Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78702
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทัชมัย ฤกษะสุต-
dc.contributor.authorนุสรา มานะกิจลาภ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-06-02T03:51:23Z-
dc.date.available2022-06-02T03:51:23Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78702-
dc.descriptionเอกัตศึกษา (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564en_US
dc.description.abstractสภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ มีประกาศปรับปรุงมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 9 เรื่องเครื่องมือทางการเงิน ซึ่งได้มีการกําหนดเงื่อนไข วิธีการและปัจจัยที่เกี่ยวข้องแตกต่างไปจากมาตรฐานฉบับ เดิมที่เคยถือปฏิบัติ มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการในการจัดกลุ่มประเภทของเครื่องมือทางการเงิน กําหนดแนวทางใน การพิจารณาปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการประเมินมูลค่าและการตั้งค่าเผื่อการด้อยค่าของเครื่องมือทางการเงิน โดยมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 9 ได้กําหนดให้มีการจัดกลุ่มประเภทของเครื่องมือทางการเงิน อาศัย การพิจารณาจากรูปแบบธุรกิจ (Business Model) แทนการจัดกลุ่มที่พิจารณาตามวัตถุประสงค์ในการถือครอง และให้ใช้ข้อมูลจากเหตุการณ์ในอดีตร่วมกับสภาพการณ์ปัจจุบันและการพยากรณ์สภาพเศรษฐกิจในอนาคต ซึ่ง แตกต่างจากเดิมที่พิจารณาแค่เพียงปัจจัยจากในอดีตจนถึงปัจจุบันเท่านั้น การนําสภาพเศรษฐกิจในอนาคตมาร่วม พิจารณานั้น ส่งผลให้เกิดการคาดการณ์ที่แม่นยําและสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันและในอนาคตอันใกล้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การรับรู้รายการจะสะท้อนถึงข้อมูลที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริง ลดความผันผวน และความไม่แน่นอนจากการใช้ข้อมูลได้มากขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงวิธีการพิจารณาดังกล่าว ได้ส่งผลต่อการ คํานวณการตั้งค่าเผื่อการด้อยค่าของเครื่องมือทางการเงินและทําให้การรับรู้รายได้ดอกเบี้ยซึ่งอยู่บนฐานการ คํานวณจากมูลค่าคงเหลือของเครื่องมือทางการเงินเพิ่มสูงขึ้น (รายได้ดอกเบี้ย เกิดจากการคํานวณมูลค่าของ เครื่องมือทางการเงินหักค่าเผื่อการด้อยค่าคูณอัตราดอกเบี้ย) เนื่องจากมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 ได้กําหนดให้ผู้ประกอบการทบทวนความเป็นไปได้ที่จะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากเครื่องมือทางการเงินนั้นอยู่ เสมอ แม้ว่าเครื่องมือทางการเงินนั้นอาจรับรู้การด้อยค่าไปแล้วในอดีต แตกต่างจากมาตรฐานฉบับเดิมที่ไม่ได้ให้นํา เครื่องมือทางการเงินที่เคยรับรู้การด้อยค่าไปแล้วกลับมาพิจารณาใหม่ ส่งผลให้การรับรู้รายได้ดอกเบี้ยตามมูลค่าที่ เหลืออยู่ของเครื่องมือทางการเงินหลังหักค่าเผื่อการด้อยค่า ไม่สามารถรับรู้รายการได้ในทางบัญชีอีกต่อไป และ จากการศึกษาพบว่าการรับรู้รายการรายได้ดอกเบี้ยในทางบัญชีและในทางภาษีไม่ได้มีความแตกต่างกัน ดังนั้นจึง ถือได้ว่า เมื่อรายได้ดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น ย่อมส่งผลให้กิจการมีการรับรู้กําไรสุทธิเพิ่มมากขึ้น (กรณีไม่นําการ เปลี่ยนแปลงจากปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลต่อการคํานวณกําไรสุทธิทางภาษีเช่น ค่าใช้จ่าย มารวมในการพิจารณา) และ ทําให้การคํานวณภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ต้องนําส่งแก่กรมสรรพากรนั้นเพิ่มขึ้น การปรับปรุงมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการบัญชี ย่อมส่งผลต่อการรับรู้รายการของกิจการต่างๆ การนํา มาตรฐานการบัญชีไปถือปฏิบัติจึงควรเป็นไปด้วยความเข้าใจและทราบถึงผลกระทบทั้งภายในกิจการของตนและ บุคคลภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ดุลยพินิจของผู้บริหารประกอบกับข้อมูลที่เพียงพอและเชื่อถือได้ ควร กระทําด้วยความระมัดระวังเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดหรือเกิดความคลาดเคลื่อนในการจัดทํารายการและการ นําเสนอข้อมูลen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.174-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการจัดเก็บภาษีen_US
dc.subjectภาษีเงินได้en_US
dc.titleแนวทางในการนำมาตรฐานรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่องเครื่องมือทางการเงิน ฉบับปรับปรุง 2563 มาใช้กับการรับรู้รายได้ดอกเบี้ยของ การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorTashmai.R@chula.ac.th-
dc.subject.keywordดอกเบี้ยen_US
dc.subject.keywordการคำนวณภาษีen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2021.174-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6380021234.pdf876.09 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.