Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78689
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทัชมัย ฤกษะสุต-
dc.contributor.authorฐิตินันท์ เจริญวิจิตรวงศ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-06-01T03:38:00Z-
dc.date.available2022-06-01T03:38:00Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78689-
dc.descriptionเอกัตศึกษา (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564en_US
dc.description.abstractปัจจุบันการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินของประเทศไทยจะเป็นไปตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ซึ่งได้แบ่งอัตราการจัดเก็บภาษีที่แตกต่างกัน ตามประเภทที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ การศึกษาครั้งนี้ มุ่งพิจารณาที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัยที่มีอัตราภาษีไม่เกินร้อยละศูนย์จุดสามของฐานภาษีหรือมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ประกอบกับประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่องหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัย การกาหนดคุณลักษณะของโฮมสเตย์ให้ขึ้นอยู่กับจานวนห้อง และจานวนผู้เข้าพัก หากมีจานวนไม่เกินสี่ห้อง ผู้พักรวมกันไม่เกินยี่สิบคน จะถือว่าเป็นการใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัย จัดเก็บภาษีอัตราที่อยู่อาศัย การกาหนดเงื่อนไขดังกล่าว ผู้ศึกษามีความเห็นว่า การเปิดให้เข้าพักของโฮมสเตย์โดยไม่จากัดระยะเวลาการเข้าพัก ไม่เป็นธรรมต่อผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมที่ต้องเสียภาษีในอัตราไม่เกินร้อยละหนี่งจุดสองของฐานภาษีหรือมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติโรงแรม โดยจากการศึกษากฎหมายที่พักชั่วคราวของประเทศญี่ปุ่น พบว่ามีการกาหนดกรอบเวลาในการให้เข้าพักเพื่อแบ่งประเภทของธุรกิจให้เช่าที่พักส่วนบุคคลและการเช่าชั่วคราวในเชิงพาณิชย์สาหรับกิจการโรงแรมไว้อย่างชัดเจน ซึ่งหากเปิดรับนักท่องเที่ยวเข้าพักไม่เกิน 180 วันต่อปี ถือเป็นการให้เช่าที่พักส่วนบุคคลเป็นครั้งคราวเพื่อ “หารายได้เสริม” จะถูกเก็บภาษีทรัพย์สินคงที่ (Fixed Asset tax) แต่หากเจ้าของบ้านต้องการเปิดให้เช่าที่พักเกินกว่า 180 วันต่อปี จะต้องขอใบอนุญาตการประกอบธุรกิจโรงแรม เนื่องจากเป็นการให้บริการเชิงพาณิชย์จึงมีภาระภาษีที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ ในการศึกษายังพบว่าประเทศไทยไม่มีกฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจโฮมสเตย์เหมือนกับประเทศญี่ปุ่น จึงส่งผลให้ธุรกิจธุรกิจโฮมสเตย์ในประเทศไทยมีจานวนมากและยากต่อการควบคุมให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กาหนด เมื่อพิจารณาแนวทางการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินของประเทศญี่ปุ่นแล้ว ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะ ให้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัย ข้อ 2 โดยเพิ่มเติมกรอบระยะเวลาการเปิดให้เข้าพัก รวมทั้งควรมีกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมธุรกิจการโฮมสเตย์ พร้อมบทลงโทษสาหรับผู้ให้เช่าที่ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติ ไว้ในกฎหมายen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.163-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectภาษีที่ดินen_US
dc.subjectโฮมสเตย์en_US
dc.titleภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง : ศึกษาเฉพาะกรณีหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ ที่อยู่อาศัยเป็นที่พักที่คิดค่าตอบแทน (โฮมสเตย์)en_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorTashmai.R@chula.ac.th-
dc.subject.keywordการจัดเก็บภาษีen_US
dc.subject.keywordภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2021.163-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6380014934.pdf963.74 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.