Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7871
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorตรีศิลป์ บุญขจร-
dc.contributor.authorพิสินี ฐิตวิริยะ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์-
dc.coverage.spatialญี่ปุ่น-
dc.date.accessioned2008-08-27T02:31:13Z-
dc.date.available2008-08-27T02:31:13Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.isbn9741758758-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7871-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์สองข้อ ข้อแรกเพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบและกลวิธีการนำเสนอวรรณกรรมเยาวชนญี่ปุ่นที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่สอง วรรณกรรมเยาวชนเหล่านี้มีทั้งเรื่องที่เป็นบุคคลจริงและเรื่องที่แต่งจากจินตนาการ เรื่องที่เป็นบุคคลจริงได้แก่ ความทรงจำเดือนสิงหาคม (Hachi-gatsu ga Kurutabini )ของฮิเดะ โอเอะ (Hide Ōe) กระต่ายแก้ว(Garasu no Usagi) ของโทะฌิโกะ ทะกะงิ (Toshiko Takagi) และ ซาดาโกะกับนกกระเรียนพันตัว (Sadako and the Thousand Paper Cranes) ของเอลลีนอร์ โคเออร์ (Eleanor Coerr) ส่วนเรื่องที่แต่งจากจินตนาการ ได้แก่ ยี่สิบสี่ดวงตา (Nijūshi no Hitomi) ของซะกะเอะ ท์ซุโบะอิ (Sakae Tsuboi) เด็กหญิงอีดะ (Futari no Ida) ของมิโยะโกะ มะท์ซุตะนิ (Miyoko Matsutani) และ มิเอะโกะกับสมบัติชิ้นที่ห้า (Mieko and the Fifth Treasure) ของเอลลีนอร์ โคเออร์ วรรณกรรมเยาวชนญี่ปุ่นสร้างอารมณ์สะเทือนใจด้วยการเสนอความโหดร้ายของสงครามและชะตากรรรมของเด็กที่ตกเป็นเหยื่อสงคราม บทบาทตัวละครเด็กญี่ปุ่นที่ไร้เดียงสา กำพร้า ยากจนหรือเจ็บป่วยทำให้รู้สึกสงสาร และเกิดความเห็นอกเห็นใจในชีวิตที่ยากลำบากและน่าเศร้าของพวกเขา วัตถุประสงค์อีกข้อหนึ่งของวิทยานิพนธ์นี้คือเพื่อศึกษาบริบททางสังคมของญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ภูมิหลังและทัศนคติของผู้ประพันธ์ ครอบครัวและสวัสดิภาพของเด็กญี่ปุ่นในช่วงสงครามได้รับผลกระทบจากนโยบายของรัฐซึ่งมุ่งส่งเสริมสงครามและชาตินิยม เมื่อสงครามสิ้นสุดลง เด็กญี่ปุ่นยังคงถูกควบคุมจากนโยบายของรัฐที่เปลี่ยนแปลงไปตามอำนาจของกองกำลังยึดครองสหรัฐอเมริกา ในงานวิจัยนี้ ภูมิหลังผู้ประพันธ์มีผลกับทัศนคติและการสร้างสรรค์งาน ผู้ประพันธ์มีประสบการณ์สงครามเมื่อสมัยยังเป็นเด็กหรือพบเหยื่อสงครามที่เป็นเด็กด้วยตนเอง วรรณกรรมเยาวชนญี่ปุ่นจึงแสดงทัศนคติต่อต้านสงครามและปฏิเสธแนวคิดชาตินิยมโดยมุ่งหวังให้เป็นบทเรียนเพื่อสันติภาพ อย่างไรก็ตาม มุมมองของเอลลีนอร์ โคเออร์ ผู้ประพันธ์ที่อยู่นอกสังคมญี่ปุ่นแตกต่างจากมุมมองของผู้ประพันธ์ชาวญี่ปุ่นที่ร่วมสมัยกับสงคราม งานของเอลลีนอร์เสนอว่าญี่ปุ่นควรฟื้นจากความทรงจำที่เจ็บปวดจากเหตุการณ์ทำลายล้างของระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ ขณะที่วรรณกรรมเยาวชนญี่ปุ่นที่แต่งโดยผู้ประพันธ์ชาวญี่ปุ่นแสดงความรู้สึกโหยหาอดีตและถ่ายทอดเฉพาะผลกระทบของสงครามที่มีต่อชาวญี่ปุ่น โดยไม่ได้กล่าวเน้นถึงการบุกยึดครองของญี่ปุ่นต่อชนชาติอื่น การสร้างสรรค์วรรณกรรมเยาวชนญี่ปุ่นนี้จึงเป็นการรื้อสร้างมายาคติแห่งกองทัพแล้วแทนที่ด้วยมายาคติแห่งความทรงจำที่รันทดของการตกเป็นเหยื่อสงครามโลกครั้งที่สองen
dc.description.abstractalternativeThis thesis has two objectives. The first is to analyze the composition and the techniques of Japanese children’s literature, the content of which is related to the Second World War. These children’s literary works are based on real stories. Characters based on real people include Hachi-gatsu ga Kurutabini (Whenever August Comes) of Hide Ōe, Garasu no Usagi (The Glass Rabbit) of Toshiko Takagi, and Sadako and the Thousand Paper Cranes of Eleanor Coerr. The fictional stories are Nijūshi no Hitomi (Twenty-Four Eyes) of Sakae Tsuboi, Futari no Ida (Two Little Girls Called Ida) of Miyoko Matsutani, and Mieko and the Fifth Treasure of Eleanor Coerr. Japanese children’s literature creates the touch of emotion by showing the cruelty of war and the plight of child victims. The roles of these Japanese children characters, who were innocent, orphaned, poor, or ill, cause compassionate feeling and sympathy for their difficulties and miserable life. Another objective of the thesis is to study the social context of Japan during the Second World War, the background and the attitudes of the authors. The welfare of these children and their families during wartime were affected by the Japanese state policies which tended to promote the war and nationalism. When the war was over, children were still being restrained by the state policies changed under the influence of the US occupation. In this research, the authors’ backgrounds affect their attitudes towards their works. These authors either experienced war during their childhood or had met with child victims. Their works, therefore, convey the attitude against the war and a refusal of the nationalist idea by aiming for peace. However, the point of view of Eleanor Coerr, who lives outside Japanese society, is different from those living in society during wartime. Her work argues that Japan should recover from the traumatic memory of the atomic bomb devastation in Hiroshima and Nagasaki, whereas children’s literature written by the Japanese authors is nostalgic and conveys only the effect of war on the Japanese without giving emphasis on the narration of the Japanese invasion into other nations. These Japanese children’s literary works deconstruct the myth of the military by replacing it with the distressing memory of being victims during the Second World War.en
dc.format.extent2415272 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectวรรณกรรมสำหรับเด็ก -- ญี่ปุ่นen
dc.subjectสงครามโลก, ค.ศ. 1939-1945 -- ญี่ปุ่นen
dc.subjectสงครามกับวรรณกรรม -- ญี่ปุ่นen
dc.titleวรรณกรรมเยาวชนญี่ปุ่นกับสงครามโลกครั้งที่สองen
dc.title.alternativeJapanese children's literature and the Second World Waren
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวรรณคดีเปรียบเทียบes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorTrisilpa.B@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pisinee.pdf2.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.