Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78577
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเกรียง กาญจนวตี-
dc.contributor.authorณัฐพงศ์ สุวรรณพงศ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-05-11T09:32:21Z-
dc.date.available2022-05-11T09:32:21Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78577-
dc.descriptionโครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563en_US
dc.description.abstractโรคพยาธิใบไม้ตับ Opisthochiasis คือโรคที่มีการติดเชื้อจากการที่ท่อน้ำดีอักเสบเรื้อรัง หรืออุดตันจากไข่และตัวของพยาธิ มีสาเหตุมาจากพยาธิใบไม้ตับ Opisthorchis viverrini ที่กระจายตัวอย่างมากในประเทศไทยและประเทศลาว โดยมีวงจรชีวิตเป็นปรสิตที่จำเพาะกับหอยฝาเดียวน้ำจืดสกุล Bithynia ซึ่งเป็นโฮสต์ตัวกลางชนิดแรก การควบคุมประชากรโฮสต์ตัวกลางของพยาธิ โดยใช้ตัวควบคุมทางชีวภาพแทนการควบคุมโดยสารเคมี จึงเป็นวิธีที่ปลอดภัยและลดโอกาสเสี่ยงการติดโรคในมนุษย์ วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้ คือเพื่อคัดเลือกตัวควบคุมทางชีวภาพที่มีแนวโน้มในการก่อโรคและควบคุมปริมาณหอยฝาเดียวน้ำจืดสกุล Bithynia โดยเก็บตัวอย่างหอยฝาเดียวน้ำจืด B. siamensis siamensis จากแหล่งน้ำในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต นำมาเลี้ยงจนกระทั่งได้ไข่ โดยสิ่งมีชีวิตที่พบในซากหอยที่ตายคือโรติเฟอร์วงศ์ Philodinidae โดยสังเกตจากลักษณะ การมี corona ที่มี cilia 2 แผ่น และซิลิเอตสกุล Tetrahymena โดยสังเกตจาก ร่องปาก (cytostome) อยู่ค่อนมาทางหน้าของเซลล์ จึงทำการแยกให้เหลือสายพันธุ์เดียว (monoculture) และทดสอบอาหารที่เหมาะสมกับสิ่งมีชีวิต โดยเลี้ยงในน้ำต้มฟางที่ใส่ยีสต์ รวมไปถึงแยกสาหร่ายที่เป็นอาหารของโรติเฟอร์ โดยวิธีการ streak บน BG-11 agar medium และ เลี้ยงเพิ่มจำนวนด้วย BG-11 liquid medium ก่อนนำไป streak บน BG-11 agar medium ผลการศึกษาพบว่าพบว่าในน้ำต้มฟางโรติเฟอร์ และซิลิเอตเจริญได้ดีในน้ำต้มฟาง แต่โรติเฟอร์ไม่เจริญในสาหร่าย จากการวิเคราะห์ผลของ Kruskal Wallis test พบว่าทั้งโรติเฟอร์ และซิลิเอตในแต่ละความเข้มข้นให้ผลไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับชุดควบคุม และจากการวิเคราะห์ผลของ log rank test พบว่าเฉพาะโรติเฟอร์ชุดความเข้มข้น 100 ตัวต่อมิลลิลิตร ที่มีอัตราการรอดของหอยแตกต่างจากความเข้มข้นอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ซิลิเอตแต่ละความเข้มข้นให้ผลที่ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยนอกจากจะใช้ผลการศึกษาในครั้งนี้ เป็นฐานข้อมูลตัวควบคุมทางชีวภาพในการควบคุมประชากรของหอยฝาเดียวน้ำจืดสกุล Bithynia และยังอาจจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์เป็นอาหารสัตว์นำต่อไปได้en_US
dc.description.abstractalternativeOpisthorchiasis is caused by liver fluke Opisthorchis viverrini lead to cholangiocarcinoma, a malignant cancer of the bile ducts O. viverrini is highly prevalent in Thailand and Laos. O. viverrini use a freshwater snail (Bithynia goniompharus, B. funiculata and B. siamensis) as the first intermediate host. The objective of this research is to screen for biological control agents which are likely to control the snail population and must be safe to use. Adult B. siamensis siamensis were collected from the pond in Thammasat University, Pathumthani province. The snails were cultured in laboratory until the egg masses were collected. Then the dead snails were observed for possible biocontrol agents. Rotifers (Family: Philodinidae) that have a pair of ciliated corona and ciliates (Genus: Tetrahymena) that have cytostome close to the anterior end were obtained from the egg masses and the shell of juvenile snail, respectively. The monocultures of the rotifers and ciliates were generated and fed by hay medium with baking yeast. Algae which are the rotifer’s food was also isolated from the rotifer culture by streaking the culture directly on BG-11 agar medium or propagating the algae in BG-11 liquid medium before streaking. Results showed that in hay medium with yeast, both rotifers and ciliates were able to multiply but with algae, rotifers were not. By using the biocontrol agents for quantitative testing ability to control snails. The Kruskal Wallis test showed that both rotifers and ciliates were not significantly different among treatments. The log rank test showed that in rotifers, only 100 individuals/ml treatment significantly different form other groups while in ciliates all treatments were not significantly different. In addition to the use of this study as a database of biocontrol agents for controlling population of Bithynia snails, these biocontrol agents could be used as an alternative food source for aquaculture.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectหอยกาบน้ำจืดen_US
dc.subjectพยาธิใบไม้en_US
dc.subjectFreshwater musselsen_US
dc.subjectTrematodaen_US
dc.titleการคัดเลือกตัวควบคุมทางชีวภาพเพื่อใช้ควบคุมหอยฝาเดียวน้ำจืดสกุล Bithyniaen_US
dc.title.alternativeScreening of biological control agents for controlling freshwater snails genus Bithyniaen_US
dc.typeSenior Projecten_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63-SP-ZOO-007-Natthapong Suwananpong.pdf1.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.