increases of cholesterol by 25 – 125 %. Changes its in hydrophilicities were evaluated from the increases of water contact angles. Cholesterol modified gelatin was fabricated into hydrogel sheets followed by crosslinking with glutaraldehyde. Degree of modification effects the degree of hydrogel crosslink, drug loading, swelling ratio, degradation temperature and biodegradability of the hydrogel sheet. In vitro release of curcumin, a natural antiangiogenesis substance, were tested. Limited diffusion of curcumin from the hydrogel sheets implied strong interactions between curcumin and the modified hydrogel. It was possible to control rate of release by controlling the hydrogel degradation rate. The modified gelatin sheets show no toxicities to L929 mouse fibroblast culture. The curcumin loaded gelatin hydrogel sheets (at 100 mg and 400 mg of curcumin) were subcutaneous implanted on the back of BALB-c mice. HPLC analyses of blood plasma samples (at day 3, 6, 10 and 14) showed sustained release of curcumin for at least 10 days. The plasma curcumin concentration was highest at day 6 after implantation. Results of this study elucidate the promise of using modified gelatin for control release of hydrophobic active agents.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78470
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.2252
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.2252
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
4870261821_2550.pdfวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม (Fulltext)2.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.