Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7869
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิราพร ณ ถลาง-
dc.contributor.authorปฐม หงษ์สุวรรณ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์-
dc.date.accessioned2008-08-27T02:03:42Z-
dc.date.available2008-08-27T02:03:42Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.isbn9741428812-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7869-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดประสงค์ที่จะศึกษาตำนานพระธาตุของชนชาติไทในแง่ความสำคัญและปฏิสัมพันธ์ระหว่างพุทธศาสนากับความเชื่อดั้งเดิม ทั้งนี้ผู้วิจัยได้รวบรวมตำนานพระธาตุที่อยู่ในการรับรู้ของชนชาติไท ได้แก่ ไทใหญ่ ไทเขิน ไทลื้อ ลาว ไทยภาคเหนือและไทยภาคอีสาน ทั้งที่เป็นข้อมูลลายลักษณ์และข้อมูลมุขปาฐะจำนวน 96 เรื่อง ในการวิเคราะห์นี้ ผู้วิจัยได้ประยุกต์วิธีวิทยาในเชิงโครงสร้างนิยมของนักคิดสำคัญ 2 ท่าน คือ Vladimir Propp และ Claude Lévi-Strauss มาเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย ผลการศึกษาพบว่า โครงสร้างของตำนานพระธาตุของชนชาติไทสามารถจำแนกออกเป็น 4 แบบ คือ 1) แบบมีการเสด็จมาของพระพุทธเจ้าและการไม่ยอมรับพุทธศาสนา 2) แบบมีการเสด็จมาของพระพุทธเจ้าและการยอมรับพุทธศาสนา 3) แบบไม่มีการเสด็จมาของพระพุทธเจ้าและการไม่ยอมรับพุทธศาสนา และ 4) แบบไม่มีการเสด็จมาของพระพุทธเจ้าและการยอมรับพุทธศาสนา ผู้วิจัยได้วิเคราะห์เปรียบเทียบวิธีคิดที่แตกต่างกันระหว่างความเชื่อดั้งเดิมกับพุทธศาสนา โดยแยกพิจารณาจากชุดความคิดเกี่ยวกับเรื่องพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ตัวละคร และพฤติกรรมของตัวละคร วิธีคิดแบบความเชื่อดั้งเดิมในชุดความคิดเกี่ยวกับพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ประกอบด้วย “ท้องฟ้า, ภูเขา, ต้นไม้, เสาหลัก, ก้อนหิน, ถ้ำ และน้ำ” ส่วนชุดความคิดเกี่ยวกับตัวละคร ประกอบด้วย “นาค, ยักษ์, ผี, สัตว์, ชนพื้นเมือง และฤาษี ในขณะที่ชุดความคิดเกี่ยวกับพฤติกรรม ประกอบด้วย “การเดินทางมาสร้างเมือง, การสั่งสอนเรื่องทางโลก, การบูชาผี, การสร้างหอผี, การพยากรณ์จากผี” ส่วนวิธีคิดแบบพุทธศาสนาในชุดความคิดเกี่ยวกับพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ประกอบด้วย “สวรรค์ พระธาตุ พระบาท พระพุทธรูป ต้นโพธิ์ พุทธบัลลังก์ และวัด” ส่วนชุดความคิดเกี่ยวกับตัวละคร ประกอบด้วย “ พระโพธิสัตว์ พระพุทธเจ้า พระสาวก พระเจ้าอโศก พระนางจามเทวี พระอินทร์ และเทวดา” ในขณะที่ชุดความคิดเกี่ยวกับพฤติกรรม ได้แก่ “การเดินทางมาเผยแพร่พุทธศาสนา, การสั่งสอนเรื่องทางธรรม, การบูชาพระพุทธเจ้า, การสร้างพระธาตุ และการพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า” นอกจากจะวิเคราะห์วิธีคิดที่แตกต่างระหว่างความเชื่อดั้งเดิมและพุทธศาสนาแล้ว ผู้วิจัยยังได้วิเคราะห์ลักษณะที่เป็นการผสมผสานทางความคิดระหว่างความเชื่อทางศาสนาทั้งสองระบบอีกด้วย ผู้วิจัยได้วิเคราะห์พิธีกรรมเกี่ยวกับการบูชาพระธาตุที่ปรากฏในบริบททางสังคมวัฒนธรรมของกลุ่มชนชาติไท ทั้งพิธีกรรมเกี่ยวกับการบูชาพระธาตุ พิธีกรรมเกี่ยวกับการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ พิธีกรรมเกี่ยวกับการบันดาลความอุดมสมบูรณ์ พิธีกรรมเกี่ยวกับการสร้างบุญและอุทิศส่วนกุศล พิธีกรรมเหล่านี้ล้วนแสดงให้เห็นถึงการผสมผสานกันระหว่างความเชื่อทางพุทธศาสนากับความเชื่อดั้งเดิม การวิเคราะห์ลักษณะปฏิสัมพันธ์ระหว่างพุทธศาสนากับความเชื่อดั้งเดิมที่สะท้อนจากโครงสร้างและเนื้อหาของตำนานพระธาตุตลอดจนพิธีกรรมเกี่ยวกับการบูชาพระธาตุพบว่ามีหลายลักษณะ ทั้งการขัดแย้ง การยอมรับ และการผสมผสานกลมกลืนกัน ลักษณะความสัมพันธ์ดังกล่าวสามารถสะท้อนให้เห็นพัฒนาการทางความคิดความเชื่อทางศาสนาของคนไทที่นับถือพุทธศาสนาen
