Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78808
Title: การควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ : กรณีศึกษาพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
Other Titles: The study of alcohol beverages control act in political economy perspective
Authors: ปิติ ภิรมย์ภักดี
Advisors: นวลน้อย ตรีรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Subjects: กฎหมายสุรา
แอลกอฮอล์ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
Liquor laws
Alcohol -- Law and legislation
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์: กรณีศึกษาพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์บทบาทของกลุ่มผลประโยชน์ที่มีต่อกระบวนการการผลักดันนโยบายสาธารณะ ทั้งกลุ่มที่มีบทบาทในการสนับสนุนและคัดค้าน ในการออกพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 โดยมีสมมติฐานว่าธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ มีมูลค่าสูง แต่ขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดผลกระทบทางสังคมในระดับสูงเช่นเดียวกัน ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงนโยบายสาธารณะใดๆที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจนี้ย่อมก่อให้เกิดการปะทะกันระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆจำนวนมากในระดับรุนแรงอย่างเป็นวงกว้าง เพื่อให้สามารถจัดสรรผลประโยชน์แก่กลุ่มของตนได้สูงสุด การศึกษาครั้งนี้เป็นลักษณะการวิจัยเชิงคุณภาพ นำเสนอแบบแผนพฤติกรรมของกลุ่มต่างๆในตลาดการเมือง วิเคราะห์พฤติกรรมและการนำเสนอประเด็นความขัดแย้ง เพื่อนำไปสู่วาระทางนโยบายของสถาบันการเมือง ผ่านทฤษฎีกลุ่มผลประโยชน์ ทฤษฎีนโยบายสาธารณะและทฤษฎีวาระทางนโยบายของคอปป์และเอลเดอร์ ผลการศึกษาพบว่ากระบวนการผลักดัน พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 มีประเด็นสำคัญอยู่ 3 ประการ คือ 1) มีนัยยะของการปะทะระหว่างกลุ่มที่มีเป้าหมายผลักดันนโยบายสาธารณะด้านสุขภาพกับกลุ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของประเทศ 2) เกิดข้อถกเถียงเกี่ยวกับระเบียบปฏิบัติและการนำไปบังคับใช้ และ 3) มีผลต่อเนื่องไปยังกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆในอนาคต โดยความขัดแย้งของทั้งสองกลุ่มนั้น ไม่สามารถประนีประนอมด้วยกันได้ จึงทำให้เกิด“ความเห็นต่าง”ปรากฏอยู่ในพื้นที่สาธารณะทั่วไปอย่างชัดเจน ทั้งพบว่ามิติทางสังคมสาธารณสุข เศรษฐกิจ พาณิชย์ ระบบการเงิน การคลัง ฯลฯ มีความเกี่ยวพันกันจนไม่สามารถใช้มุมมองเพียงมิติเดียว ในการผลักดันนโยบายสาธารณะเรื่องการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้
Other Abstract: This research aims to study the process of public policy making through the case study of Alcohol Control Act B.E.2551. Due to the assumption of Alcohol industry, there is not only considered as the high value in capital investment but also the huge affect to community and society problem. Therefore, to change any of the related public policies will thoroughly generate some collisions among many benefit groups. Therefore, this study has conducted through the qualitative approach that aims to study and analyze the behavior of benefit groups in the political arena, while presenting the conflicting issues that actually lead to the making of a public policy from the political side though the framework of Public choice theory ,Interest group theory, and Theory of Agenda Control From the research, there are 3 significant issues that are resulted from the enactment of such act, which are 1) Conflict between health-conscious group and the major stakeholder in Alcoholic beverage industry 2) Argument on the regulation and its implementation 3) The consequences that could affect other interest groups in the future, if the needs of the supporters and opposers cannot be compromised. At this point in time, it is common to see the rising complication of the conflict of interest of benefit groups that goes beyond the point where one cannot use a single social dimension to push the alcohol control act to be enacted as a public policy.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์การเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78808
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
4985697429_2552.pdfวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม (Fulltext)2.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.