Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78717
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมานิตย์ จุมปา-
dc.contributor.authorรวิศา โสพร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-06-06T03:38:25Z-
dc.date.available2022-06-06T03:38:25Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78717-
dc.descriptionเอกัตศึกษา (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564en_US
dc.description.abstractวิสาหกิจเริ่มต้นหรือสตาร์ทอัพเป็นกลไกสําคัญอย่างหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของ ประเทศ การมีธุรกิจสตาร์ทอัพจํานวนมากจะช่วยให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศเจริญเติบโต ดึงดูด นักลงทุนต่างประเทศให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย สร้างอาชีพและรายได้ให้กับคนในประเทศ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม ในการประกอบธุรกิจสตาร์ทอัพนั้น จําเป็นจะต้องมีแหล่งเงินทุนเพื่อเข้ามาสนับสนุนธุรกิจ ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นจนกระทั่งเติบโตและขยายธุรกิจเพื่อเข้าสู่ตลาดใหม่ ๆ ในอนาคต ปัจจุบันแหล่ง เงินทุนที่สําคัญสําหรับสตาร์อัพ คือ ธุรกิจเงินร่วมลงทุน หรือ Venture Capital (VC) มีสตาร์ทอัพ มากมายทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ประสบความสําเร็จเพราะได้รับเงินสนับสนุนจากธุรกิจเงิน ร่วมลงทุน เนื่องจากนักลงทุนประเภทนี้มีความเข้าใจในธุรกิจสตาร์ทอัพและมองเห็นถึงศักยภาพของ ธุรกิจ สามารถยอมรับความเสี่ยงในระดับที่สูง สามารถให้คําแนะนําและเป็นที่ปรึกษาด้านการดําเนิน ธุรกิจ โดยมีเป้าหมายร่วมกับเจ้าของสตาร์ทอัพ คือ ผลักดันให้ธุรกิจเติบโตจนประสบความสําเร็จ เพื่อ ผลตอบแทนที่มีมูลค่าสูง มาตรการส่งเสริมธุรกิจเงินร่วมลงทุนที่มีอยู่ในปัจจุบันของประเทศไทยเมื่อเปรียบเทียบกับ ต่างประเทศพบว่าประเทศไทยมีข้อจํากัดบางประการที่ทําให้ไม่สามารถดึงดูดนักลงทุนได้เท่าที่ควร มี สภาพแวดล้อมในการทําธุรกิจเงินร่วมลงทุนที่เป็นอุปสรรค เช่น มีการร่างพระราชบัญญัติการพัฒนา และส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้น พ.ศ. .... ตั้งแต่ปี 2559 จนกระทั่งปัจจุบัน แต่ยังไม่สามารถตราเป็น พระราชบัญญัติเพื่อใช้บังคับเป็นการทั่วไป มาตรการยกเว้นภาษีกําไรจากลงทุนและเงินปันผลจากการ ลงทุนขาดความต่อเนื่อง โครงการ SMART Visa ที่ให้สิทธิพิเศษแก่ชาวต่างชาติที่เป็นนักลงทุนไม่ ครอบคลุมทุกกลุ่มอุตสาหกรรมและไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกับนโยบายรัฐบาล เป็นต้น จากการศึกษามาตรการส่งเสริมธุรกิจเงินร่วมลงทุนของประเทศสิงคโปร์และอิตาลี ในด้าน กฎหมาย มาตรการทางภาษี มาตรการเชิงนโยบายของภาครัฐ ผู้เขียนเห็นว่า สามารถนําแนวคิดหรือ รูปแบบการส่งเสริมธุรกิจเงินร่วมลงทุนบางประการมาปรับใช้ตามความเหมาะสมของบริบทและ สภาพแวดล้อมของประเทศไทย โดยปรับปรุงกฎหมายให้เอื้ออํานวยต่อการลงทุน เพิ่มมาตรการ ยกเว้นภาษีกําไรจากลงทุนและเงินปันผลจากการลงทุนในสตาร์ทอัพ เพิ่มสิทธิประโยชน์ให้แก่นัก ลงทุนต่างชาติ ตลอดจนรัฐบาลจัดตั้งกองทุนร่วมกับธุรกิจเงินร่วมลงทุนเพื่อสนับสนุนเงินทุนให้แก่ สตาร์อัพ หากประเทศไทยมีมาตรการส่งเสริมธุรกิจเงินร่วมลงทุนที่เหมาะสมจะช่วยดึงดูดนักลงทุนให้ มีส่วนร่วมในการสนับสนุนสตาร์ทอัพให้สามารถเติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนซึ่งจะช่วยขับเคลื่อน ระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.182-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสตาร์ทอัพen_US
dc.subjectธุรกิจเงินร่วมลงทุนen_US
dc.titleมาตรการส่งเสริมธุรกิจเงินร่วมลงทุนเพื่อสนับสนุนวิสาหกิจเริ่มต้นen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisormanit_j@yahoo.com-
dc.subject.keywordวิสาหกิจen_US
dc.subject.keywordการส่งเสริมธุรกิจen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2021.182-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6380032134.pdf2.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.