dc.description.abstractalternativeThis thesis aims at studying the Tai myths of the Buddha’s relics in order to analyze the relationship between Buddhism and the indigenous beliefs. Ninety-six stories of the myths of the Buddha’s relics, both oral and literary versions, of Buddhist Tai speaking peoples, namely, Tai Yai (Shan), Tai Khoen, Tai Lue, Lao, Northern Thai and Northeastern Thai, were collected. In this thesis, structural theories of Vladimir Propp and Claude Levi-Strauss are applied and used as the analytical concept and frame of thought. The structure of the Tai myth of the Buddha relics can be classified into four types: first, the type that reflects the resistance of Buddhism, with the presence of the Buddha character in the stories; second, the type that reflects the resistance of Buddhism, but without the presence of the Buddha in the stories; third, the type of the stories that reflects the stage of the acceptance of Buddhism, with the presence of the Buddha character; and fourth, the type that reflects the stage of the acceptance of Buddhism, but without the presence of the Buddha in the stories. The thesis analyzes the binary opposition between the Buddhist beliefs and the indigenous beliefs as reflected in the myths of the Buddha’s relics by comparing and contrasting the detail in the paradigms concerning the sacred space, the characters and the behavior of the characters. It is found that in the indigenous belief system, the paradigm of thought concerning the sacred space is composed of the sky, the mountain, the tree, the pillar, the stone, the cave and water; the paradigm of characters is composed of Naga, Yaksa, spirit, animal, indigenous people and hermit; and the paradigm of behavior of the characters, the journey to build cities, the teaching concerning the profane, the spirit worshipping, the building of the spirit houses and the prophecy by the spirits. While in the Buddhist belief system, the paradigm of the sacred space is composed of heaven, the Buddha’s relics, the Buddha’s foot print, the Buddha’s image, the Bodhi tree, the Buddha’s throne and temple; the paradigm of the characters, the Bodhisatva, the Buddha, the disciples, King Asoka, Queen Jamadevi, Indra and Buddhist deities, and the paradigm of the behavior of the characters, the journey to disseminate Buddhism, the teaching concerning the dharma, the Buddha’s worship, the building of the stupas and the prophecy of the Buddha. However, the thesis not only analyzes the binary aspect but also the integrated aspect between the two religious systems as reflected from the myths. Furthermore, the rituals concerning the worship of the Buddha’s relics, healing rituals, fertility rites and merit-making rituals in the context of Tai culture are also used as data to support the argument concerning the integration between Buddhism and the indigenous beliefs. In sum, the structure and the content of the Tai myths of the Buddha’s relics reveal several aspects of the relationship between Buddhism and the indigenous beliefs: conflict, resistance, acceptance and integration. Thus, the analysis of the 96 stories of the Buddha relics myths portrays the process and the development of the religious system of Buddhist Tai peoples.en
dc.format.extent10819509 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectชาวไท -- ความเป็นอยู่และประเพณีen
dc.subjectชาวไท -- คติชาวบ้านen
dc.subjectพุทธศาสนากับวัฒนธรรมen
dc.titleตำนานพระธาตุของชนชาติไท : ความสำคัญและปฏิสัมพันธ์ระหว่างพุทธศาสนากับความเชื่อดั้งเดิมen
dc.title.alternativeThe Buddha relics myths of the Tai peoples : significance and interaction between Buddhism and indigenous beliefsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาเอกes
dc.degree.disciplineภาษาไทยes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSiraporn.N@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pathom_Ho.pdf10.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.