Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78875
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิตา วีรกุล-
dc.contributor.authorจิรายุส ขาวสังข์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-06-20T03:43:42Z-
dc.date.available2022-06-20T03:43:42Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78875-
dc.descriptionโครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562en_US
dc.description.abstractโรคตาโปนจากไทรอยด์ (Graves’ Ophthalmopathy, GO) เป็นโรคที่มีการพัฒนามาจากโรคคอพอกแบบ เป็นพิษ (Graves’ hyperthyroidism) ถูกจัดเป็นโรคภูมิคุ้มกันต้านเนื้อเยื่อตนเองชนิดหนึ่ง โดยมีสาเหตุการเกิดมาจาก การที่ร่างกายผลิต autoantibody ที่สามารถจับกับ Thyroid Stimulating Hormone Receptor (TSHR) ซึ่งถูก แสดงออกบนผิวเซลล์ของเซลล์ไฟโบรบลาสต์จากดวงตา ส่งผลให้เซลล์ดังกล่าวสามารถเพิ่มจำนวนและเปลี่ยนแปลงไป เป็นเซลล์ myofibroblast หรือ เซลล์ adipocyte และเกิดการสะสมของไขมันและขยายขนาดของเนื้อเยื่อรอบดวงตา (tissue expansion) อีกทั้งยังสามารถถูกกระตุ้นได้จาก growth factor ที่หลั่งออกมาจากเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน บริเวณรอบดวงตา อาทิเช่น PDGF-BB และ IGF-1 ได้ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการต่าง ๆ เช่น ลูกตาถูกดันออกมา จนไม่ สามารถปิดตาได้สนิท และอาจเกิดอาการตาบอดในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง โดยแนวทางการรักษาในปัจจุบัน ได้แก่ การ ใช้ยาสเตียรอยด์และการผ่าตัด ซึ่งมีผลข้างเคียงและยังไม่จำเพาะกับสาเหตุการเกิดโรค ในงานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นศึกษาไปที่ บทบาทของ PDGF-BB และ IGF-1 ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทาง epigenetics ประเภท Histone acetylation และ Histone deacetylation ในกระบวนการพัฒนาของเซลล์ไขมัน (Adipocyte differentiation) โดยทำการทดลองเลี้ยง เซลล์ไฟโบรบลาสต์จากดวงตาในสภาวะต่าง ๆ เป็นระยะเวลา 14 วัน จากนั้นย้อมไขมันภายในเซลล์ด้วยวิธี Oil Red O staining และสกัด RNA เพื่อวัดระดับการแสดงออกของ PPAR -γ CD90 และ HDAC mRNA ด้วยเทคนิค real-time PCR พบว่า เซลล์ที่ถูกเลี้ยงในสภาวะ Non-differentiation ที่มี PDGF-BB มีการแสดงออกของ PPAR -γ ซึ่งเป็น Adipogenic marker (p=0.1865) และ HDAC5 mRNA เพิ่มมากขึ้น (p<0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับเซลล์ที่ถูกเลี้ยงใน สภาวะ Non-differentiation อีกทั้งการแสดงออกของยีน PPAR- γ ยังมีแนวโน้มในการมีความสัมพันธ์แบบบวกกับ การแสดงออกของยีน HDAC5 (p=0.1875) จึงสรุปได้ว่า PDGF-BB สามารถกระตุ้นให้เกิดกระบวนการ Adipocyte differentiation ของเซลล์ไฟโบรบลาสต์จากดวงตา โดยอาศัยการทำงานของเอนไซม์ HDAC5 โดยในการทดลองต่อไป ควรทดลองเพิ่มเติมโดยใช้ HDAC inhibitor (HDACi) เพื่อยับยั้งการเกิดกระบวนการดังกล่าว เพื่อหาหนทางการรักษา ที่จำเพาะต่อกระบวนการ Adipocyte differentiation ของเซลล์ไฟโบรบลาสต์จากดวงตาในผู้ป่วยตาโปนจากไทรอยด์ ต่อไปen_US
dc.description.abstractalternativeGraves’ Ophthalmopathy (GO), also referred to as thyroid eye disease, is an autoimmune disease developed from Graves’ hyperthyroidism. Pathophysiology of GO is causes by the autoantibodies released from autoreactive B cells which can bind Thyroid Stimulating Hormone Receptor (TSHR) expressed on orbital fibroblasts. Orbital fibroblasts also were stimulated by growth factors such as Platelet-derived growth factor-BB (PDGF-BB) and Insulin-like growth factor-1 (IGF-1) released from immune cells. This leads to activation of the orbital fibroblasts which increase proliferative activity and differentiate into myofibroblasts or adipocytes. Altogether these processes cause orbital tissue expansion and fat accumulation in adipocyte which contributes to the clinical features of GO, such as edema, proptosis, and blindness in severe cases. Recently therapeutic implications are decompression surgery and use of steroid but there are some side effects which are not specific to the cause of the disease. In this study, focus on the role of PDGF-BB and IGF-1 on Histone acetylation and Histone deacetylation to study in Adipocyte differentiation of Orbital fibroblasts from Graves’ Ophthalmopathy patients. So, orbital fibroblasts were cultured in various conditions for 14 days. Adipocyte differentiation was determined by Oil Red O staining and gene expression measurement was done by real-time PCR. PDGF-BB tended to increase PPAR- γ mRNA expression (p=0.1865) and significantly increased HDAC5 mRNA expression (p<0.05). Moreover, levels of PPAR- γ mRNA tended to positively correlate with the HDAC5 mRNA expression (p=0.1875). These results suggest that PDGF-BB promotes adipocyte differentiation in orbital fibroblasts which drive through HDAC5 activity. Therefore, the HDAC5 and PDGF-BB signaling cascade may represent a target of therapy to interfere with adipocyte differentiation in GO.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectเซลล์สร้างเส้นใยen_US
dc.subjectเซลล์ไขมันen_US
dc.subjectต่อมไทรอยด์ -- โรคen_US
dc.subjectFibroblastsen_US
dc.subjectFat cellsen_US
dc.subjectThyroid gland -- Diseasesen_US
dc.titleบทบาทของกระบวนการ Histone acetylation ต่อกระบวนการพัฒนาเป็นเซลล์ไขมันของเซลล์ไฟโบรบลาสต์จากดวงตาจากผู้ป่วยตาโปนจากไทรอยด์en_US
dc.title.alternativeRole of Histone acetylation on Adipocyte differentiation of orbital fibroblasts from Graves’ ophthalmopathy patientsen_US
dc.typeSenior Projecten_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62-SP-MICRO-004 - Chirayus Khaw.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.