Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78591
Title: การคัดเลือกสายพันธุ์ราเอคโตไมคอร์ไรซาเห็ดเสม็ด Tylopilus sp. เพื่อการผลิตหัวเชื้อสาหรับกล้าไม้ยูคาลิปตัส
Other Titles: Screening of ectomycorrhizal fungi Tylopilus sp. For inoculum production for Eucalyptus seedlings
Authors: ชมจันทร์ พันธ์พัฒนะ
Advisors: ณัฏฐ์ ทรงวรวิทย์
จิตรตรา เพียภูเขียว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: เอคโตไมคอร์ไรซา
ยูคาลิปตัส
Ectomycorrhizas
Eucalyptus
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ยูคาลิปตัส Eucalyptus camaldulensis เป็นไม้เศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งในประเทศไทยในธรรมชาติรากของต้นยูคาลิปตัสมีความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัย (symbiosis) กับเชื้อราเอคโตไมคอร์ไรซาเห็ดเสม็ด Tylopilus sp. เมื่อถึงต้นฤดูฝนในทุก ๆ ปี เชื้อราเอคโตไมคอร์ไรซาชนิดนี้จะสร้างดอกเห็ดเสม็ดซึ่งได้รับความนิยมนำไปรับประทานในพื้นที่ทางใต้และตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกสายพันธุ์ราเอคโตไมคอร์ไรซาเห็ดเสม็ด Tylopilus sp. สำหรับการผลิตเป็นหัวเชื้อสำหรับกล้าไม้ยูคาลิปตัส จากการทดลองการศึกษาการเจริญเติบโตของเส้นใยราเอคโตไมคอร์ไรซาเห็ดเสม็ด 3 สายพันธุ์ ได้แก่เห็ดเสม็ดน่าน I-2 เห็ดเสม็ดน่าน I-3 และเห็ดเสม็ดกระบี่ บนอาหารเลี้ยงเชื้อแข็ง potato dextrose agar (PDA) เป็นเวลา 21 วัน พบว่าเส้นใยราเอคโตไมคอร์ไรซาเห็ดเสม็ดสายพันธุ์กระบี่สามารถเจริญเติบโตได้ดีที่สุด เมื่อนำเส้นใยราเอคโตไมคอร์ไรซาเห็ดเสม็ดสายพันธุ์กระบี่ไปทดสอบการเจริญในอาหารเลี้ยงเชื้อเหลว 3 ชนิด ได้แก่ potato dextrose broth (PDB), modified Melin-Norkrans broth (MMN) และ malt extract broth (MEB) เป็นเวลา 16 วัน พบว่าเส้นใยราเอคโตไมคอร์ไรซาเห็ดเสม็ดสายพันธุ์กระบี่ที่เจริญในอาหารเลี้ยงเชื้อเหลว MEB มีน้ำหนักแห้งเฉลี่ยสูงสุด จากการนำหัวเชื้อราเอคโตไมคอไรซาเห็ดเสม็ดสายพันธุ์กระบี่ที่เจริญในอาหารเลี้ยงเชื้อเหลวทดสอบการติดเชื้อเข้าสู่รากในกล้าไม้ยูคาลิปตัสเป็นเวลา 2 เดือน พบว่าราเอคโตไมคอไรซาเห็ดเสม็ดที่เจริญใน MEB สามารถเกิดการติดเชื้อในรากยูคาลิปตัสได้ถึง 65.3 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่หัวเชื้อในอาหารเลี้ยงเชื้อแข็ง MEA และหัวเชื้อในอาหารเลี้ยงเชื้อเหลว MMN พบร้อยละของการติดเชื้อในรากกล้าไม้ยูคาลิปตัสเท่ากับ 53.0 เปอร์เซ็นต์ และ 45.5 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ด้วยเหตุนี้ราเอคโตไมคอร์ไรซาเห็ดเสม็ดสายพันธุ์กระบี่ที่เจริญในอาหารเลี้ยงเชื้อเหลว MEB จึงเหมาะสำหรับการใช้เป็นหัวเชื้อสำหรับกล้าไม้ยูคาลิปตัส
Other Abstract: River red gum (Eucalyptus camaldulensis) is one of the important commercial trees in Thailand. In natural habitats, river red gum roots have a symbiotic association with ectomycorrhiza, Tylopilus sp. or “Hed Sa Mhed” in Thai. During early rainy seasons, Tylopilus sp. produces fruiting bodies which are harvested as delicacy in southern and north-eastern parts of Thailand. This study aimed to screen ectomycorrhizal fungi Tylopilus sp. for inoculum production for river red gum seedlings. Three strains of Tylopilus sp., including Nan I-2, Nan I-3 and Krabi strains, were cultured in potato dextrose agar (PDA) for 21 days. The result showed that Krabi strain had the most well-developed mycelium. Thereafter, Krabi strain ectomycorrhiza was cultured in 3 different media, including potato dextrose broth (PDB), modified Melin-Norkrans broth (MMN) and malt extract broth (MEB) for 16 days. MEB yieled the highest average dry-weight of fungal mycelium. Krabi strain ectomycorrhiza was then subjected to root infection test in river red gum seedlings for 2 months. The result showed that the inoculum of Krabi strain ectomycorrhiza from MEB was able to infect 65.3% of river red gum roots, while the fungal inoculum from MEA and MMN had capability of infectinon of 53.0% and 45.5%, respectively. From these results, Krabi strain ectomycorrhiza cultured in MEB is suitable for using as inoculum for Eucalyptus seedlings.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78591
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62-SP-BIO-007 - Chomchan Phanphat.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.