Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78594
Title: ถอดรหัสพรมเช็ดเท้าไดอะตอมไมต์จากประเทศญี่ปุ่น
Other Titles: Decoding of diatomite mat from Japan
Authors: ภาณุมาศ ภู่พันธ์
Advisors: ฐาสิณีย์ เจริญฐิติรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: ดินเบา
Diatomaceous earth
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ดินเบา (Diatomite) มีความเบา มีรูพรุนมาก และมีไดอะตอมเป็นสมบัติเฉพาะ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ใน อุตสาหกรรมต่างๆได้ เช่น อุตสาหกรรมประเภทการกรอง การเติม วัสดุผสมน้ำหนักเบา ฉนวนความร้อน และใช้ในการผลิต วัสดุดูดซับของเสีย เป็นต้น ผลิตภัณฑ์พรมเช็ดเท้าไดอะตอมไมต์ เป็นผลิตภัณฑ์จากดินเบา ใช้ในการดูดซับน้ำ โดยมีการ โฆษณาจากผู้ผลิตสินค้าว่า องค์ประกอบหลักของพรมเช็ดเท้าไดอะตอมไมต์คือดินเบาจากธรรมชาติ ด้วยเหตุนี้ ผู้ศึกษาจึงทำ การวิเคราะห์ตัวอย่างพรมเช็ดเท้าไดอะตอมไมต์ด้วยวิธีการทางธรณีวิทยาเพราะต้องการรู้องค์ประกอบและปริมาณไดอะตอมที่ ใช้ และวิเคราะห์องค์ประกอบของตัวอย่างดินเบาจากธรรมชาติที่มีอยู่ในประเทศไทยควบคู่ไปพร้อมกัน นอกจากนี้ ผู้ศึกษาได้ ปรับปรุงคุณภาพของดินเบาจากธรรมชาติที่มีอยู่ในประเทศไทย เพื่อให้เหมาะสมต่อการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆมาก ยิ่งขึ้น จากการศึกษาตัวอย่างพรมเช็ดเท้าไดอะตอมไมต์ พบว่าองค์ประกอบหลักของพรมเช็ดเท้าที่ขายในท้องตลาดไม่พบ ส่วนประกอบที่เป็นไดอะตอม แต่ประกอบด้วยควอตซ์ (Quartz) แร่ไครโซไทล์ (Chrysotile) และแร่โทเบอร์โมไรท์ (Tobermorite) มีธาตุองค์ประกอบหลักคือ ซิลิกอนไดออกไซด์ แคลเซียมออกไซด์ และแมกนีเซียมออกไซด์ สอดคล้องกับ คุณสมบัติทางเคมีของแร่องค์ประกอบหลักทั้งสอง แร่ใยหินไครโซไทล์เป็นแร่ใยหินในกลุ่มเซอร์เพนไทน์ มีการใช้งานใน อุตสาหกรรมต่างๆมากที่สุด เนื่องจากส่งผลเสียต่อสุขภาพน้อยกว่าแร่ใยหินชนิดอื่นๆ ทั้งนี้ องค์ประกอบแร่ทั้งสองชนิด มักถูก ใช้เป็นส่วนผสมของวัสดุก่อสร้าง เนื่องจากมีความทนทาน น้ำหนักเบา และเป็นฉนวนความร้อน นอกจากนี้ การศึกษาตัวอย่างดินเบาจากธรรมชาติในประเทศไทยพบว่า มีองค์ประกอบหลักคือไดอะตอม แร่ดินคาโอ ลิไนต์ (Kaolinite), และแร่มอนต์มอริลโลไนต์ (Montmorillonite) ทำให้ตัวอย่างดินเบาจากธรรมชาติมีองค์ประกอบของได อะตอมอยู่ในสัดส่วนที่ต่ำกว่ามาตรฐาน รวมถึงมีการปนเปื้อนของอะลูมิเนียมออกไซด์ และไอออนออกไซด์มากจนเกินไป หลังจากปรับปรุงคุณภาพและเปรียบเทียบตัวอย่างดินเบาจากธรรมชาติและดินเบาที่ผ่านปรับปรุงคุณภาพด้วยการหมุนเหวี่ยง แล้ว พบว่าตัวอย่างดินเบาในส่วนที่ตกจม (Pellet) มีสัดส่วนของ ซิลิกอนไดออกไซด์ เพิ่มขึ้นเฉลี่ย ร้อยละ 5 และมีการ ปนเปื้อนของอะลูมิเนียมออกไซด์ และ ไอออนออกไซด์ ลดลงเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ดินเบาจากธรรมชาติที่ผ่านปรับปรุง คุณภาพแล้วแม้ว่าจะมีสัดส่วนของไดอะตอมเพิ่มขึ้น แต่ยังคงมีสัดส่วนของไดอะตอมต่ำกว่าปริมาณที่กำหนดสำหรับการใช้งาน ในอุตสาหกรรมหลายชนิด จึงจำเป็นต้องวิจัยและพัฒนาปรับปรุงคุณภาพของไดอะตอมไมต์ต่อไป
Other Abstract: Diatomite is a porous, lightweight sedimentary rock. This properties can be used in various industries such as filtration aids, filler aids, lightweight aggregates, insulator aids, and absorbent materials. Nowadays, diatomite mat is a popular product made from diatomaceous earth which is very popular product. It is said that the natural diatomaceous earth is the main component of diatomite mat. For this reason, the study will focus on analysis of diatomite mat samples and natural diatomite in order to know their composition. In addition, the quality of natural diatomite will be improved for more suitable use in various industries. For diatomite mat study, diatom grains are not observed. The principal components of the diatomite mat are quartz, chrysotile and tobermorite. The main elements contain SiO₂, CaO and MgO. Chrysotile is a type of asbestos in the serpentine group. It is the most commonly used form of asbestos in industries because it has less harmful than other types. Both mineral components are often used as building raw materials due to their durability, lightweight and insulation. Furthermore, the study of natural diatomite samples in Thailand shows that the main components are quartz, kaolinite, and montmorillonite. Moreover, it is strongly contaminated by Al₂O₃ and Fe₂O₃. That is the reason why Thailand’s natural diatomite has low-standard of industrial uses. A centrifuge method has been used to improve natural diatomite’s quality. It shows that SiO₂ ratio in pellet has about 5% increased, and Al₂O₃ and Fe₂O₃ have few percentages decreased. After natural diatomite improvement, it still has a lower SiO₂ ratio. Though, it can be used for some industrial purposes, the research on improve quality of diatomite must be examined in the future.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78594
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62-SP-GEO-019 - Phanumas Poopan.pdf1.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.