Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78539
Title: การตรวจสอบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ตกค้างในเกสรผึ้ง และการระบุชนิดพืชอาหารจากเกสรผึ้งพันธุ์ (Apis mellifera) ในพื้นที่การเกษตร ตำบล ตะนาวศรี อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี
Other Titles: Analysis of pesticide residues and pollen identification in bee pollen from Apis mellifera in Ratchaburi province, Thailand
Authors: อัชฌาพร เลี้ยงเชื้อ
Advisors: ณัฐพจน์ วาฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: ผึ้ง -- ผลกระทบจากยากำจัดศัตรูพืช
สารพิษตกค้างทางเกษตรกรรม
Bees -- Effect of pesticides on
Spraying and dusting residues in agriculture
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้มีการใช้อย่างแพร่หลายในการทำเกษตรกรรมเพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิต ซึ่งการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชมีผลต่อสิ่งมีชีวิตที่เป็นเป้าหมายและไม่ได้เป็นเป้าหมายของการกำจัด อีกทั้งยังมีการปนเปื้อนไปยังสิ่งแวดล้อม เป็นอันตรายต่อทั้งเกษตรกรผู้ใช้ และสิ่งมีชีวิตอื่นในบริเวณนั้น และยังกระทบต่ออุตสาหกรรมอื่น ตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมการเลี้ยงผึ้งที่จะมีการเคลื่อนย้ายรังไปตามแหล่งอาหารในพื้นที่การเกษตร ถ้าหากมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชจะส่งผลต่อพฤติกรรมและสุขภาวะของผึ้งภายในรัง และยังสามารถปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์จากผึ้ง เช่น น้ำผึ้ง ไขผึ้ง และเกสรผึ้ง โดยเกสรผึ้งเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญของผึ้งภายในรังและมีคุณสมบัติในการดูดซับสารเคมี การศึกษาครั้งนี้ได้ทำการตรวจสอบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ตกค้างในเกสรผึ้ง และศึกษาชนิดของพืชอาหาร โดยทำการศึกษาที่พสุธาราฟาร์ม & วิลเลจ จังหวัดราชบุรี ระหว่างเดือนตุลาคม 2562 – มีนาคม 2563 ในการตรวจสอบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชทำการเตรียมตัวอย่างด้วยวิธี QuEChERS แล้วนำมาวิเคราะห์สารเคมีกำจัดศัตรูพืชด้วยระบบ LC/MS ผลการศึกษาในเบื้องต้น พบสารเคมี imidacloprid ที่เป็นสารเคมีกำจัดแมลง และการศึกษาชนิดของพืชอาหารที่มีสารเคมีตกค้างในเกสรผึ้ง ทำการเตรียมตัวอย่างด้วยวิธี Acetolysis แล้วทำการจำแนกและนับจำนวน พร้อมทั้งคำนวณความสัมพันธ์ของจำนวนกับปริมาตรของเกสรพืช โดยพืชวงศ์ Fabaceae สกุล Leucaena เป็นพืชอาหารหลัก คิดเป็นร้อยละ 65.99 ที่เป็นพืชอาหารหลักของผึ้งพันธุ์ที่ทำการเลี้ยงในพื้นที่แห่งนี้ โดยสารเคมีและพืชอาหารที่พบมาจากบริเวณข้างเคียงของพืชที่ศึกษา จากการหาอาหารของผึ้งที่บินหาอาหารได้ในระยะทางที่ไกล และพฤติกรรมการหาอาหารที่ผึ้งเป็น generalist และพฤติกรรม floral constancy ทำให้ครอบคลุมพื้นที่ศึกษาและบริเวณข้างเคียง ผลการศึกษาเบื้องต้นในครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับการพัฒนาวิธีทางเลือกในการวิเคราะห์ตรวจสอบการปนเปื้อนของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยใช้เกสรของผึ้งเป็นตัวชี้วัด
Other Abstract: Pesticides are widely used in agricultural areas to increase product quantity and quality; however, such extensive uses of pesticides also affect non-target organisms and pollute the surrounding environment. Contaminated areas can indirectly affected many human activities including the beekeeping industry that usually move colonies across farms for pollination and honey production. Not only pesticide residues affect honey bee behavior and health, but also can be detected in honey, wax, and pollen. Bee pollen is known to be an important protein source and has high chemical absorption property. In this study, pesticide residues in bee pollen were examined along with identification of dominant pollen types that may carry the chemicals. Three European honey bee (Apis mellifera) colonies were placed at the Pasutara Farm & Village, Ratchaburi province. Bees were allowed to forage freely during the experiment, where pollen traps were placed in front of hive entrances to collect pollen samples during October 2019 to March 2020. Pesticide residues in pollen samples were prepared using QuEChERS method, and later analyzed using LC/MS (Liquid Chromatography/Mass Spectrometry). Pollen components were analyzed using conventional acetolysis method. Pollen types were identified and counted to assess their number and volume ratio. The insecticide, imidacloprid, was found in pollen samples as major chemical residue. Plant in genus Leucaena (Fabaceae) is found to be a predominant pollen type accounted for 65.99% of total samples. The preliminary results of this study will be a starting point for the development of alternative methods pesticide contamination analysis by using bee pollen as indicators.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78539
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62-SP-BIO-035 - Achaphorn Liang.pdf2.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.